26 พ.ค. 2021 เวลา 10:30 • สุขภาพ
ใกล้ความจริง! คืบหน้าวัคซีน mRNA จุฬาฯ เก็บรักษาง่ายกว่า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา
2
สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 เวลานี้ ทั่วโลกถือว่าอยู่ในภาวะวิกฤติ ถึงแม้หลายประเทศจะมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว ส่วนประเทศไหนใคร่ฉีดยี่ห้ออะไร ก็แล้วแต่ความสามารถ
1
สำหรับประเทศไทย เวลานี้ก็ลำบากไม่แพ้ชาติอื่นๆ มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษไปทั่วประเทศแล้ว ที่น่ากลัวยังมีสายพันธุ์อินเดีย บราซิล หรือแอฟริกาใต้ เข้ามาอีก ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่ง “ฉีดวัคซีน” ให้กับประชาชน ซึ่งเวลานี้มีอยู่ในมือ 2 ยี่ห้อ คือ “ซิโนแวค” และ “แอสตราเซเนกา”
2
แต่อีก 1 วัคซีนความหวังของคนไทย ที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อคนไทย คือ “วัคซีน ChulaCov19” เวลานี้พัฒนาไปถึงไหน
โอกาสได้ใช้เมื่อไหร่ ประสิทธิภาพดีขนาดไหน ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้รับคำตอบจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3
• เบื้องหลังวัคซีน ChulaCov19 กับเทคนิค mRNA
ศ.นพ.เกียรติ เปิดเผยว่า วัคซีนจุฬาฯ เลือกใช้เทคนิค mRNA เราเลือกเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว (พ.ศ.2563) ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริงหรือไม่ ถึงแม้เทคโนโลยีนี้จะมีการวิจัยและพัฒนามาต่อเนื่องกว่า 20 ปี กำลังมีการพัฒนาทดสอบวัคซีนสำหรับโรคอื่นหลายโรค และมีการปรับคุณภาพจนดีมากขึ้นเรื่อยๆ
2
“ปลายปีที่แล้ว มีข่าวดี ทั่วโลก ว่าผลการทดสอบวัคซีน mRNA ระยะที่สามของทั้ง Pfizer และ Moderna ได้ผลถึง 95% ในการป้องกันโรคโควิด-19 ทำให้เรายิ่งมั่นใจว่าเราเลือกเทคโนโลยีที่ถูกต้องแล้ว”
2
ผอ.โครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ยอมรับว่า แม้ศูนย์วิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะเป็นศูนย์เล็กๆ ที่ก่อตั้งมาได้ 10 กว่าปี
1
และไม่เคยมีประสบการณ์วิจัยวัคซีนชนิด mRNA มาก่อน แต่ก็เคย และกำลัง พัฒนาวัคซีนโดยใช้เทคนิค DNA และวัคซีนชนิดโปรตีน สำหรับ ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู ภูมิแพ้ เป็นต้น
1
“เมื่อ 3-4 ปีก่อน ได้ยินข่าวเรื่องเทคนิคใหม่ คือ mRNA วัคซีน เราจึงเชิญ 1 ในผู้คิดค้นเทคนิคนี้คือ คือ Prof. Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย มาเมืองไทยเพื่อให้ความรู้ ซึ่งเวลานี้เลยกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน...ถือเป็นความโชคดีของประเทศไทย”
3
เมื่อเกิดโควิด-19 ระบาด จึงได้ตัดสินใจว่าเรามาพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ด้วยกัน จึงร่วมกันออกแบบ และเขาเองก็ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้
2
