21 มิ.ย. 2021 เวลา 06:30 • ธุรกิจ
สำรวจพฤติกรรมการสั่ง Food Delivery ของคนไทย ที่คนทำร้านอาหารควรรู้
1
สำรวจพฤติกรรมการสั่ง Food Delivery ของคนไทย ที่คนทำร้านอาหารควรรู้
จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2020
ที่ส่งผลกระทบต่อวิถี ชีวิตและธุรกิจเป็นวงกว้าง
ทําให้หลายธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวต้อง ปิดตัวลง
รวมถึงร้านอาหารที่ปรับตัวตามไม่ทันและที่ไม่มี
กระแสเงินสดเพียงพอ แต่ต้องยอมรับว่าโควิด-19
นี้ก็เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของธุรกิจ Food Delivery
ในไทยให้เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
จากคนที่ไม่เคยสั่งอาหารออนไลน์ก็ได้ลองสั่ง
คนที่นานๆสั่งทีก็หันมาสั่งบ่อยมากขึ้น
1
ซึ่งในช่วง 5 ปีหลังสุดนั้น ตลาด Food Delivery เติบโต
เฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งสูงกว่าธุรกิจร้านอาหาร
ที่เติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3-4 ต่อปีเท่านั้น ซึ่งจากข้อมูล
จากศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าตลาด Food Delivery ในไทย
ในปี 2019 นั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 33,000-35,000 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปี 2018 อยู่ 14% และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
เป็นอย่างมากในปี 2020 และ 2021 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พอเกิดสถานการณ์โควิด-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจ
Food Delivery เติบโตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
จากข้อมูลของสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(สพธอ.) ได้สํารวจพฤติกรรมทางออนไลน์เรื่อง
“การใช้บริการ Online Food Delivery ของคนไทย”
พบข้อมูลที่สําคัญเช่น GenY (อายุ 20-38 ปี) มีการใช้บริการ
Online Food Delivery มากที่สุดถึง 51% รองลงมาคือ
Gen X (อายุ 39-45 ปี) ไม่ใช่ Gen Z อย่างที่หลายคนคิด
โดยเกือบครึ่ง (49.06%) ของผู้สํารวจสั่งซื้ออาหารออนไลน์
ในช่วงมื้อกลางวัน (11.00-13.00น.)
ตามด้วยมื้อเย็น (17.00-20.00น.) อยู่ที่ 39.88%
ข้อมูลที่น่าสนใจคือ 88.47% สั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่
ของ ตัวกลาง ทั้ง 4 แอปฯ
(Lineman, Grab Food, Gojek และ Foodpanda)
โดยมีการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์ม
ของร้านอาหารโดยตรง 62.3%
ซึ่งส่วนมากจะเป็นร้านอาหารเชน (Chain restaurants)
ที่มีระบบสั่งอาหารของตัวเอง และมีเพียง 13.08% เท่านั้น
ที่เลือกสั่งผ่าน Inbox หรือ Direct Message ไปที่ร้านโดยตรง
อีกข้อมูลนึงที่เป็นประโยชน์สําหรับเจ้าของร้านอาหารคือ
ยอดขายเฉลี่ยต่อบิล (Average ticket size) ของ Gen X
ซึ่งถึงแม้จะเป็นฐานลูกค้ากลุ่มเล็กแต่ก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีกําลังซื้อ
สูงสุดที่ประมาณ 501-1,000 บาท รองลงมาคือ Baby Boomer
อยู่ที่ประมาณ 301-500 บาท ในขณะที่ฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุด
อย่าง Gen Y และ Z กลับอยู่ที่ประมาณ 101-300 บาท
ต่อบิลเท่านั้น
1
นอกจากที่โควิด-19 จะเร่งการเติบโตของธุรกิจ Food Delivery
แล้วยังเร่งพฤติกรรมการชําระเงินของลูกค้าให้เข้าสู่
Cashless Society อีกด้วย จากความกลัว
ในการสัมผัสเงินของลูกค้าทําให้หันมาใช้บริการโอนเงิน
ผ่านเครดิตการ์ด แอปฯโมบายแบงค์กิ้ง
และ อีเพย์เมนต์มากขึ้นด้วยซึ่งต่อให้วันนึง
สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลงและไม่เกิดการระบาดระลอกใหม่
เชื่อได้ว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนนึงนี้
จะเป็นไปอย่างถาวรและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ Food Delivery Food Delivery 101
- คัมภีร์เริ่มต้นบริการจัดส่งอาหาร
ติดตามTorpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา