20 พ.ค. 2021 เวลา 08:13 • สุขภาพ
ยาต้านโควิด-19 สำเร็จแล้ว
2
โดย
1
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
https://news.griffith.edu.au/2021/05/17/researchers-develop-direct-acting-antiviral-to-treat-covid-19/
สถาบันสุขภาพเมนซีส์แห่งรัฐควีนส์แลนด์ มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ออสเตรเลีย + สถาบันวิจัยซิตี้ออฟโฮป สหรัฐ ร่วมกันพัฒนากระบวนการบำบัดที่อาศัยหลักการด้านสารพันธุกรรมชนิด RNA ที่มีเป้าหมายทำลายเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19   โดยการ 1. ค้นหา และ 2. ทำลายสารพันธุกรรมของไวรัส ทำให้ไวรัสสูญเสียความสามารถในการเพิ่มจำนวน
3
ยาต้านไวรัสมีเป้าหมายเฉพาะกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ไม่มีผลต่อเซลอื่นในร่างกาย ศาสตราจารย์แม็กมิลแลน หนึ่งในคณะผู้นำนักวิจัยบอกว่า ยาเกิดจากการออกแบบโปรแกรมโดยใช้หลักทางพันธุกรรม ให้ไปค้นหาและทำลายเซลหรืออนุภาคไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
6
“เป็นตัวอย่างของยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสารพันธุกรรมของไวรัสเป้าหมาย” อาศัยหลักการควบคุมการแสดงออกของลักษณะของพันธุกรรมที่เรียกว่า RNA Interference เป็นเทคโนโลยีหยุดยั้งลักษณะพันธุกรรมเป้าหมาย สามารถเชื่อมต่อกับ RNA ของไวรัสโควิด-19 ได้โดยตรงอย่างพอดี เมื่อเชื่อมแล้วจะกลายเป็นยีนที่มีโปรแกรมให้เซลร่างกายทำลายสารพันธุกรรมของไวรัสทันที
3
ตอนนี้ การทดสอบและศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถลดไวรัสในปอดได้ถึงร้อยละ 99.99
1
มีความต่างกันระหว่าง ‘วัคซีนป้องกันโควิด-19’ ที่คนทั้งโลกกำลังฉีดอยู่ กับ ‘ยาต้านไวรัส’ ที่ผมกำลังเป็นข่าวดัง วัคซีนทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค และถ้าป่วยก็จะเพิ่มอัตราการรอดชีวิต วัคซีนหยุดยั้งการติดเชื้อ แต่ต้องฉีดก่อน วัคซีนจึงทำหน้าที่ป้องกัน
3
แต่ Antivirals หรือยาต้านไวรัสมีหน้าที่ต่อต้านและรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส  ส่วนตัวที่นำยาเข้าไปในปอดโดยตรงคืออนุภาคไขมัน แม้ว่าไวรัสโควิด-19 จะพัฒนาเป็นสายพันธุ์หลากหลาย ก็สามารถเขียนโปรแกรมใหม่เพื่อเปลี่ยนเป้าหมายและไปทำลายได้
1
ผมอ่านข่าวนี้แล้วก็นึกถึงนักวิจัยไทยที่ผมเคยรู้จัก ท่านผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยใช้หลักการเดียวกัน ที่ต่างกันก็คือ ท่านใช้แมกนีเซียมออกไซด์เป็นตัวที่นำโปรแกรมเข้าไป และรักษาการติดเชื้อไวรัสโดยการปิดสวิตช์ยีนของไวรัส เมื่อไวรัสโดนปิดสวิตช์ยีนก็จะอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันมาจัดการกับไวรัสได้ง่ายขึ้น
2
ผมได้รับคำอธิบายงานของนักวิจัยจากอาจารย์แพทย์จากมหาวิทยาลัยแพทย์ชั้นนำของประเทศไทยท่านหนึ่ง เมื่อหลายเดือนก่อน ผมยังไปคุยกับนักวิจัยซึ่งจบจากสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของไทยท่านนี้ ท่านเล่าว่าได้ส่งงานไปให้มหาวิทยาลัยในประเทศตะวันตกแห่งหนึ่งทำการพิสูจน์ มหาวิทยาลัยแห่งนั้นยังตกใจ และกล่าวชื่นชมงานของนักวิจัยไทย
6
นักวิจัยไทยชุดนี้ยังผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้เทคโนโลยีนี้ออกมามากมายหลายประเภท ทั้งดูแลปอด ตับ ไต ระบบประสาท สมองและสายตา ในช่วงวิกฤติโควิด-19 มีคนสั่งซื้อจำนวนมากจากหลายประเทศ ที่ส่งไปมากที่สุดก็คือ ส่งไปสหรัฐอเมริกา
1
ผมอ่านข่าวของนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียและสหรัฐด้วยความรู้สึกหงอยเหงาเศร้าสร้อย ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์ แต่หลายครั้ง เราจำเป็นต้องส่งงานไปให้สถาบันในต่างประเทศรับรอง
2
พันธุกรรมเป็นข้อมูลสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช ไวรัส เชื้อราและแบคทีเรีย
1
ท่านเคยสงสัยไหมว่าทำไมทุเรียนจึงออกลูกเป็นทุเรียน ทำไมทุเรียนหมอนทองจึงออกลูกเป็นหมอนทอง ไม่เป็นทุเรียนพันธุ์ชะนี สิ่งที่กำหนดคือ ข้อมูลพันธุกรรม ที่ถูกเก็บในรูปแบบรหัสพันธุกรรม
2
สารพันธุกรรมที่เป็น DNA จะมีรหัสที่บันทึกด้วยตัวอักษรเพียง 4 ตัวคือ ATCG แต่ถ้าเป็นสารพันธุกรรมที่เป็น RNA รหัสพันธุกรรมคือ AUCG 4 อักษรจะสลับไปมาคล้ายภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีแค่ 0 กับ 1
2
มนุษย์เป็นผู้กำหนดภาษาคอมพิวเตอร์
2
แล้วภาษาพันธุกรรมเล่า ใครเป็นผู้กำหนด
2
ผมเชื่อส่วนตัวว่า สิ่งที่คนไทยพบอาจจะเหนือกว่ายาต้านไวรัสของฝรั่งที่อ่านเจอวันนี้ ของฝรั่งกว่าจะได้ใช้ต้องใช้เวลา  2  ปี
แต่ของไทย ถ้ามีการสนับสนุนอย่างเป็นระบบก็น่าจะสามารถนำออกมาใช้ได้ภายใน 2 เดือน
พรุ่งนี้ขออนุญาตมาต่อครับ.
1
โฆษณา