22 พ.ค. 2021 เวลา 08:52 • ท่องเที่ยว
เจดีย์วัดยานนาวา ...พุทธนาวา กลางพระนคร
“วัดยานนาวา” … วัดโบราณที่ปรากฏมาตั้งแต่ครั้งที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย แต่เดิม นั้นชาวบ้านเรียกขานกันว่า “วัดคอกควาย”
ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรี .. ที่ “วัดคอกควาย” มีพระราชาคณะสถิตอยู่ จึงมีฐานะเป็นพระอารามหลวง และเรียกขานเป็นทางการว่า “วัดคอกกระบือ” ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้น เพื่อให้สมฐานะพระอารามหลวง
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว .. นอกจากจะโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ที่เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ยังทรงปรารภอยากจะสร้างพระเจดีย์เพิ่มขึ้น แต่ด้วยทรงเห็นว่า ในเวลานั้น จะพบเห็นแต่พระสถูปหรือพระปรางค์ ในขณะที่เรือสำเภาแบบจีนที่พระองค์เคยใช้ในการค้าขายกับต่างประเทศตลอดมานั้น เริ่มไม่เป็นที่นิยม หากมีการต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งมากขึ้น จึงทรงวิตกว่า ต่อไปผู้คนจะไม่รู้จักเรือสำเภาจีน
พระองค์โปรดฯให้สร้างสิ่งแปลกใหม่ คือ สำเภาลำใหญ่เป็นฐานพระเจดีย์ จากต้นแบบเป็นสำเภาแบบฮกเกี้ยนที่เจ้าพระยานิกรบดินทร์ฯ ต้นตระกูลกัลยาณมิตร ถวายตั้งแต่ยังเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก่อนขึ้นครองราชย์ มาเป็นแบบสำเภาคอนกรีตเสริมเหล็กลำนี้
หัวสำเภาหันหน้าไปทางทิศใต้ เหมือนกำลังบ่ายหน้าออกปากอ่าว มีความยาวจากหัวถึงท้ายบาหลี ๔๘ เมตร ตอนกลางลำกว้าง ๙.๕ เมตร สูง ๕.๕ เมตร
บนสำเภาสร้างพระเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ในตำแหน่งที่เป็นเสากระโดง เรียกว่า “พระสำเภาเจดีย์” จัดสมโภชเมื่อปี ๒๓๙๐ประกอบกับทรงระลึกถึงบารมีธรรมทั้งหลาย แห่งพระเวสสันดรโพธิสัตว์ ที่อุปมาดุจสำเภายานนาวา ในมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ว่า
“...วัดคอกกระบือนั้น ให้ทำสำเภาด้วยเครื่องก่อไว้หลังพระอุโบสถลำ 1 ยาว 1 เส้น ด้วยทรงเห็นว่านานไปจะไม่มีผู้เห็นสำเภา จึงให้ทำไว้เป็นสำเภาโลกอุดร พระราชทานชื่อว่า วัดยานนาวา...”
ในตำนานวัตถุสถานซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนา ยังระบุว่า ในสำเภายานนาวานั้น มีรูปพระเวสสันดรโพธิสัตว์กับรูปชาลีกัณหา หล่อและจารึกประดิษฐานอยู่ที่ห้องท้ายบาหลี มีจารึกประกอบ ซึ่งปัจจุบัน ยังมีจารึกติดอยู่ 2 ฝั่ง ด้านหนึ่งเป็นอักษรจีน อีกด้านเป็นอักษรไทย ในชุมนุมพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บันทึกคำจารึกไว้ว่า
“...รูปขัติยดาบสพระองค์นี้ ทรงพระนามพระเวสสันดร เป็นพระบรมโพธิสัตว์อันประเสริฐ ยังชาติเดียวจะได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้า พระราชบิดาทรงพระนามพระเจ้าสญไชยราชครองกรุงเชตุอุดร พระผุสดีเป็นพระมารดา เมื่อพระมหาสัตว์ประสูติจากครรภ์พระราชมารดานั้น ออกพระวาจาขอทรัพย์พันกหาปะณะให้ทาน แล้วได้เปลื้องเครื่องประดับพระกายประทานให้พระนมถึง ๙ ครั้ง เมื่อทรงคิดจะบำเพ็ญอัชฌัติทางกายในอันยิ่งภริยา และมังษโสหิตชีวิตร์ของพระองค์เป็นทานแผ่นดินไหวถึงพรหมโลกย์…”
