8 มิ.ย. 2021 เวลา 07:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อิสราเอล-ฮามาส สงคราม AI ครั้งแรกของโลก
กองกำลังของอิสราเอล (IDF) ได้ประกาศว่าสงครามระหว่างอิสราเอลกับกองกำลังติดอาวุธฮามาสนั้นเป็นสงครามเอไอและซูเปอร์คอมพิวเตอร์สงครามแรกของโลก
ผู้นำระดับสูงของกองกำลังอิสราเอลได้เปิดเผยว่า ในการปฏิบัติการยุทธการพิทักษ์กำแพง (Guardian of the Walls) ที่ใช้โต้ตอบการบุกรุกของฮามาสนั้น เอไอได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการรบ ซึ่งเป็นครั้งแรกของกองกำลังอิสราเอลที่มีการใช้เอไอแทบทุกขั้นตอนของการปฏิบัติการ
กองกำลังอิสราเอลได้นำเทคโนโลยีเอไอที่มีในท้องตลาดมาปรับใช้กับหน่วยข่าวกรองทหาร โดยใช้เอไอเพื่อสร้างศูนย์รวมของข้อมูลเกี่ยวกับฉนวนกาซาทั้งหมดให้อยู่ในระบบเดียว เพื่อช่วยในการวิเคราะห์กลยุทธ์และช่วยให้หน่วยข่าวกรองหาข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้ในการปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากในระยะเวลาที่ผ่านมา อิสราเอลมีความระส่ำระสายไม่น้อย ทำให้กองทัพเลือกที่จะลงทุนกับเทคโนโลยีเอไอทางการทหารอย่างหนัก และวางกลยุทธ์ต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลของอัลกอริธึมเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลทั้งหมดก็ได้รับการเก็บรวบรวมผ่านทางดาวเทียม อากาศยานลาดตระเวน กองกำลังภาคสนาม และกองกำลังภาคพื้นดินเป็นเวลาหลายปี
เทคโนโลยีที่กองกำลังอิสราเอลใช้ในการเก็บข้อมูลมีหลากหลาย อาทิ Signal intelligence (SIGINT), Visual intelligence (VISINT), Human intelligence (HUMINT), Geographical intelligence (GEOINT) โดยระบบทั้งหมดจะส่งข้อมูลไปที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์ต่อไป
นอกจากนี้กองกำลังอิสราเอลยังสร้างโปรแกรมที่คอยช่วยทหารในการระบุเป้าหมายโจมตี คาดการณ์การปล่อยจรวดของฝ่ายตรงข้าม ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย ช่วยในการจัดการคลัง ควบคุมโดรน และสร้างแผนที่ เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำเอไอมาปรับใช้ทางการทหารอย่างเต็มรูปแบบ และอิสราเอลมองว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยลดการบาดเจ็บล้มตายของประชากรที่ไม่เกี่ยวข้องลงได้
The Israel Defense Forces (IDF) claimed that the war between them and Hamas is the world's first artificial intelligence and supercomputer war
IDF Intelligence Corps senior officer said that during its operation Guardian of the Walls, AI was the key component in the fight, and it was the first time that the operations rely almost entirely on the technologies.
They adapted the technologies that were already available on the market with their military intelligence. AI was employed to create centralised data to accommodate the analysis and aid in speeding up the search of crucial information for operations.
Israel has been quite unstable, which is why they chose to invest heavily in military technologies and AI. They prioritised algorithm-driven strategies with data collected from satellites aerial reconnaissance vehicles, field agents, ground intel.
IDF employed various technologies to collect data, like signal intelligence (SIGINT), visual intelligence (VISINT), human intelligence (HUMINT), geographical intelligence (GEOINT). These systems would send data to the supercomputer to perform analysis and strategy planning.
IDF also built systems that help the forces identify quality targets, predict the enemy rocket launches, detect suspicious objects, manage storage, control drones, and mapping. These indicated the full adoption of AI in warfare. IDF also thought that the technologies would help lessen civilian casualties
บทความโดย: ทีม Sertis
โฆษณา