30 พ.ค. 2021 เวลา 16:48 • สุขภาพ
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กับ วัคซีนซิโนแวค... อะไร ยังไง มาดูกัน
7
ต้องบอกว่า ที่ผ่านมา เรื่องลิ่มเลือดอุดตันนั้น จะมีข่าวก็แต่ในวัคซีนของฝั่ง Viral Vector ได้แก่ Astrazeneca J&J
4
ยังไม่เคยมี report ในฝั่งของ Sinovac เลย!! (search ใน Pubmed ก็ไม่เจอ) ดังนั้นยอมรับว่าตกใจพอควร
พอไปอ่านในเนื้อข่าว ก็พบว่าผู้เสียชีวิต (ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวมาณ ที่นี้ด้วย) มีประวัติรับประทานยาคุมกำเนิด
4
แล้วยาคุม เกี่ยวอะไรด้วย ทำไมไม่เห็นมีเชคลิสต์ถามเรื่องยาคุม ตอนจะฉีดวัคซีน
ก็จะขออธิบายด้วยสถิติ ดังนี้
1
- การรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นลิ่มเลือดอุดตันอยู่
โดยพบได้ประมาณ 1-10 ต่อหมื่นคนที่กินยาคุม (เลขต่างกัน เพราะเชื้อชาติมีผล เช่น ยุโรป ก็ค่อยไปทางเลข 10
เอเซียก็ค่อนมาทางเลข 1)
9
- ถ้าเป็นโควิด ก็เพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้เช่นกัน ประมาณ 2% (คนไข้โควิด 100 คน จะพบลิ่มเลือด 2 คน เอาง่ายๆคือ ถ้าเป็นขึ้นมา ก็สูงกว่ายาคุม ประมาณ 100 เท่า)
7
- แล้ววัคซีนหล่ะให้เกิดลิ่มเลือดยังไง
ที่ผ่านมา ตัวขึ้นชิ่อก็คือ Az กับ J&J ที่บอกไป โดยพบประมาณ 4 คน จาก 1,000,000 คน ที่ฉีดวัคซีน
คือเจอได้มั้ย ก็เจอได้ แต่ไม่เยอะ
คุ้มมั้ยถ้าจะฉีด ส่วนตัวก็มองว่าคุ้มอยู่นะคะ
2
ถ้าถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้เสียชีวิต ทำไมถึงมาเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีน 5 วัน
ไม่เถียงว่า วัคซีนอาจจะมีส่วนกระตุ้นภูมิในร่างกาย ส่งผลให้เสริมกับผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด ทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นมา
6
ตัวอย่างแบบนี้มีให้เห็นบ้าง เช่น คนที่กินยาคุมกำเนิด เกิดนั่งรถนานๆ ก็เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าคนไม่กินยาคุม
5
หรือคนกินยาคุม เกิดกระดูกหัก ต้อง admit ก็โอกาสเกิดลิ่มเลือดเยอะกว่าคนทั่วไป
2
ดังนั้น เชื่อว่า ส่วนหนึ่งคือผลยาคุม อีกส่วนคือผลวัคซีน....
4
จริงๆไม่ใช่แค่ยาคุม หลายๆภาวะก็กระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดได้
4
เช่นภาวะป่วยหนักๆ นอนไอซียู ก็เกิดลิ่มเลือดได้แล้ว
3
เลยมีคำถามต่อว่า ห้ามคนกินยาคุมฉีดวัคซีนโควิดมั้ย.... ก็ต้องตอบว่า ข้อมูลปัจจุบัน มีแต่คำแนะนำของ AstraZeneca ที่เกิดลิ่มเลือดบ้าง
2
โดยทางอังกฤษ บอกว่าเจอน้อยมาก ไม่ต้องหยุดหรอก
1
แต่ทางไต้หวัน บอกว่าให้หยุด 28 วัน
1
แต่อย่าลืมว่า นี่เป็นคำแนะนำของ AstraZeneca ด้วยนะ ไม่ใช่คำแนะนำของ Sinovac
3
ดังนั้น ถ้ามีเพื่อนมาถาม คงตอบว่า ขึ้นกับสาเหตุที่เรากิน ถ้ากินเพื่อคุมกำเนิด และกังวลภาวะนี้ ก็หยุดยาไป แล้วคุมวิธีอื่นไปก่อน เป็นต้น
1
ดังนั้น คำแนะนำคือ "ชั่งน้ำหนัก ความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่จะได้" แล้วทำการเลือกดู ว่าจะฉีดมั้ย เพราะข้อเท็จจริงก็กล่าวไปข้างต้น
4
โฆษณา