13 มิ.ย. 2021 เวลา 03:43 • ความคิดเห็น
ความย้อนแย้งของคุณค่า
การกำหนดคุณค่าของสิ่งต่างๆ นั้นล้วนมีความย้อนแย้งในความเป็นจริง แม้บางสิ่งจะมีประโยชน์ต่อชีวิตของรามากกว่าสิ่งใดๆ
เราลองเปรียบเทียบ น้ำดื่มกับเพชรดู มันเป็นตัวเลือกที่ไม่ยากเมื่อเราวางของสองสิ่งนี้ไว้คู่กัน แน่นอนว่าเราจะหยิบเพชรกลับบ้านแทนที่จะเป็นน้ำเปล่า
แต่หากว่าเรากำลังขาดน้ำอยู่ที่กลางทะเลทรายละเราคงไม่เลือกเพชรที่กินไม่ได้แต่เลือกดื่มน้ำเพราะความกระหาย มันช่างเป็นความย้อนแย้งของคุณค่าจริงๆ
จริงๆแล้วมันคือหลักการชองเศรษฐศาสตร์ที่เริ่มต้นมายาวนาน จาก อดัม สมิธ การนิยามคุณค่าของสิ่งต่างๆไม่ได้ง่ายอย่างที่เราเห็นและเข้าใจ มันมีความย้อยแย้งและหลากหลายมุมมองมากกว่านั้น
ในสถานการณ์ปกติ เรามักจะมองสิ่งต่างๆ ด้วยการมองในมุมของมูลค่าในการแลกเปลี่ยน (exchange of value )แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่ิงสำคัญคือการนำไปใช้ประโยชน์ของสิ่งนั้น (use value)
ในบางสถานการณ์เราสามารถเลือกได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้นเราต้องพิจารณาต้นทุนการเสียโอกาส(opportunity cost) คือเราเลีอกว่าจะสูญเสียอะไรไป หากเราเลือกตัวเลือกหนึ่งจากตัวเลือกอื่นๆ เพราะหากเราอยู่ในทะเลทราย มันไม่สำคัญว่าเราจะขายเพชรได้เท่าไร หากว่าเราตายเพราะเราขาดน้ำ
ส่ิงเหล่านี้นำมาสู่ทฤษฎี อรรถประโยชน์ (utility) หรือสิ่งต่างๆที่ตอบสนองความอยากหรือความต้องการของบุคคลได้
อรรถประโยชน์นำมาใช้กับทุกๆสิ่งได้ ตั้งแต่อาหารยันรถหรูอย่าง tesla ได้ ซึ่งมีความแตกต่างไปตามสถานการณ์
ระบบเศรษฐกิจเชิงตลาดให้ทางเลือกที่ง่ายดายกับเราในการวัดอรรถประโยชน์ สะท้อนถึงราคาที่คุณยินดีจ่ายเพื่อให้ได้มา หากเราอยู่ในทะเลทรายที่มีทั้งน้ำและเพชนให้เราทุก ๆ ชั่วโมง หากเราเป็นคนส่วนใหญ่ เราคงเลือกดื่มน้ำให้มากพอ ที่จะเดินทางออกนอกทะเลทราย และเก็บเพชรให้ได้มากที่สุด ที่สามารถขนไปได้
1
ส่วนนี้เราจะเลือกมันว่า อรรถประโยชน์ส่วนสุดท้าย (marginal utility) มันหมายความว่าหากเราเลือก เพชรกับน้ำ ในมุมมองของอรรถประโยชน์ที่ได้จากน้ำในขวดต่อๆ ไป และเพชรก้อนต่อๆ ไป เราจะให้คุณค่าน้ำขวดแรกมากกว่าเพชรทั้งหมด แต่เมื่อเราได้น้ำมาเพียงพอ การหอบหิ้วขวดน้ำไปจะกลายเป็นภาระแทน นั้นจะกลายเป็นว่าเราอยากได้เพชรมากกว่าน้ำ
สิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีการเปรียบเทียบคล้ายๆกับสิ่งนี้ ยิ่งเราได้รับมันมากเท่าไร เราก็จะเห็นประโยชน์และรู้สึกพึงพอใจจากมันน้อยลงเรื่อยๆเราเรียกมันว่ากฎการลดลงของอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย(law of diminishing marginal utility)
ไม่ว่าอย่างไรเราจะจบความต้องการของเราที่จุด จุดหนึ่งความต้องการน้ำหรือว่าเพชรของเราจะมีค่าอรรถประโยชน์เป็น ศูนย์
โดยพื้นฐานแล้วเราจะเลือกวิธีที่ได้ประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงการได้รับผลตอบแทนที่ลดลง พูดให้ง่ายขึ้นคือ การกระจายทางเลือกในการใช้เวลาและทรัพยากรหลังจากความต้องการพื้นฐานของเราได้รับการเติมเต็มแล้ว
ไม่ต้องแปลกใจหากเราจะเห็นมหาเศรษฐี จอมจ่ายเงินจำนวนมากเพียงแค่ได้ครอบครอง ภาพศิลปะ ที่ราดูแทบจะไม่รู้เรื่องในราคาหลายล้านบาท เอามาติดฝาผนังบ้านที่แทบจะไม่มีใครเข้ามาดู โดยในความคิดของเราคือเอาเงินจำนวนนั้นมาซื้อของจำเป็นอื่นๆยังดีซะกว่า
โฆษณา