6 มิ.ย. 2021 เวลา 08:51 • ไลฟ์สไตล์
ทวงคืนพันธุกรรมพื้นบ้าน
พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ เป็นของใคร คำถามที่ชวนคิด วิเคราะห์แลกเปลี่ยน ในวันนี้ อาจเป็นวงการเรียนรู้ที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่คือสารตั้งต้น ในการเปิดมุมมอง นานาทัศนะ กับเรื่องเมล็ดพันธุ์
สานเสวนา
เดิมผมเชื่อว่า ทุกคนมีภาพจำในอดีตที่แจ่มชัดว่า เรามีความรู้เรื่องการเก็บรักษาพันธุกรรมพื้นบ้าน เป็นความรู้สามัญที่ ทุกคนรู้และทำเป็น
วันนี้ ผมถามไถ่ไปว่า มีพืชผักอะไรบ้าง ที่เราคัดเลือกสายพันธุ์ได้ และทำเป็นทุกคนช่วยกันตอบว่า มีพริก มะเขือ มะละกอ ฟักทอง บวบ และอีกจิปาถะ ผมถามต่อไปว่า แล้วมีใครสนใจอยากร่วมฟื้นความรู้และจัดการด้านนี้ หรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีใครสนใจ
ใครผูกขาด
ระบบทุนนิยม มีความอำมหิต เพราะพวกเขาครุ่นคิดถึง เงินตรา และกำไร กลยุทธ์ที่ง่ายมากคือ ผูกขาดการผลิตเมล็ดพันธุ์ ไว้ที่กลุ่มทุนเพียงไม่กี่ราย
พวกเขาทำให้เชื่อว่า การผลิตเมล็ดพันธุ์นั้น มันยุ่งยาก ไปซื้อหามา ดีกว่า ราคาไม่กี่บาท สะดวกกว่า และบางทีถึงขั้นปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นหมัน ไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ นานวันเข้า ชาวบ้านชาวช่องก็เชื่อเช่นนั้น อย่างสนิทใจ การผูกขาดเรื่องเมล็ดพันธุ์ จึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญมาก ของพวกเราทุกคน
เมื่อไม่มีใครตั้งคำถามในเรื่องราวแบบนี้ แล้ว พวกเขาจึงครอบครองอย่างสมบูรณ์แบบ เมล็ดผักในซองราคาขาย 20 บาท เมื่อเปิดออกมาดู คิดราคาได้ ประมาณเมล็ดละ 1 บาท มูลค่าส่วนแบ่งทางการตลาดในเรื่องนี้ คงสูงลิบลิ่ว ไม่น้อยกว่าปีละ หมื่นล้านบาท แน่นอน
#การทวงคืนเมล็ดพันธุ์คือความฝันหนึ่งที่อยากทำให้บรรลุ
#นวัตกรรมทวงคืนพันธุกรรมพื้นบ้าน
โฆษณา