การสร้างเจดีย์ไว้บนเรือยังมีความหมายถึง การข้ามโอฆสงสาร ด้วย .. สันนิษฐานได้จากที่ห้องบาหลีประดิษฐานรูปหล่อของพระเวสสันดรกับกัญหาและชาลี อันเป็นเรื่องราวของทศชาติชาดกชาติสุดท้าย ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
คติความเชื่อเรื่องนิพพานหรือการหลุดพ้น .. เป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย ในชีวิตของพุทธศาสนิกชน ที่ต้องการหลุดพ้นจากห้วงวัฏสงสารหรือหลุดพ้นการเวียนว่ายตาย เกิดจากนั้น เป็นความเชื่อที่ส คัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาแล้ว ปรากฏในจารึกภาษาไทยของพระมหาธรรมราชาลิไท ที่วัดป่ามะม่วง ได้ระบุข้อความ ตอนหนึ่งไว้ว่า
..."พุ่งเป็นพระพุทธเจ้า พุ่งจักเอาฝูงสัตว์ทั้งหลายข้ามสงสารทุกข์นี้ เป็น เครื่องแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ชัดเจนของพระมหาธรรมราชาลิไท จากการประกอบการทําคุณ งานความดีสําหรับศาสนาเพื่อมุ่งหวังผลบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในเรื่องนี้ และจารึกภาษาเขมร ที่วัดป่ามะม่วงนี้ก็มีข้อความที่เหมือนกับจารึกภาษาไทยใน เรื่องเดียวกัน ซึ่งสมเด็จฯกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทยและเรียบ เรียงได้เป็นข้อความดังนี้
...ผลบุญที่อาตมาบรรพชาอุปสมบท ต่อพระบวรพุทธศาสนาคราวนี้ อาตมาไม่ปรารถนาสมบัติอินทร์พรหม และจักพรรดิสมบัติหามิได้ ปรารถนาเป็นองค์พระพุทธเจ้านําสัตว์ข้ามไตรภพนี้เทอญ...
จุดมุ่งหมายเรื่องการหลุดพ้นมิได้จํากัดอยู่แต่เฉพาะองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น หากแต่ยังปรากฏอยู่กับสามัญชนด้วยเช่นกัน จากจารึกนายศรีโยธาออกบวชซึ่งได้ระบุปี พ.ศ. 2071 ไว้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการทําบุญใช้กับพระพุทธศาสนาว่า
...กูได้สร้างรูปพระพุทธเจ้าด้วยคํา ด้วยเงิน ด้วยสัมฤทธิ์ ด้วย (ดีบุก ด้วยหินศิลา ทั้งหลายนี้ก็ดี ขอกูจงได้เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต กาล จะมาภายพากหน้าโพ้น แลจะเอาสัตว์ทั้งหลายข้ามพ้นจากโอฆสังสาร....
วรรณกรรมมหาชาติ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเป็นเรื่องราวที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากข้อความตอนหนึ่งในจารึกนครชุม มีกล่าวว่า "ไซร้ธรรมเทศนา อันเป็นต้นว่า พระ มหาชาติ หาคนสวดแลมิได้เลย.. ได้รับการสืบทอดต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา พระราช พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวว่า ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงโปรดฯให้แต่งมหาซาติคําหลวงขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2025 โดยใช้ภาษาบาลีและภาษา ไทยแต่งสลับกันไปมา ข้อความตอนหนึ่งซึ่งอยู่ในกัณฑ์กุมารได้ระบุถึงพระราชปณิธานที่ชัดเจนของพระ เวสสันดรในการถวายพระกัณหาและพระชาสีให้กับชูชก ก็คือการมุ่งหวังในเรื่องของการหลุดพัน….
