17 พ.ค. 2021 เวลา 03:00 • กีฬา
" ลูกศิษย์ของเทวดา "
เมื่อมีการถามหาว่าใครคือนักเตะดัตช์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อของ โยฮัน ครัยฟฟ์ คืออันดับ 1 อย่างไม่ต้องสงสัย
ความยิ่งใหญ่ของนักเตะเทวดาเจ้าของเสื้อเบอร์ 14 ผู้ล่วงลับ ไม่ใช่แค่ลีลาพริ้วไหว และการทำประตูตัดสินเกมมากมายแต่เพียงอย่างเดียว มันอยู่ที่เขามีอิทธิพลต่อฟุตบอลรุ่นหลังเยอะเหลือเกิน
ครัยฟฟ์ นำเอาศาสตร์ลูกหนังโททั่ลฟุตบอลที่ได้เรียนรู้มาจากที่อาแจ็กซ์ และทีมชาติฮอลแลนด์ จากปรมาจารย์รีนุส มิเชลส์ มาต่อยอด นำไปเผยแพร่ที่บาร์เซโลน่า จนกลายเป็นรากฐานฟุตบอลของบาร์ซ่ามาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งในฐานะนักเตะและฐานะผู้จัดการทีม
พอมาถึงอันดับ 2 ในบรรดานักเตะจากฮอลแลนด์ด้วยกันว่าใครยอดเยี่ยมที่สุดเป็นอันดับ 2 ถึงตรงนี้เสียงอาจจะแตกเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ของเสียงโหวต ก็จะชี้ไปที่ เพชฌฆาตพรายกระซิบ มาร์โก แวน บาสเท่น
ฉายา "หงส์แห่งอูเทรคท์" เหมาะกับ แวน บาสเท่น มาก ด้วยลีลาการเล่นในสนาม
แวน บาสเท่น เป็นกองหน้าตัวเป้าที่รูปร่างสูง แข็งแกร่ง จบสกอร์คม ไม่ว่าจะเป็นเท้าซ้ายเท้าขวาลูกโหม่ง แถมยังหาจังหวะยิงได้ได้ดีไม่ว่าจะในกรอบเขตโทษ แต่ที่เขาได้ฉายาดังกล่าว ก็เพราะเขาเป็นกองหน้าที่มีทักษะลีลาการเล่นที่มหัศจรรย์
1
หัวหอกตัวเป้าส่วนใหญ่เก่งในการพังประตู แข็งแรง เก็บบอลได้ แต่มักแข็งทื่อ นั่นไม่ใช่กับ แวน บาสเท่น
นักเตะที่เคยเล่นกับเขา ไปจนถึงแฟนบอลที่ดูเขาเล่น จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า มาร์โก แวน บาสเท่น คือกองหน้าตัวเป้าที่เก่งและครบเครื่องที่สุดตลอดกาล
นักเตะเก่ง พรสวรรค์เปี่ยมล้น บางครั้งเบื้องบนก็เขียนบทโหดร้ายให้ เช่นเดียวกับ โรนัลโด้ เหยินใหญ่แห่งบราซิล แวน บาสเท่น ต้องแขวนสตั๊ดด้วยวัยเพียง 30 ปี แต่เกมสุดท้ายจริงๆ ของเขาเกิดขึ้นเมื่ออายุได้แค่ 28 ปีเท่านั้น ในปี 1993
รุด ฟาน นิสเตลรอย เป็นดาวยิงสมัยใหม่ที่ถูกยกไปเทียบกับ แวน บาสเท่น ด้วยรูปร่างที่แทบจะถอดแบบกันมา เป็นกองหน้าระดับยอดดาวยิงที่คมกริบเช่นกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ รุด เป็นหน้าเป้าแท้ๆ ซึ่งในวิถีของ โททั่ลฟุตบอล ยังถือว่าใช้ไม่ได้ โดยที่ตัวของ รุด เองก็เติบโตมาด้วยการมี แวน บาสเท่น เป็นไอดอล