ศ.นพ.เกียรติ พูดอย่างมั่นใจว่า จากการรับฟังการบรรยายในครั้งแรกจาก Prof.Drew ส่วนตัวเชื่อมั่นว่า วัคซีนชนิด mRNA จะเป็น Disruptive Technology ทางเราเชื่อว่าจะทำให้เทคโนโลยีเก่าๆ ถดถอยไป เพราะจะได้เทคโนโลยีใหม่มาแทนที่
3
“เทคโนโลยีวัคซีนแบบเก่าใช่ว่าไม่ดี ยังมีข้อดีเยอะ แต่เทคโนโลยีแบบใหม่มีข้อดี คือ จะผลิตได้เร็วกว่า เพราะสามารถออกแบบโดยใช้สายพันธุกรรมเล็กๆ (ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงเชื้อ) แต่สิ่งที่คนมักพูดและสื่อสารผิดๆ ว่า mRNA เมื่อฉีดเข้าร่างกายแล้ว จะเข้าไปที่นิวเคลียส (Nucleus) หรือโครโมโซม (Chromosome) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว ก่อนอธิบายเพิ่มว่า
1
เทคนิคการผลิตวัคซีนแบบ mRNA ชื่อเต็มคือ Messenger ribonucleic acid มันคือ รหัสคำสั่งระยะสั้น ซึ่ง RNA มันจะอยู่ในเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส (Nucleus) สั่งให้เซลล์เราผลิตโปรตีนขึ้นมาตามต้องการ กรณีนี้ชิ้นส่วนโปรตีนของโควิด
ซึ่งจะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราให้รู้จักเชื้อโรคชนิดนี้ไว้ก่อน เมื่อได้รับเชื้อจริง เราก็สามารถตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันให้เราไม่เจ็บป่วยจากโรคนี้ หรือเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต
10
สรุปง่ายๆ ก็คือ เราเลียนแบบธรรมชาติซึ่งทุกคนในทุกนาทีที่ยังมีชีวิตอยู่ ร่างกายเราจะต้องสร้างโปรตีนที่ทำให้เรามีชีวิตทำสิ่งต่างๆ ได้ทุกขณะ เพราะร่างกายเราสร้าง รหัสคำสั่งที่เรียกว่า mRNA หลากหลายชนิด เรียกว่าเป็นหลาย 1,000 ชนิด
1
ในแต่ละวัน เพื่อสร้างโปรตีนให้ไปทำงานในหน้าที่ที่ร่างกายเราต้องการ และโดยธรรมชาติรหัสคำสั่งที่เรียกว่า mRNA เหล่านี้จะถูกร่างกายขจัดออกภายในไม่กี่วันอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการสะสมแต่อย่างใด
3
ดังนั้นวัคซีนชนิด mRNA จึงไม่มีการสะสม หรือฝังตัวอยู่ในนิวเคลียสของเราแต่อย่างใด เพราะจะถูกขจัดโดยร่างกายภายในเวลาอันสั้น หลังจากทำหน้าที่ของวัคซีนใน การกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราเรียบร้อยแล้ว เพื่อไว้คอยตอบโต้เชื้อโรคที่รุกราน
3
โดยสรุป หลักการของความรู้นี้ คือ การเอาชิ้นส่วนเล็กๆ ของสายพันธุกรรมเชื้อโควิด ส่วนที่เป็นโปรตีนตรงปุ่มหนามของเชื้อไวรัสนี้ จากนั้นนำมาสังเคราะห์เป็น mRNA ซึ่งเมื่อฉีดวัคซีน mRNA เข้าร่างกาย รหัสคำสั่ง mRNA เหล่านี้จะบอกให้เซลล์ของร่างกายผลิตโปรตีน ส่วนที่เป็นปุ่มหนามของไวรัสขึ้นมาทำหน้าที่การกระตุ้นให้ร่างกายรู้จักหน้าตาของเชื้อโควิด และสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อคอยป้องกันและตอบโต้ไม่ให้เราเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากโควิด-19 นั่น
3
ไทม์ไลน์ วัคซีน “ChulaCov19” อนาคตผลิตเอง ใช้เอง
ศ.นพ.เกียรติ ได้สรุปไทม์ไลน์ การพัฒนาวัคซีน “ChulaCov19” ไว้ว่า
1
ทดลองใน “หนู” ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563
