30 พ.ค. 2021 เวลา 10:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
🌍 NEWS: ตัวเงินตัวทองอาจเป็นประโยชน์ให้มวลมนุษยชาติ⁉️
2
จากข่าวล่าสุดที่กำลังน่าจับตามอง ทางมหิดลกำลังทำการวิจัยคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง”
💉 โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีผลช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งและแบคทีเรียบางชนิดได้จริง
1
ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดี และอาจนำไปต่อยอดการรักษาโรคอุบัติใหม่อย่าง COVID-19 ได้เช่นกัน❗️
… เอาละสิ น้องเงินน้องทองจะได้เป็นฮีโร่แล้ว …
1
🔴 DETAIL: ผลงานการศึกษาฯ ครั้งนี้
เกิดขึ้นโดยรองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกับนักวิจัยที่กำลังพยายามไขความลับของระบบภูมิคุ้มกันของตัวเงินตัวทอง ว่าเพราะอะไรถึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีมลพิษและดำรงชีวิตอยู่ด้วยการกินซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยได้
โดยนักวิจัยได้รับอนุญาติเป็นที่เรียบร้อยจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
💉 ให้สามารถลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเลือดจากตัวเงินตัวทอง (Varanus salvator) ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์จากการล่า จนได้รับการคุ้มครองให้เป็น “สัตว์ป่าคุ้มครอง”
1
โดยตัวอย่างเลือดถูกใช้เพื่อศึกษาลักษณะของ “โปรตีน” ที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกันของตัวเงินตัวทอง ซึ่งเก็บตัวอย่างเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
📍RESULT: ภายหลังนักวิจัยพบว่าโปรตีนดังกล่าวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและแบคทีเรียบางชนิดได้
และคาดเดาว่าผลที่ได้อาจช่วยปราบปรามไวรัสรวมถึงไวรัส SARS-CoV-2 ต้นตอของ Covid-19 อีกด้วย❗️
1
🌟 ที่มหิดลเรียกน้องว่า “บุ๋ย” ซึ่งมีอยู่เยอะมากทั่วมหาลัย
🟡 NEXT STEP: ผลที่ตามมาจากข่าวประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ คือ
1
1. “การพัฒนายาจากเลือดตัวเงินตัวทอง” อาจเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้⁉️
1
👉🏻ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จในขั้นต่อไปคือ
✅ การพิสูจน์ให้มั่นใจว่านอกจากสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง และแบคทีเรียบางชนิดแล้ว จะต้องไม่ส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติในร่างกายมนุษย์
2. การผลักดันตัวเงินตัวทองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์เชิงเศรษฐกิจ⁉️
1
👉🏻 หากอนาคตเราสามารถใช้ประโยชน์จากตัวเงินตัวทองได้จริง การเพาะพันธุ์ในระบบฟาร์มจะตรงตามเป้าหมาย และมีระบบการดูแลที่เหมาะสมมากกว่าตัวเงินตัวทองที่อยู่ในธรรมชาตินั่นเอง
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้เราคงต้องติดตามดูผลกันต่อไป ซึ่งภายหลังจากการวิจัยเพิ่มเติม ทางมหิดลวางแผนที่จะดำเนินการจดสิทธิบัตรให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2564 นี้อีกด้วย
1
🌱ฝากติดตามเรื่องเล่าว่าที่สัตว์แพทย์-Vet Stories ด้วยนะคะ
📌 เตรียมรับความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจได้เลยค่ะ
❤️ ขอบคุณที่ตั้งใจอ่านบทความกันนะคะ
1
📚อ้างอิงรูปภาพและข้อมูล:
โฆษณา