มันคือการสืบสานต่อจิตวิญญานชาวดัตช์แบบรุ่นสู่รุ่น เพราะเมื่อย้อนไป แวน บาสเท่น เองก็มี โยฮัน ครัยฟฟ์ เป็นไอดอลเช่นกัน และเคยได้ร่วมงานกันทั้งในและนอกสนาม
1
แม้ว่าบั้นปลายของอาจารย์-ศิษย์ จะจบไม่สวยงามนักก็ตาม เมื่อคุณมีไอดอล ไม่ได้หมายความว่าจะต้องคิดเห็นเหมือนกันไปทุกครั้ง
1
"โยฮัน เป็นไอดอลสำหรับผมเสมอมา ผมได้ดูอาแจ็กซ์ชุดยิ่งใหญ่ในเกมยุโรปยุค 70s กับนักเตะอย่าง รุด โครล, โยฮัน นีสเก้นส์, ซย๊าก ซวาร์ท และแน่นอน ครัยฟฟ์ เมื่อผมยังเด็ก พวกเขาได้แชมป์ยุโรป 3 สมัยติด"
 
"ครัยฟฟ์ ดึงดูดสายตาผมเสมอ ทีมนั้นเก่งมากๆ แต่ โยฮันเป็นนักเตะที่เล่นบอลได้สวยและสง่างามมาก"
 
"ผมยังจำได้ถึงครั้งแรกที่ได้เจอกับเขา ผมอายุ 15-16 ประมาณนัน เขาลงบันไดมาส่วนผมกำลังเดินขึ้นไป ผมรู้สึกอยากจะจับมือเขาและบอกเขาว่าจำชื่อผมเอาไว้นะ แต่ผมก็ไม่กล้า ผมคิดว่าผมเกร็งเขามากเกินไปตอนนั้น"
1
หลังจากตระเวนเล่นในสเปน, อเมริกา เป็นเวลา 8 ปี ในปี 1973 โยฮัน ครัยฟฟ์ ก็กลับมายังฮอลแลนด์ กลับมาเล่นให้อาแจ็กซ์อีกครั้งในวัย 34 ปี
ตอนนั้นเองที่อาแจ็กซ์ไปเซ็นสัญญากับดาวรุ่งวัย 16 ปีมาจากอูเทรคท์ เด็กหนุ่มชื่อมาร์โก ผู้มีโยฮัน ครัยฟฟ์ เป็นไอดอล
3 เมษายน 1982 เพียงไม่กี่เดือนหลังเหตุการณ์พบปะหน้ากันครั้งนั้น อาแจ็กซ์ ก็ส่งกองหน้าดาวรุ่งวัย 17 ปีเศษ ลงประเดิมสนาม มันบังเอิญ เพราะเขาโดนเปลี่ยนตัวลงไปแทน โยฮัน ครัยฟฟ์ ไอดอลของเขา และ มาร์โก แวน บาสเท่น ก็ยิงประตูได้ทันทีในการลงเล่นนัดแรกให้ทีมชุดใหญ่
ปี 1983 คราวนี้ แวน บาสเท่น ได้ดวลกับไอดอลของเขา เพราะ ครัยฟฟ์ ย้ายไปเฟเยนูร์ด และเล่นที่นั่น1 ปี เป็นปีสุดท้ายก่อนแขวนสตั๊ดด้วยวัย 37 ปี
2 ปีต่อมา ครัยฟฟ์ ผันตัวมาคุมทีม และทีมแรกที่เขาคุมก็คืออาแจ็กซ์ หนนี้ ครัยฟฟ์ เป็นเจ้านายของ แวน บาสเท่น โดยตรง เข้าได้ร่วมงานกับไอดอลอีกครั้้ง
เพียงปีแรกที่ได้ ครัยฟฟ์ มาเป็นโค้ช ผลงานของ แวน บาสเท่นก็พุ่งกระฉูดเขามีฟอร์มที่ดีสุดในอาชีพ ซัดไป 37 ประตูจาก 26เกมลีก