ผลการทดลองในหนู เรารู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะภูมิขึ้นสูงมาก ซึ่งขึ้นมากกว่าทุกวัคซีนอื่นๆ ที่เราเคยทดสอบมา และผลการทดลองทยอยออกมาช่วงตั้งแต่ปลายมีนาคม
2
ทดลองใน “ลิง” มิถุนายน-กรกฎาคม 2563
1
จากนั้น มีการทดลองในลิง ผลคือ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง และลิงมีสุขภาพดี ซึ่งทดลองเสร็จในช่วงเดือนมิถุนายน ต้นกรกฎาคม
5
• อุปสรรคใหญ่ ความล่าช้าของวัคซีน
หลังจากผ่านการทดลองในสัตว์ทั้ง 2 ขั้นตอน ทีมพัฒนาวัคซีนของจุฬาฯ ก็เจอปัญหาใหญ่ ส่งผลให้การพัฒนาวัคซีนหยุดชะงักและล่าช้าไป 2 เดือน แต่ไม่ถือว่าเสียหาย เพราะยังมีหนทางแห่งอนาคต
3
ศ.นพ.เกียรติ เล่าเบื้องหลังอุปสรรคที่เจอว่า “ความจริงถ้าเมืองไทยมีเทคโนโลยีนี้ และมีโรงงานที่ทำเป็น ป่านนี้ก็ได้มีการทดสอบระยะ 2-3 ในคนแล้ว และสิ้นปีนี้ก็อาจจะได้ใช้วัคซีน แต่...ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เราไม่มีโรงงาน เราจึงเสียเวลาในการเสาะหาโรงงาน
7
โดยจ้างโรงงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อแม้ว่า ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับประเทศไทย เพราะเป้าหมายสูงสุดในการทำงานนี้ไม่ใช่เพื่อวิจัย แต่เพื่อให้ผลิตได้จริงในประเทศเรา” ศ.นพ.เกียรติ เล่าเบื้องหลังอุปสรรคที่เจอ
10
ตอนนั้นโรงงานการผลิตก็ล้นมือ กว่าจะหาได้จึงเสียเวลาไปมาก โดยจำเป็นต้องจ้าง 2 โรงงาน โรงงานแรก คือ ใช้ผลิตเนื้อในวัคซีน mRNA อีกโรงงานคือ ทำกันเคลือบวัคซีนด้วยไขมันขนาดจิ๋ว และบรรจุขวด
4
“กว่าจะติดต่อ และว่าจ้างโรงงานแรกสำเร็จ ก็ใช้เวลาเกือบ 2 เดือน ส่วนโรงงานที่ 2 กว่าจะเริ่มคุยกันได้ ก็ใช้เวลาอีก จะเริ่มซ้อมผลิตได้ในเดือนกันยายน กว่าทุกอย่างจะนิ่ง ก็ประมาณเดือนธันวาคม”
4
ศ.นพ.เกียรติ กล่าวต่อว่า ตอนผลิตในโรงงานแรก และโรงงานที่ 2 นั้น ใช้เวลาไม่นาน แต่ที่ช้าคือ ขั้นตอนการประกันคุณภาพ กว่าจะเสร็จในโรงงานแรก ก็ในเดือนกุมภาพันธ์ (พ.ศ.2564) ส่งมาที่โรงงานที่ 2 ในเดือนมีนาคม และเวลานี้คือ ขั้นตอนประกันคุณภาพในโรงงานที่ 2 และเพื่อความมั่นใจในด้านคุณภาพและความปลอดภัยได้มีการว่าจ้างบริษัทตรวจประกันคุณภาพจากประเทศไอร์แลนด์
3
เพื่อไปประเมินคุณภาพของโรงงาน และประเมินวิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพของวัคซีน ก่อนที่จะรับรองและส่งมาให้เราเพื่อใช้กับอาสาสมัคร ที่คาดว่าจะได้ฉีดต้นเดือนมิถุนายน
4
ศ.นพ.เกียรติ บอกว่า สิ่งที่เราทำคู่ขนานในเวลานี้ คือ การส่งเอกสารการวิจัยต่างๆ ให้กับองค์การอาหารและยา ซึ่งก็มีการตรวจสอบอย่างรวดเร็ว พร้อมตอบกลับอย่างตรงไปตรงมา
4
“ตอนนี้เหลือแค่รอลุ้นว่า หากประกันคุณภาพผ่านเกณฑ์ อย. ตรวจสอบทุกอย่างเชื่อถือได้ ก็จะนำเข้ามาฉีดให้อาสาสมัครทันที”
2
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข่าวดี วัคซีนสัญชาติไทย อาจเทียบเท่า “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา” แต่เก็บรักษาง่ายกว่ามาก!
