21 มิ.ย. 2021 เวลา 09:52 • ข่าว
#ผู้นำรัฐประหารพม่าเดินทางออกนอกประเทศ
#ย่องพบฝ่ายกลาโหมรัสเซีย_คาดหารือด้านอาวุธ
1
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา มีรายงานข่าวยืนยันอย่างเป็นทางการว่า นายพล มิน อ่อง ลาย หัวหน้าคณะรัฐบาลทหารคนปัจจุบันของพม่าได้เดินทางออกจากพม่า มุ่งหน้าสู่กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย
3
จุดมุ่งหมายของการเดินทาง ในช่วงที่ประเทศกำลังอยู่ในสถานการณ์หน้าสิ่ว หน้าขวานนี้ก็เพื่อเข้าร่วมการประชุมด้านการทหารกับฝ่ายกลาโหมของรัฐบาลรัสเซียช่วงวันที่ 22 - 24 มิถุนายนนี้ นับเป็นการเดินทางออกนอกประเทศเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในพม่าเป็นต้นมา
2
แต่สำหรับการเดินทางนอกประเทศครั้งนี้ ถือว่าไปค่อนข้างไกล หากเทียบกับครั้งแรกที่ นายพล มิน อ่อง ลาย ไปไกลสุดแค่อินโดนิเซีย เพื่อประชุมหารือสถานการณ์ในพม่ากับประเทศสมาชิกอาเซียน และรีบกลับทันทีที่เสร็จธุระ
ซึ่งการเดินทางไปมอสโควครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ทางองค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการระงับการขายอาวุธให้กับรัฐบาลทหารพม่า เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศยังคงบานปลาย การต่อสู้ระหว่างชาวพม่า ชนกลุ่มน้อย และรัฐบาลทหารทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และมีผู้เสียชีวิตแล้วไม่น้อยกว่า 870 คน
แต่ทว่า รัสเซียได้งดออกเสียงสนับสนุนการระงับการส่งอาวุธไปพม่า และตามมาด้วยข่าวการเดินทางไปมอสโควของนายพล มิน อ่อง ลาย ในวันนี้ ซึ่งทางสื่อของรัฐบาลทหารพม่าได้รายงานว่า ผู้นำพม่าได้ออกเดินทางตามคำเชิญของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมงานประชุมด้านความมั่นคงนานาชาติที่จัดขึ้นในกรุงมอสโคว
2
ก่อนหน้านั้น ช่วงเดือนมีนาคม 2021 นาย อเล็กซานเดอร์ โฟมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลางโหมรัสเซียเคยเดินทางมาเยือน นายพล มิน อ่อง ลาย ถึงกรุงเนปิดอว์ มาแล้ว ต่อมาเดือนพฤษภาคม พม่าก็ได้ส่งผู้นำระดับนายพลกองทัพอากาศไปชมงานแสดงอาวุธและเฮลิคอปเตอร์ทหารในรัสเซีย ที่ชื่อว่างาน HeliRussia Exhibition
จนมาถึงวันที่นายพล มิน อ่อง ลาย เดินทางด้วยเครื่องบินพิเศษมาเยือนรัสเซียด้วยตัวเอง แถมยังไม่มีกำหนดกลับชัดเจน จึงสามารถคาดเดาได้ว่าเป็นการมาเพื่อข้อตกลงด้านอาวุธเสริมในกองทัพพม่า หลังจากที่โดนองค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้งดค้าขาย และจัดส่งอาวุธให้กองทัพพม่า แม้จะมีชาติที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของ UN ถึง 119 ประเทศ รวมถึงจีนที่ถือเป็นพันธมิตรสำคัญของพม่าด้วย
3
แต่หากผู้ค้าอาวุธรายใหญ่เบอร์ต้นๆของโลก เพียงชาติเดียวที่ไม่สนข้อเรียกร้องของ UN มติที่กดดันพม่าเรื่องอาวุธสงครามก็แทบไม่มีความหมาย และคาดว่าสถานการณ์ความแตกแยกและรุนแรงในพม่าน่าจะดำเนินต่อไปเช่นนี้อีกนานหลายปี
1
แหล่งข้อมูล
โฆษณา