ในฤดูกาลต่อมา ก็ยังร้อนแรงต่อเนื่อง แต่นรกเริ่มต้นจากตรงนี้ ปลายปี 1986 ขณะอายุเพียง 22 ปี มาร์โก แวน บาสเท่น ก็เจออาการเจ็บหนักที่ข้อเท้าเป็นครั้งแรกในชีวิต และมันส่งผลต่อเขาไปตลอดกาล
"ผมได้รับบาดเจ็บครั้งแรกเดือนธันวาคม 1986 และมันไม่ได้ดีขึ้นเลย โยฮัน คุยกับหมอ หมอบอกว่า "เขามีปัญหานะ แต่ไม่แย่ไปกว่านี้หรอก เขาเล่นได้" แต่ผมรู้ว่ามันไม่ดีเลย ผมเจ็บมาก โยฮัน บอกว่า "ฟังนะ เรามาตกลงกัน นายไม่ต้องเล่นรายการอื่นเลย และการซ้อมบางครั้งนายไม่ต้องซ้อมก็ได้ แต่นายต้องเล่นในบอลยุโรป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น นายต้องลงเล่นนัดชิงชนะเลิศ" นั่นคือข้อตกลงที่เราทำกันไว้"
แวน บาสเท่น แทบไม่ได้ลงเล่นในรายการอื่นใด จนกระทั่งถึงนัดชิงชนะเลิศ คัพ วินเนอร์ส คัพ 1987 เขาก็ลงสนาม และเป็นพังประตูชัยพาทีมเอาชนะ โลโคโมทีฟ ไลป์ซิก คว้าแชมป์ได้สำเร็จ
นั่นคือเกมสุดท้ายของเขา ก่อนย้ายไปเล่นให้กับ เอซี มิลาน และนำมิลาน ประสบความสำเร็จ ร่วมกับเพื่อนชาวดัตช์อย่าง รุด กุลลิท และ แฟรงค์ ไรจ์การ์ด เป็นที่มาของชื่อ 3 ทหารเสือชาวดัตช์
ทว่าในปีแรกของเขากับมิลาน อาการเจ็บยังตามมารังควาน เขาลงเล่นไปแค่ 11 นัดในกัลโช่ แต่ก็ยังฟิตพอที่เมื่อจบฤดูกาลติดทีมชาติฮอลแลนด์ของ รินุส มิเชลส์ ไปลุยยูโร 88 ด้วยสภาพที่ไมได้เต็มร้อย แต่ แวน บาสเท่น ก็กลายเป็นฮีโร่ของทีม ยิงประตูชัยดับเยอรมันตะวันตก พาทีมเข้าชิง และในรอบชิง ก็จ่ายใ กุลลิท โหม่งประตูแรก ก่อนยิงประตูฝังใส่ โซเวียต 2-0 ด้วยลูกวอลเล่ย์ใบไม้ร่วงมุมแคบ ที่กลายเป็นหนึ่งในประตูสวยสุดตลอดกาล นั่นคือแชมป์เมเจอร์แรกและแชมป์เดียวของทีมชาติฮอลแลนด์จนถึงปัจจุบัน
ตลอดช่วงเวลากับ มิลาน เขาแทบไม่เคยมีช่วงที่ฟิตเต็มร้อยเลย แต่กระนั้น แวน บาสเท่น ก็ทำได้เหมือน โยฮัน ครัยฟฟ์ ไอดอลของเขา นั่นคือการคว้าบัลลง ดอร์ มาครองได้ถึง 3 สมัย
ท่ามกลางอาการเจ็บที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อเท้าหนักๆ มาแล้วถึง 2 ครั้ง และมันเรื้อรังมาตลอด ฟางเส้นสุดท้ายก็มาถึง ในฤดูกาล 1992/93
เขาได้รับบาดเจ็บจากเกมกับอันคอน่า จากนั้นหายหน้าไปครึ่งปี ก่อนจะกลับมาลงได้ท้ายๆ ฤดูกาล แต่ก็ทันที่จะลงสนามในนัดชิงชนะเลิศ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก กับ โอลิมปิก มาร์กเซย