นอกจากนี้ ศ.นพ.เกียรติ ยังแย้มข่าวดีให้ฟังว่า ที่อยากจะแจ้งทุกคนอีกอย่างคือ ปกติแล้วเทคนิค mRNA จะมีข้อเสียคือ มันสลายได้ง่าย จำเป็นต้องเก็บในความเย็น อย่างของโมเดอร์นา ต้อง -20 (2-8 องศาฯ เก็บได้ 1 สัปดาห์) ของไฟเซอร์ -70 (เก็บที่ 2-8 องศาฯ ได้วันเดียว)
แต่ของเราเป็นอะไรที่โชคดี คือ สูตรที่ไขมันขนาดจิ๋วที่เราเลือกมา สามารถทำให้พวกซีนของเราสามารถเก็บในความเย็น 2-8 องศาฯ ได้นานถึง 3 เดือน เก็บในอุณหภูมิ 25 องศาฯ ได้ 7 วัน
7
“ผมเชื่อว่าตัวเคลือบเป็นสิ่งสำคัญ โดยเราจับมือกับบริษัทที่ประเทศแคนาดา โดยเราเห็นงานของเขา และผลที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจ โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงด้วย ซึ่งตัวเคลือบชนิดนี้เคยผ่าน อย.ของสหรัฐฯ มาแล้วด้วย”
2
เตรียมถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการผลิตให้ไทย ผลิตเอง
ศ.นพ.เกียรติ เผยว่า ความรู้ที่ได้นี้จะถ่ายทอดให้บริษัท ไบโอเน็ต ซึ่งตั้งอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นคนไทยและฝรั่งเศส ซึ่งเคยผลิต DNA วัคซีน พัฒนาและผลิตโปรตีนวัคซีนมาก่อน
5
เขามีประสบการณ์ด้านวัคซีน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะเริ่มทดสอบการผลิต และหากผลิตได้ดีและมีคุณภาพ จะทำการ ผลิตในจำนวนมากขึ้น เพื่อใช้ทดสอบในอาสาสมัคร และหากได้ผลดี จะได้ผลิตเพื่อใช้ในจำนวนหลายสิบล้านโดสได้ต่อไป
4
เดินหน้าวัคซีนจุฬาฯ รุ่น 2 ใช้กับโควิด-19 กลายพันธุ์ อินเดีย แอฟริกาใต้ บราซิล
สำหรับสิ่งที่คนไทยเวลานี้รู้สึกกังวลมากในเรื่องโควิดกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือบราซิล ผอ.โครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เลกเชอร์ให้ฟังว่า...
จากความรู้พื้นฐานชีววิทยา สิ่งมีชีวิตจะสร้างโปรตีนได้ต้องมี DNA แล้ว DNA จะสร้าง mRNA จากนั้น mRNA จะมีคำสั่งให้เซลล์สร้างโปรตีน สิ่งมีชีวิตจึงสามารถดำเนินไปได้ ระบบธรรมชาติแบบนี้ อัตราการกลายพันธุ์จะเกิดได้น้อย ซึ่งต่างจากไวรัสชนิด RNA ในกรณีนี้คือ เชื้อไวรัสโควิด
ทุกครั้งที่มีการแบ่งตัว หรือการแพร่ระบาดในคนหมู่มากอย่างรวดเร็ว เชื้อไวรัสนั้นจะมีโอกาสกลายพันธุ์แบบสุ่มไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งการกลายพันธุ์แบบสุ่มเช่นนี้
มักจะเป็นผลเสียต่อตัวไวรัสเป็นส่วนใหญ่ แต่การกลายพันธุ์ในบางตำแหน่งกลับทำให้ไวรัสชนิดนั้นกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว และอาจจะทำให้เกิดโรครุนแรงขึ้น และที่สำคัญที่น่าวิตกก็คือ การดื้อต่อวัคซีนของเชื้อสายพันธุ์ใหม่
1
“การถอดรหัสกลับไปมา มันสามารถเพี้ยนได้ง่ายมาก เพราะมันกลายพันธุ์แบบสุ่ม ฉะนั้น ทุกรอบที่มีการแพร่เชื้อจำนวนมาก มันจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์อย่างเช่นในอินเดีย หรือแม้แต่ในเมืองไทย หากมีการติดกันเยอะๆ แต่ส่วนใหญ่ที่มีการกลายพันธุ์ ตัวเชื้อโรคเองก็ไปไม่รอด แต่..ก็มีบางตัวที่กลายพันธุ์และมันพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น”
1
ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า เชื้อที่กระจายเร็วทั่วโลก ก็คือ สายพันธุ์อังกฤษ ซึ่งมาบ้านเราแล้ว สายพันธุ์อินเดีย และแอฟริกาใต้ หรือบราซิล ซึ่ง 2 สายพันธุ์ล่าสุด เป็นสายพันธุ์ที่แพร่ง่าย และดื้อวัคซีนด้วย