ดังนั้น คติการสร้างพุทธนาวา ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างไว้ที่วัดยานนาวาแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่พระองค์ได้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา โดยการสร้างเจดีย์ประดิษฐานไว้บนเรือสำเภา ซึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนา ผนวกกับรูปแบบสัญลักษณ์ของเรือสำเภาที่หมายถึงการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้กันต่อไป
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่บริเวณหน้าพระสำเภาเจดีย์
Ref : ขอบคุณเนื้อความจาก เด็กหลังวัด@@@
พระอุโบสถ ... พระอุโบสถเป็นอาคารแบบไทยประเพณี สร้างในรัชสมัยรัชกาลที่1 .. ก่ออิฐถือปูน
เครื่องบนเป็นไม้ หน้าบัน ทำด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสีเป็นรูปเทพพนม ท่ามกลางลายก้านขดรูปสัตว์ต่าง ๆ เสาพาไลย่อมุมไม้สิบสอง รองรับหลังคาชั้นลดด้านหน้าและด้านหลังของอาคาร บัวหัวเสาเป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี
แต่ที่น่าสนใจคือพระอุโบสถนี้ทำโครงเหล็กครอบเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งช่วยรักษาพระอุโบสถไว้ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากฝน และช่วยรักษาสภาพเดิมๆ ของอาคาร
ลานด้านหน้าพระอุโบสถ
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยร่วมกับพระพุทธรูปอื่นๆ อีกหลายองค์ทั้งเก่าและใหม
ภาพบนประตูและหน้าต่าง .. ด้านหลังบานประตูในพระอุโบสถ รัชกาลที่ 3 โปรดให้เขียนภาพจิตรกรรม คือรูปกระทงใหญ่ ตามแบบที่ทำในพระราชพิธีลอยพระประทีป ถือเป็นของที่หาชมได้ยาก
บนบานหน้าต่างทุกบาน ช่างได้วาดรูปโถยาคู ซึ่งเป็นโถที่ใช้สำหรับเลี้ยงพระในพระราชพิธีสารท หนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือนเอาไว้
ภาพคลาสสิกทั้ง 2 ภาพ เป็นไฮไลท์ของพระอุโบสถนี้ค่ะ
อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ... สร้างในปี พ.ศ. 2530 ในวาระมหามงคลครบรอบ 200 ปี พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ...มองจากด้านบนของสำเภามายังอาคาร ภาพที่ปรากฏในสายตานั้นสวยมาก เหมือนพระบรมมหาราชวัง
อาคารสถาปัตยกรรมทรงไทยสมัยรัตนโกสินทร์ .. เป็นอาคารอเนกประสงค์ทรงไทย สูง 3 ชั้น ประดับด้วยยอดปราสาท 5 ยอด ใช้เป็นศาลาการเปรียญ บำเพ็ญกุศล ปฏิบัติธรรม และเป็นหอประชุม
ภาพวิวและบรรยากาศของสำเภาเมื่อมองจากด้านบนของอาคารมหาเจษฎาบดินทร์
นอกจากนั้นสร้างหอพระไตรปิฎกเป็นอาคารทรงไทย 3 ชั้น ประดับยอดปราสาท 3 ยอด ใช้เป็นห้องสมุด มีทั้งหนังสือทั่วไปและหนังสือธรรมะ และยังเก็บรักษาตู้พระไตรปิฎกเขียนลวดลายลงรักปิดทองของโบราณ
ภาพประตูทางเข้าวัด มองจากด้านบนของอาคารมหาเจษฎาบดินทร์
พิพิธภัณฑ์วัดยานนาวา ... เป็นที่เก็บรวบรวมศาสนวัตถุเกี่ยวกับศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ มีไฮไลท์อยู่ที่พระบรมสารีริกธาตุที่เก็บอยู่บนยอดพระธาตุย่อส่วนที่ปิดทองเหลืองอร่าม
พระพุทธรูปกาวต่างๆ จากหลายยุคสมัย
รวมถึงพระพุทธรูปสำตล์พม่า ญี่ปุ่น จีน และสิ่งอื่นซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนเลื่อมใสบูชาแทรกอยู่บ้าง
... เป็นการเก็ยสิ่งเคารพจากหลายความเชื่อมาอยู่ในที่เดียวกัน
พระบรมธาตุ 12 ราศี และรูปปั้นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
อาคารทรงจีน ... ตั้งิยู่ด้านหลังขิงพระอุโบสถ
ด้านในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และรูปเทพเจ้ารูปแบบจีน
วัดยานนาวา : ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปกับ พี่สุ
ท่องเที่ยวทั่วโลก กับพี่สุ
ซีรีย์เที่ยวเจาะลึก ประเทศนอร์เวย์
Iceland ดินแดนแห่งน้ำแข็งและเปลวไฟ
Lifestyle & อาหารการกิน แบบพี่สุ
สถานีความสุข by Supawan
โฆษณา