23 มิ.ย. 2021 เวลา 09:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เราได้อะไรจากปรากฏการณ์ลูกไฟวาบและเสียงสนั่น
(ดาวตกประเภทระเบิด Bolide)
ภาพจับจากวิดีโอ แสดงการระเบิดออกเป็นส่องส่วนของดาวตกแบบระเบิด Bolide โดยคุณ Salisa Seya อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
เหตุการณ์
เมื่อช่วงหัวค่ำของวันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2021 ได้เกิดมีผู้สังเกตจำนวนมากพบว่ามีแสงจากลูกไฟวาบสีเขียวเคลื่อนผ่านท้องฟ้าหลายจังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่นจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยาและอีกหลายจังหวัด โดยคาดว่าลูกไฟสีเขียวนี้มีขนาดใหญ่ เมื่อเคลื่อนเข้าใกล้พื้นดินก็แยกออกเป็นสองส่วนและมีเสียงระเบิดดังสนั่น ขั้นต้นมีผู้บันทึกภาพวิดีโอได้ ณ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
(ขอขอบคุณภาพและวิดีโอโดยคุณ Alisa Seya)
เราเรียกชื่อและจำแนกก้อนหินอวกาศเหล่านี้ตามขนาด
ข้อสันนิษฐาน
จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ได้ให้ข้อสรุปว่า น่าจะเป็นดาวตกชนิดระเบิดหรือ Bolide ตรงกับที่ผู้เขียนสันนิษฐานเช่นกัน ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ จึงไม่ควรวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก
สิ่งที่เราเรียนรู้จากปรากฏการณ์นี้
1.ชัวร์ก่อนแชร์ ทั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯและผู้เขียน ต่างขึ้นข้อความให้รอการวิเคราะห์ เพราะงานวิทยาศาสตร์นั้นต้องการข้อมูลและหลักฐานในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง การด่วนสรุป การแชร์ภาพเก่าหรือแสดงความตื่นตระหนก อาจนำมาซึ่งความสับสนต่อผู้คนหมู่มากในสังคมได้
ต้นกำเนิดของดาวตกและก้อนอุตกาบาตคือดาวหางและดาวเคราะห์น้อยซึ่งส่วนใหญ่มีต้นทางจากแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาว ังคารและดาวพฤหัสบดี
2.ได้ประเด็นในการสื่อสารข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ หลายท่านอาจคิดว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องยากและน่าเบื่อ เหตุการณ์นี้นำมาเปิดประเด็นถึงเรื่องราว เช่น
-ความรู้เรื่องดาราศาสตร์ในแง่ของวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะอันได้แก่ ดาวตกซึ่งมีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง โครงการศึกษาวิจัยการกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ
-ความเข้าใจเรื่องกำเนิดของเอกภพหรือจักรวาลวิทยา
-การพัฒนาการเฝ้าระวังวัตถุอวกาศ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับหลายชาติทั่วทั้งโลก เราทราบว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไร ฉันใด มนุษยชาติเองก็ย่อมมีโอกาสเผชิญสถานการณ์นี้ด้วยเช่นกัน
มีการพุ่งชนใหญ่อย่างน้อย 3 ครั้งในประวัติศาสตร์โลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกและสิ่งมีชีวิตมาจนถึงป
กล้องถ่ายภาพทั้งภาคพื้นดินและในอวกาศตรวจจับวัตถุโคจรใกล้โลกหรือ NEO ตลอดเวลา เราสามารถคาดคะเนและแจ้งเตือนเมื่อมีวัตถุคุกคามโลกได้ล่วงหน้ามากขึ้นและแมนยำขึ้นเรื่อยๆ ภาพ NASA
3.โรงเรียนและสถานศึกษาสามารถจุดประกายให้กับผู้เรียนได้สร้างคำถาม หาคำตอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเยาวชนของชาติ
4.นำไปสู่การวิจัยค้นคว้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง ที่จริงแล้วดาวตกขนาดใหญ่หรือดาวตกแบบระเบิดนั้นเกิดขึ้นเป็นประจำ หากเราสืบค้นดู เกิดขึ้นในประเทศไทยทุกๆปี ข้อมูลที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง วิดีโอ บทสัมภาษณ์ช่วยให้นักวิชาการสามารถคำนวณจุดตกได้อย่างใกล้เคียง และหากเราพบเศษก้อนอุตกาบาตบนพื้นดิน ก็นำไปสู่การศึกษาวิจัยในชั้นสูงได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันนี้ หน่วยงานทางอวกาศของประเทศยักษ์ใหญ่และมหาอำนาจล้วนมีดาวเทียมสังเกตการณ์ คอยติดตามวัตถุท้องฟ้าและเฝ้าระวังกิจกรรมทางอวกาศที่ทำงานอยู่ทุกวินาที ประเทศเล็กๆอย่างเราก็สามารถสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆและก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ด้วยความรู้นี้เช่นกัน
ก้อนอุตกาบาตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ Hoba ขนาด 6.5 ตารางเมตร น้ำหนัก 60 ตัน ตกเมื่อ 80,000 ปีที่แล้ว ณ ประเทศนามิเบีย แอฟริกาใต้
5.ภาพถ่ายปรากฏการณ์พิเศษอย่างนี้ มักได้มาจากมือสมัครเล่นเสมอๆ ดาวหางชูเมคเกอร์ เลวี่ 9, SL9 ที่พุ่งชนดาวพฤหัสบดี ในปี 1994 ก็ได้ชื่อจากผู้ค้นพบ: ยูจีน เมิร์ล ชูเมกเกอร์, แคโรลีน เอส. ชูเมกเกอร์, เดวิด เอช. เลวี่ เรามีดวงดาวชื่อภาษาไทยแล้วจากการโหวตชื่อ ดาวชาละวัน ดาวตะเภาแก้ว ตะเภาทองแล้ว หากนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยตื่นตัวมากขึ้น ในไม่ช้าก็อาจจะมีชื่อวัตถุท้องฟ้าแบบไทยๆ ที่คนไทยค้นพบมากขึ้น
ดาวหาง Neowise บันทึกภาพจากสถานีอวกาศนานาชาติ 2020 ระหว่างการโคจรเหนือทะเลเมดิเตอเรเนียน เหนือประเทศอิตาลีและตูนีเซีย
ฝากติดตามบทความต่อไปที่จะนำเสนอเรื่องของดาวตกโดยเฉพาะ ฝากกดไลค์ แชร์และติดตามได้ตามอัธยาศัยครับ
เรียบเรียงโดย
อจ.วิรติ กีรติกานต์ชัย ( อจ.โอ)
ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักในดวงดาว Starry Night Lover club
เครือข่ายดาราศาสตร์ในการสนับสนุนของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
ฑูตสะเต็มสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ (สสวท.)
ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ดาราศาสตร์หารท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
ฯลฯ
โฆษณา