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องเตรียมพร้อมวัคซีนรุ่น 2 เพื่อป้องกันเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ไว้ด้วย วัคซีนรุ่นแรกของเรา เชื่อว่าดีเทียบเท่า ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ส่วนวัคซีนรุ่น 2 เตรียมใช้กับเชื้อโรคที่ดื้อวัคซีน แน่นอน รัฐบาลเองจะหวังพึ่งเราอย่างเดียวไม่ได้ ยังไงก็ต้องเตรียมซื้อไว้”
10
ที่ผ่านมา เราใช้เวลาทำวัคซีนรุ่นแรกถึง 15 เดือน กว่าจะได้และรอทดลองในคน แต่เชื่อว่าวัคซีนรุ่นต่อไปที่ใช้สำหรับไวรัสที่ดื้อวัคซีน เราจะย่นเวลาได้มากกว่า 6 เดือน เพราะทุกอย่างมีอยู่ในมือและในเมืองไทย
“สิ่งที่หวัง คือ เราอาจจะใช้โดสน้อยกว่า ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา เนื่องจากผลทดลองในสัตว์ทดลองเป็นที่น่าพอใจ ถ้าใช้โดสน้อยกว่าจริง เราจะประหยัดวัคซีนได้ด้วย”
3
ศ.นพ.เกียรติ อธิบายเพิ่มเติมว่า วัคซีนของโมเดอร์นา ใช้ 100 ไมโครกรัม ส่วนไฟเซอร์ใช้ 30 ไมโครกรัม ส่วนของเรากำลังทดลองอยู่ว่าจะใช้ปริมาณเท่าไร ระหว่างที่ 10 25 หรือ 50 ไมโครกรัม ถ้าสมมติว่าผลทดลองว่าสามารถใช้ 10 ไมโครกรัม จะทำให้ประหยัดได้มาก
4
คำถามสุดท้ายคือ เราจะมีโอกาสได้ฉีดวัคซีนจุฬาฯ รุ่นแรก ได้เมื่อไหร่ ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า ถ้าทดลองกับอาสาสมัครเสร็จสิ้น คาดว่าจะรู้ผลใน 2 เดือน คือเดือนกรกฎาคม และต้องเลือกขนาดที่เหมาะสมไปทดสอบต่อในระยะที่สอง เพื่อดูความปลอดภัยในอาสาสมัครจำนวนมากขึ้น และเพื่อยืนยันผลว่าสามารถกระตุ้นภูมิได้สูงหรือไม่อย่างไร
1
ส่วนระยะที่สาม จะต้องทำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการวิจัยและข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก ว่าจากข้อมูลของวัคซีนหลายชนิดที่มีการฉีดในคนมากกว่า 1,500,000,000 โดส แล้วนั้น
จะมีระดับความสูงของภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า neutralizing antibody สักเท่าไรที่จะสรุปได้ว่าสามารถป้องกันโรคได้มีประสิทธิภาพสูงตามมาตรฐานที่กำหนดซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า correlate of protection
1
ซึ่งถ้ามีแนวทางกำหนดชัดเจนเช่นนี้ ก็มีโอกาสที่ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบระยะที่สาม ก็สามารถทำให้ย่นเวลาของการขอขึ้นทะเบียนรับรองขององค์การอาหารและยา เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินได้เร็วขึ้น และทำให้โอกาสที่วัคซีนนี้จะใช้ได้จริง อาจจะเป็นช่วงต้นปีหน้าได้
4
“สิ่งที่อยากขอบคุณคือ กองทุนศตวรรษที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ รวมทั้ง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่กล้าคิดนอกกรอบ
7
ซึ่งต้องเข้าใจว่างบรัฐบาลถึงอย่างไรก็ต้องมีขั้นตอน บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย ที่ร่วมทุ่มเทในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเราสามารถผลิตเองได้ในประเทศในที่สุด นอกจากนี้ก็ต้องขอบคุณภาคประชาชน และบริษัทต่างๆ ที่บริจาคเงินเป็นก้อน
16
เพื่อใช้หมุนระหว่างรอเงินหลวง สุดท้ายอยากฝากทีมงานทุกคน ซึ่งมีหลายสิบชีวิต ผมเป็นแค่หัวเรือ แต่ถ้าไม่มีทีมงาน ก็จะไม่มีทางสำเร็จ” ศ.นพ.เกียรติ กล่าวทิ้งท้าย.
7
ผู้เขียน : อาสาม
กราฟิก : Sathit Chuephanngam
1
👇อ่านบทความเพิ่มเติม👇
1
โฆษณา