20 มิ.ย. 2021 เวลา 13:27 • ดนตรี เพลง
#เรื่องเก่าเล่าสนุก,
#ลาวม่านแก้ว,
#แต่ปางก่อน,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
วันนี้ผมขอส่งบทเพลงคู่ ในเพลง”ลาวม่านแก้ว” ของผมกับน้องกู๊ด มาให้เพื่อนๆ
ได้ฟังประกอบเรื่องเก่าเล่าสนุก กันนะครับ ❤️🎹🎵🎶
สุขสันต์วันอาทิตย์นะครับ
#ลาวม่านแก้ว
เป็นเพลงประกอบละคร
”แต่ปางก่อน” ในเวอร์ชั่นคุณศรราม ช่วงปีพุทธศักราช 2548 ซึ่งเพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยคุณนก ฉัตรชัย ดุริยประณีต หรือ คุณนก วงเฉลียง และได้ คุณโดม ทิวทอง เป็นผู้ขับร้อง..
สำหรับในเพลงที่ส่งให้เพื่อนๆได้ฟังในคืนนี้ ผมได้เสียงน้องกู๊ด มาช่วยเติมเต็มด้วยเสียงหวานที่ ใส จริงใจ ร้องเต็มเสียง เต็มลม และออกเสียงอักขระ ภาษาที่ชัดเจน งดงาม จนต้องนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้ฟังในคืนนี้.. กันครับ
ซึ่งถ้าเพื่อนๆได้ติดตามน้องกู๊ดตั้งแต่เริ่มเข้าวงการร้องเพลงอย่างผม กับครูโต๊ะ..
จะรับรู้ได้ถึงความตั้งใจ ความขยันร้อง จนถึงการพัฒนาการร้องอย่างก้าวกระโดดของน้องสาวผมคนนี้ เลยครับ ❤️😇👏👏👏🎶🎹🎵💙
#แต่ปางก่อน
แต่ปางก่อน เป็นละครแนวย้อนยุค ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ แก้วเก้า (นามปากกาของ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอดีต ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักความผูกพัน หลายภพชาติ ระหว่าง หม่อมเจ้ารังสิธร หรือท่านชายใหญ่ พระโอรสองค์เดียวของเสด็จในกรมฯ และเจ้านางม่านแก้ว ซึ่งถูกขัดขวางด้วยความพยาบาทหลายภพชาติโดยหม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขา ผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง และเป็นคู่หมายของท่านชายใหญ่ ซึ่งกว่าความรักจะสมหวังในที่สุด..ก็ต้องข้ามภพชาติ กันเลยทีเดียวครับ 😅❤️
#เรื่องเก่าเล่าสนุก
-เป็นที่ทราบกันดีว่า การสักนั้น แพร่หลายมาแต่โบราณ โดยเฉพาะกลุ่มชนที่อยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปจากสยามซึ่งเดิมเคยเป็นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง ลึกเข้าไปจนถึงรัฐฉานในพม่า รวมถึงสิบสองปันนาและสิบสองจุไทในประเทศจีน ก็เช่น
ลวดลายการสักซึ่งเป็นที่นิยมของแต่ละกลุ่มก็แตกต่างกันไป อย่างกลุ่ม”ลาวพุงดำ”ก็เป็นกลุ่มที่นิยมสักจนทั่วร่างกาย บางรายสักทั้งตัวเว้นไว้แต่เพียงหน้าผาก ในขณะที่กลุ่ม “ลาวพุงขาว” ก็เป็นกลุ่มที่นิยมการสักตั้งแต่เข่าไปถึงต้นขาส่วนบน ไม่สักเลยขึ้นมาถึงเอวหรือพุง
-ในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงประมาณพุทธศักราช 2433 ยังขนานนามหัวเมืองมณฑลพายัพ ของ”ลาวพุงดำ” เรียกว่า มณฑลลาวเฉียง ศูนย์กลางปกครองอยู่เมืองเชียงใหม่
และขนานนามมณฑลของพวกลาวพุงขาว เรียกว่า มณฑลลาวพวนกับ มณฑลลาวกาว..ศูนย์กลางปกครองอยู่ที่หลวงพระบาง
..
..
สำหรับในจันทร์เจ้าขา เหตุการณ์บ้านเมืองในล้านนาและล้านช้าง ในช่วงปีพุทธศักราช 2426-2436 จะเป็นช่วงหัวเลี้ยว หัวต่อที่เปราะบาง และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งในสยาม รวมถึงปฐมเหตุเป็นแห่งเหตุการณ์ ร.ศ.112 ด้วยเช่นกันครับ
ขอบคุณอีกครั้งนะครับ สำหรับเพื่อนๆ ที่ติดตามอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้
สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ
ร้อยเรียงร้อง
(T.Mon)
20/6/2021
ข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง:
บทความไทหล่ม ลาวพุงขาว/ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์
โฆษณา