16 มิ.ย. 2021 เวลา 11:10 • ธุรกิจ
ย้อนประวัติศาสตร์ พาไปดูจุดเริ่มต้น Food Delivery
ย้อนประวัติศาสตร์ พาไปดูจุดเริ่มต้น Food Delivery
จักรวรรดิโรมัน (753 B.C. - 476 A.D.)
จักรวรรดิโรมัน (753 B.C. - 476 A.D.)
หลายคนคงคิดว่าร้านอาหารประเภทแรกๆที่เริ่มมี
บริการจัดส่งอาหาร (Food delivery)
และบริการกลับบ้าน (Take home)
คือร้านอาหารจานด่วนหรือที่เรียกว่าร้าน Fast food
และเพิ่งจะมีมาไม่กี่สิบปีมานี้ แต่ใครจะรู้ว่าในความเป็นจริงแล้ว
จากหลักฐานที่มีการค้นเจอจากซากของเมืองปอมเปอี (Pompeii)
เชื่อกันว่าบริการขายอาหารแบบเอากลับบ้าน (Take home)
ครั้งแรกนั้นมีมาเกือบ 2,000 ปีแล้วตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน
เนื่องด้วยเพราะชาวเมืองส่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองอื่น
และอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เล็กมากจนไม่มีพื้นที่เพียงพอ
สําหรับการประกอบอาหาร ทําให้คนที่มีฐานะยากจน
ไม่สามารถเข้าถึงอาหารร้อน (Hot foods) ได้ จึงต้องไปพึ่ง
ร้านอาหารที่เรียกกันว่า “เทอร์โมโพเลีย (Thermopolia)”
แปลว่า สถานที่ที่มีอาหารร้อนๆขายเป็นเหมือนหม้อดินเผา
ที่ฝังอยู่ใต้เคาเตอร์หินขนาดใหญ่เรียงกันอยู่หน้าร้าน
โดยมีการค้นพบมากกว่า 150 แห่งทั่วเมือง
ซึ่งชาวเมืองสามารถซื้ออาหารร้อนๆแบบพร้อมทาน (Ready to eat)
และเอากลับไปทานที่บ้านเองได้ (Takehome)
และนั่นจึงถือได้ว่าเป็นต้นกําเนิดร้านอาหารจานด่วน (Fast food)
แบบในทุกวันนี้
หลังหมดยุคของจักรวรรดิโรมันในยุโรปเองก็เริ่มมีการส่งอาหาร
ไปตามบ้าน เช่นในศตวรรษที่ 14 ที่ร้านขายเนื้อ (Butchery shop)
ในกรุงปารีสนิยมส่งสินค้า (เนื้อสด) ตรงไปถึงบ้านของครอบครัว
ที่มีฐานะในบริเวณรัศมีรอบๆ ร้านเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวก
ให้กับลูกค้า
บริการส่งนมในสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1785)
บริการส่งนมในสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1785)
หลังจากนั้นต่อมาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นมสดถือเป็นวัตถุดิบ
ชนิดแรกๆที่ มีการนําระบบจัดส่งถึงหน้าบ้าน (Door-to-door)
แบบรายวัน (Daily) และถูกพัฒนาจนเป็นธุรกิจกระจายทั่วสหรัฐฯ
โดยเริ่มต้นจากในย่านชนบทของเมือง Vermont ในปี คศ.1785
เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีตู้เย็นเก็บความเย็นรวมถึงบรรจุภัณฑ์
ที่ยังเป็นแบบขวดแก้วซึ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์
ทําให้นมมีอายุได้เพียงหนึ่งวันเท่านั้น
แต่หลังจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีของตู้เย็น
ในช่วงต้นทศวรรษ 1950s ทําให้ตู้เย็นมีราคาถูกลงและคนทั่วไป
สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ประกอบกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
ที่ทําให้สินค้ามีอายุนานขึ้น รวมไปถึงการเกิดขึ้นของซุปเปอร์มาร์เก็ต
ทั่วสหรัฐฯ ทําให้ไม่จําเป็นจะต้องสั่งนมในทุกๆ วันอีกต่อไป
ธุรกิจส่งนมจึงเริ่มเสื่อมความนิยมลงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
กษัตริย์อุมแบร์โตและราชินีมาร์การิต้า (ค.ศ.1889)
กษัตริย์อุมแบร์โตและราชินีมาร์การิต้า (ค.ศ.1889)
ในช่วงเวลาเดียวกันในปีคศ.1889 กษัตริย์อุมแบร์โต (King Umberto)
และ ราชินีมาร์การิต้า (Queen Margherita) ของอิตาลี
เสด็จมาที่เมือง Naples และต้องการทานอาหารท้องถิ่น
ของเมืองนั่นก็คือ“พิซซ่า” โดยเชฟชื่อดังของเมือง
ชื่อว่า รัฟฟาเอล เอสโปซิโต้ (Raffaele Esposito)
ซึ่งในภายหลังได้ชื่อว่าเป็นต้นตํารับของโมเดิร์นพิซซ่า
เป็นคนทําถวายถึงสถานที่ประทับ และนั่นเองที่เป็นจุดกําเนิด
ของพิซซ่าหน้า Margherita และเป็นจุดเริ่มต้นของพิซซ่าเดลิเวอรี่
ที่กลายมาเป็นเมนูยอดฮิตไปทั่วโลกจนทุกวันนี้
ดับบาวาลาที่อินเดีย (ค.ศ.1890)
ดับบาวาลาที่อินเดีย (ค.ศ.1890)
ในช่วงเวลาเดียวกัน (คศ.1890) ในอีกฝากนึงของโลก
ชายหนุ่มชาวอินเดียที่ชื่อ
มหาเดโอ ฮาวาจิ บัคเช (Mahadeo Havaji Bachche)
อดีตพนักงานธนาคารที่เห็นโอกาสจากที่เพื่อนร่วมงานของเค้า
ต้องการทานอาหารของที่บ้าน (Home cook) ในมื้อกลางวัน
แต่ไม่มีเวลากลับบ้านไปทาน จึงได้เริ่มต้นบริการรับส่งอาหาร
แบบปิ่นโตจากบ้านมาที่ทํางานซึ่งถือว่าเป็นที่แรกของโลก
เรียกว่า “Dabbawala (ดับ-บา-วา-ลา)” โดยเริ่มต้นจากการรวบรวม
คน 100 คนจากเมืองปูเน่ (Pune) ซึ่งอยู่ติดกับ
เมืองมุมไบ (Mumbai) มา เป็นคนรับส่งอาหารในช่วงแรก
ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมี Dabbawalas อยู่กว่า 5,000 คนทั่วเมืองมุมไบ
แต่เปลี่ยนจากการเดินส่งเป็นขี่จักรยานและใช้รถไฟในการขนส่งแทน
โดยทุกเช้า Dabbawalas จะรวบรวมอาหารจากบ้านลูกค้าต่างๆ
ไปที่จุดรวมพลเพื่อแยกไปยังสถานีรถไฟต่างๆ
โดยจะทําการแยกด้วยสัญลักษณ์ ต่างๆทั้งตัวอักษร ตัวเลข
และสีและจะต้องไปให้ทันช่วงมื้ออาหารกลางวัน
ก่อนที่ปิ่นโตนั้นจะถูกส่งกลับไปที่บ้านลูกค้าคนนั้น
ในช่วงบ่ายหรือในวันถัดไป
ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่าระบบบ้านๆที่ถูกคิดขึ้นมากว่าร้อยปีนี้นั้น
จะมีอัตราการผิดพลาดอยู่ที่1 ต่อ 6 ล้านครั้ง
หรือประมาณ 0.00000016%เท่านั้น และต่อให้ปัจจุบัน
เราจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการกับออเดอร์เดลิเวอรี่แค่
ไหนก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าอัตราการผิดพลาดของออเดอร์นั้นก็ยังคง
มากกว่าระบบที่ Dabbawalas ใช้อยู่ดี
สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945)
รูปแบบการจัดส่งอาหารสมัยใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น
ที่สหราชอาณาจักรระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (WWII)
โดยการที่รัฐบาลจัดเตรียมอาหารให้กับทหารออกศึก
และครอบครัวที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเพราะโดนระเบิดทําลาย
ทําให้ไม่มีสถานที่สําหรับปรุงอาหาร โดยจะมีการจัดเตรียมอาหาร
และจัดส่งโดยกลุ่มอาสาสมัครหญิง
โดยช่วงแรกใช้รถเข็นเด็กในการขนส่งและใช้มัดฟาง
หรือหมวกสักหลาดเก่า มาห่อหุ้มตัวอาหารเพื่อให้ยังคงความอุ่นไว้
ระหว่างการขนส่ง ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นพาหนะรถยนต์หรือรถลาก
หรือ “Canteen” ซึ่งภายหลัง กลายเป็นที่มาของโครงการ
ที่ชื่อว่า “Meals on Wheels” ซึ่งหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลง
แนวคิดโครงการ Meals on Wheels นี้ได้ถูกนําไปใช้
ทั่วโลกทั้งในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา
ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์
ยุคอินเทอร์เน็ต (ทศวรรษ 1990s)
ยุคอินเทอร์เน็ต (ทศวรรษ 1990s)
จุดเปลี่ยนครั้งสําคัญของธุรกิจ Food Delivery นั้นคือการเกิดขึ้นของ
อินเทอร์เน็ตในช่วงทศวรรษ 1990s ถึงแม้ว่าการสั่งอาหารนั้น
จะใช้วิธีการสั่งทางโทรศัพท์แต่หลายร้านอาหาร
เริ่มมีการนําเมนูขึ้นบนเว็ปไซต์มากขึ้น
และในปี 1994 นี้เอง Pizza Hut ได้เริ่มพัฒนาระบบ
การสั่งอาหารออนไลน์ (Online food ordering platform) เป็นครั้งแรก
โดยลูกค้าสามารถสั่งอาหารผ่านออนไลน์โดยการคลิ๊กไม่กี่คลิกเท่านั้น
บริการจัดส่งอาหารจานด่วน (Fast food delivery) ในสหรัฐฯ (ทศวรรษ 1950s)
บริการจัดส่งอาหารจานด่วน (Fast food delivery) ในสหรัฐฯ (ทศวรรษ 1950s)
หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทศวรรษที่ 1950s
เป็นช่วงที่ชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริกามีการเติบโตเป็นอย่างมาก
เริ่มมีการย้ายไปอยู่นอกเมืองมากขึ้นและนิยมอยู่บ้านดูทีวี
ทําให้ร้านอาหารเองต้องปรับกลยุทธ์จากขายหน้าร้าน
เป็นการสั่งกลับบ้าน (Take home) และมีบริการ
จัดส่งอาหาร (Food delivery) โดยทําการโฆษณาผ่านทางทีวี
ซึ่งเจ้าแรกที่มีทําการ โฆษณาก็คือร้านพิซซ่าที่ชื่อ Casa D’Amore
โดยมีโปรโมชั่นส่งฟรีเมื่อสั่งขั้นตํ่าที่ U.S. $2.50
ซึ่งประสบความสําเร็จเป็นอย่างมากในตอนนั้น
และนั่นก็คือจุดกําเนิดของธุรกิจจัดส่งอาหารยุคใหม่
ที่กระจายความนิยมไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้
การสั่งอาหารออนไลน์ (ค.ศ. 2004 – ปัจจุบัน)
การสั่งอาหารออนไลน์ (ค.ศ. 2004 – ปัจจุบัน)
จากที่แต่ก่อนลูกค้าสามารถสั่งอาหารออนไลน์
ได้จากร้านอาหารขนาดใหญ่ ที่มีระบบ
การสั่งอาหารออนไลน์ (Online food ordering platform)
และมีคนส่งอาหารเท่านั้น จนในปี 2004 จึงเกิดบริการ
ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากร้านอาหารต่างๆ
ผ่านแอปฯที่ชื่อ Grubhub และ UberEATS
ทําให้ร้านเล็กๆที่เคยมีแต่บริการนั่งทานในร้าน (Dine in)
และกลับบ้าน (Take home) เท่านั้น
มีบริการส่งอาหาร (Food delivery) เป็นตัวเลือกเพิ่มขึ้น
ติดตามTorpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา