22 มิ.ย. 2021 เวลา 07:10 • สุขภาพ
ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อินเดียเดิม จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทดแทนสายพันธ์ุอัลฟ่าหรือสายพันธุ์อังกฤษเดิม
6
นับจากเดือนธันวาคม 2562 ต่อเนื่องมาถึงปี 2563 ไวรัสที่ก่อโรคโควิดจะเป็นสายพันธุ์หลักเดิม ซึ่งระบาดที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน
ตลอดระยะเวลาดังกล่าว แม้ไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ เพราะเป็นสารพันธุกรรมเดี่ยว แต่ก็เป็นการกลายพันธุ์ในส่วนรายละเอียดเล็กน้อย (Minor change) ไม่มีผลสำคัญกับการระบาดที่รุนแรง หรือการดื้อต่อวัคซีน
2
ในตอนปลายปี 2563 ต่อต้นปี 2564 ไวรัสบางส่วนได้มีการกลายพันธุ์ในส่วนสำคัญ ทำให้เกิดเป็น 4 สายพันธุ์หลักที่น่ากังวล ( VOC : Variant of Concern) และอีกอย่างน้อย 7 สายพันธุ์ย่อยที่ต้องจับตามองหรือให้ความสนใจเป็นพิเศษ (VOI : Variant of Interest)
2
ไวรัสสี่สายพันธุ์หลักได้แก่
1
1) สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha ) หรืออังกฤษเดิม
2) สายพันธุ์เบต้า (Beta) หรือแอฟริกาใต้เดิม
3
3) สายพันธุ์แกมมา (Gamma) หรือบราซิลเดิม
2
4) สายพันธุ์เดลต้า (Delta) หรืออินเดียเดิม
และไวรัสกลายพันธุ์ที่ควรจับตามองหรือให้ความสนใจ ประกอบด้วย
2
1) Epsilon ในสหรัฐอเมริกา
2) Zetaในบราซิล
3) Eta ในหลายประเทศ
4) Theta ในฟิลิปปินส์
5) Iota ในสหรัฐอเมริกา
6) Kappa ในอินเดีย
7) Lambda ในเปรู
7
เมื่อมาถึงกลางปี 2564 ในบรรดาไวรัส 4 สายพันธุ์หลัก ที่เป็นสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (VOC) นั้น จะพบความโดดเด่นในการแพร่ระบาดอยู่สองสายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า และสายพันธุ์เดลต้า
2
ส่วนสายพันธุ์เบต้า และแกมมานั้น การระบาดไม่ได้มีอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด เพียงแต่มีความรุนแรงและดื้อต่อวัคซีน
1
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่าและสายพันธุ์เดลต้า เป็นสองสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดสูง
2
เมื่อการระบาด ไปเริ่มต้นที่ประเทศใดแล้ว สุดท้ายก็จะครอบคลุมกลายเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศนั้นไปในที่สุด
2
โดยสามารถดูจากอัตราความสามารถในการแพร่ระบาด ดังนี้
1
1) สายพันธุ์หลัก เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ให้ฐานการระบาดเท่ากับ 100 หน่วย
2) สายพันธุ์อัลฟ่าของอังกฤษ มีความสามารถในการระบาด 170 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 70%
1
3) สายพันธุ์เดลต้า มีความสามารถในการระบาดสูงมากขึ้น เพิ่มเป็น 240 หน่วย (เพิ่มขึ้น 60% จากสายพันธุ์อัลฟ่าที่มีการระบาดอยู่ที่ 170 หน่วย)
1
จึงปรากฏเหตุการณ์เป็นลำดับว่า เมื่อเริ่มต้น จะพบสายพันธุ์อัลฟ่าเข้าไปทดแทนสายพันธุ์หลักเดิม ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แม้กระทั่งในประเทศไทย สายพันธุ์นี้ก็มาครอบคลุมทั้งหมดในการระบาดระลอกที่สาม
3
ต่อมาสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งมีความสามารถสูงกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า ก็ได้แพร่ระบาด จนชนะและครอบคลุมสายพันธ์ุอัลฟ่าเกือบทั้งหมด
ในประเทศอังกฤษขณะนี้ มีสายพันธุ์เดลต้า 96% ส่วนของประเทศไทยก็เพิ่มจากไม่เคยมีสายพันธุ์เดลต้า มาเป็น 22% ภายในเวลาเพียงหนึ่งเดือน
4
คาดว่าในอีก 1-3 เดือน ไทยน่าจะพบสายพันธุ์เดลต้า เป็นสายพันธุ์หลักของประเทศ แซงสายพันธุ์อัลฟ่า
ซึ่งปัจจุบันลดลงไปเหลือเพียง 71%
ส่วนในสหรัฐอเมริกาเอง เพียงหนึ่งเดือน สายพันธุ์เดลต้าก็เพิ่มจาก 2.7% ขึ้นมาเป็น 31% เรียบร้อยแล้ว
1
และสายพันธุ์เดลต้านี้ ก็ได้แพร่กระจายไปกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
1
จึงเป็นข้อสรุปว่า
1
ไวรัสสายพันธุ์ใด ที่มีอัตราความสามารถในการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว้างขวางกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อไประบาดซ้ำในพื้นที่เดียวกัน สุดท้ายก็จะระบาดทับสายพันธุ์เดิมไปทั้งหมด ดังที่ปรากฏแล้วในหลากหลายประเทศ
3
คาดว่าในเวลาอีกไม่กี่เดือน ทั่วโลกก็คงจะมีไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเป็นหลัก
1
เมื่อทราบว่า สายพันธุ์เดลต้ามีการดื้อต่อวัคซีนหลายชนิด เช่น Pfizer และ Astra กรณีที่ฉีดเข็มเดียว
2
จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งระดมฉีดวัคซีนเข็มสอง เพื่อป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
1
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ การฉีดวัคซีนหนึ่งเข็ม สามารถที่จะป้องกันไวรัสสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์อัลฟ่าได้
1
ทำให้หลายประเทศ ใช้นโยบายฉีดเข็มหนึ่ง และยืดระยะเวลาเข็มสองออกไปก่อน
เพื่อที่ทำให้วัคซีนเข็มหนึ่ง ได้กระจายไปสู่ประชาชนให้มากที่สุดเสียก่อน
นโยบายนี้ จะใช้ได้ผลดีในประเทศที่มีไวรัสสายพันธุ์เดลต้าระบาดน้อย
4
เมื่อใดที่มีไวรัสสายพันธุ์เดลต้าลำบากเกินกว่า 50% ของประเทศนั้นก็จำเป็นที่จะต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มสองโดยเร็ว
2
ขณะนี้ประเทศไทย มีไวรัสสายพันธุ์เดลต้าอยู่ที่ประมาณ 22% จึงยังสามารถฉีดเข็มสองห่างจากเข็มหนึ่งได้ตามสมควร
3
แต่ต้องติดตามจำนวนร้อยละของสายพันธุ์เดลต้า ถ้ามากเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ก็ต้องรุ่นระยะเวลาการฉีดวัคซีน
2
ซึ่งได้ลดเวลาการฉีดเข็มสองแล้ว จาก 16 สัปดาห์ ลงมาเหลือ 12 สัปดาห์ ในปัจจุบัน
1
ในอนาคต อาจจะต้องขยับลงมาที่ 8-10 สัปดาห์ต่อไป
2
Reference
1
โฆษณา