ไม่มีใครรู้ว่านั่นจะกลายเป็นนัดสุดท้ายในอาชีพการค้าแข้งของเขา ท้ายเกม แวน บาสเท่น โดนบาซิล โบลี่ พุ่งเสียบข้อเท้าจากด้านหลัง จนต้องเปลี่ยนตัวออก ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดเป็นหนที่ 3
1
ขณะนั้น แวน บาสเท่น อายุเพียง 28 ปี เขาพักไปเป็นปี แต่ตั้งความหวังว่าจะฟิตกลับมาทันเล่นให้ทีมชาติฮอลแลนด์ในฟุตบอลโลกปี 1994 แต่ก็ไม่ไหว
กระทั่งปี 1995 หลังจากต่อสู้กับอาการเจ็บมานาน 2 ปีโดยไม่ได้ลงเล่นแม้แต่นัดเดียวเขาก็ประกาศแขวนสตั๊ดอย่างเป็นทางการด้วยวัย 30 ปี
หลังแขวนสตั๊ด แวน บาสเท่น ก็หันไปเรียนโค้ช เพื่อผันตัวมาคุมทีมในอนาคต กระทั่งปี 2003 เขาก็กลับมาอาแจ็กซ์ ทำหน้าที่คุมทีมเยาวชนให้สโมสร และเพียงปีเดียว ก็ขึ้นไปรับงานใหญ่คือคุมทีมชาติฮอลแลนด์ ซึ่งเขาพาทีมลุยฟุตบอลโลก 2006 และยูโร 2008
1
ภายใต้การคุมทีม แวน บาสเท่น เป็นกุนซือที่เข้มงวดมาก ในหลายครั้งเขาตัดชื่อพวกตัวเก๋า ที่มีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดไปแล้วออกจากทีมหลายราย ไม่เว้นแม้แต่ คลาเรนซ์ เซดอร์ฟ, เอ็ดการ์ ดาวิดส์ และ พาทริค ไคลเวิร์ต
"ครัยฟฟ์ บางครั้งก็ด่าผมแรงเพราะเขาเล่นฟุตบอลตามท้องถนนมาก่อน ที่คุณจะใช้ภาษาพูดอีกแบบเลย ผมทำแบบเดียวกันกับ รุด ฟาน นิสเตลรอย ตอนที่ผมคุมทีมชาติ บางทีผมอาจจะด่าแรงไปหรือตรงเกินไปเหมือนที่โยฮันทำกับผม ผมควรอ่อนโยนกว่านี้กับฟาน นิสเตลรอย ตอนนี้ผมมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรุด เขาเป็นคนที่ยอดเยี่ยมมาก แต่ในตอนแรก เขาไมได้มีความรู้สึกนัน บางที อาจเป็นเพราะเขาเกรงผมมากเกินไป"
หลังจากคุมทีมชาติฮอลแลนด์ คราวนี้เองที่ แวน บาสเท่น ได้กลับมาร่วมงานกับไอดอลของเขาอีกครั้้ง เมื่อ แวน บาสเท่น ได้รับการแต่งตั้งมาคุมอาแจ็กซ์ ในฤดูกาล 2008/09
สโมสรยังแต่งตั้ง โยฮัน ครัยฟฟ์ เข้ามาเป็นผู้อำนวยการเทคนิคด้วย เพียงแต่ร่วมงานกันได้ไม่นาน ครัยฟฟ์ ก็ขอถอนตัวจากตำแหน่ง เพราะมีความเห็นไม่ลงรอยกับ แวน บาสเท่น
น่าเสียดาย ที่มันกลายเป็นรอยร้าวของอดีตอาจารย์และศิษย์คู่นี้ ซึ่งมันนำความเสียใจมาให้ แวน บาสเท่น หลังการเสียชีวิตของนักเตะเทวดาเมื่อเดือนมีนาคม 2016
"เขาเป็นฮีโร่ของผม เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดและเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของผม จากนั้นความเห็นของเขาก็แตกต่างกับของผมที่อาแจ็กซ์ (ปี2008/09) มันเจ็บปวด แต่นั่นคือสิ่งที่บางครั้งก็เกิดขึ้นระหว่างศิษย์และอาจารย์"
"เขาไปขวา แต่ผมไปซ้าย แล้วอยู่ดีๆ เราก็ขาดการติดต่อกันไปเลย หลังจากเขาเสียชีวิต ผมได้เจอกับภรรยาของเขาที่ทัวร์นาเมนต์กอล์ฟในตูริน เราคุยกันเกี่ยวกับโยฮัน และมันก็กลับมามีความเป็นมิตรอีกครั้ง"
 
แดนนี่ ครัยฟฟ์ ภรรยาของโยฮัน บอกกับ แวน บาสเท่น ว่าในบรรดานักเตะที่เขาเคยโค้ชชิ่งให้ ตัวเขากับเป๊ป กวาร์ดิโอล่า คือคนที่ โยฮัน ชื่นชอบมากที่สุด
"เธอบอกว่า "ตอนนี้เราขาดการติดต่อกันไป ซึ่งมันน่าเศร้า โยฮันอยู่ข้างบนโน้น คงมีความสุขมากขึ้นถ้าเขาได้เห็นความสัมพันธ์กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง" มันทำให้ผมซาบซึ้งมากและเป็นความรู้สึกที่สวยงาม"
ท้ายที่สุดแล้ว มาร์โก แวน บาสเท่น ก็ยอมรับ ว่าแม้ทั้งคู่จะเป็นนักเตะที่ยอดเยี่ยม แต่ในเรื่องของการคุมทีม เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้อย่างที่ โยฮัน ไอดอลของเขาเป็น
"ผมไม่ใช่ผู้จัดการทีมที่ดี ผมสามารถฝึกซ้อมนักเตะได้และพูดเกี่ยวกับฟุตบอลได้ แต่การพ่ายแพ้ในฐานะผู้จัดการทีมมันเจ็บปวด ผมแทบทนไม่ได้ ในฐานะผู้จัดการทีม คุณต้องเชื่อมั่นในนักเตะของคุณ เหมือนพ่อที่มีต่อลูก และนั่นคือสิ่งหนึ่งที่ผมไม่มี"
 
"อาชีพนี้มันทำให้สุขภาพคุณแย่ ตอนที่ผมเป็นผู้ช่วย ผมดูฉลาดและมีคุณค่ามากๆ ผมมีความอดทน แต่เมื่อเป็นเฮดโค้ชเอง ผมกลายเป็นตรงกันข้ามเลย ผมตัดสินใจถูกแล้วหละที่ก้าวออกมา ตอนนี้ผมทำอย่างอื่นและรู้สึกมีอิสระขึ้นเยอะทีเดียว"
1
มาร์โก แวน บาสเท่น จับงานคุมทีมเองหนสุดท้ายกับ อาแซ่ด อัลค์มาร์ เมื่อปี 2014 จากนั้นผันตัวไปเป็นผู้ช่วย และมาเป็นผู้ช่วยทีมชาติฮอลแลนด์ช่วงสั้นในปี 2015-2016 จากนั้น เขาก็ออกจากสารบบการคุมทีมมาจนถึงทุกวันนี้
.
ทุกท่านสามารถติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ ..
.
และเพิ่มเพื่อนไลน์แอด "เพื่อเด้งเตือน" ให้คุณได้อ่านก่อนใคร กดที่ลิงค์นี้ครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา