25 มิ.ย. 2021 เวลา 04:57 • ถ่ายภาพ
กว้างแบบไม่จำกัดและเข้มข้นด้วยข้อมูลด้วยเทคนิคพานอรามาชั้นสูง
ทางช้างเผือกเหนือวัดสิรินธรภูพร้าววนาราม
ด้วยความสามารถของซอร์ฟแวร์ที่ทันสมัย ทำให้นักถ่ายภาพดวงดาวสามารถถ่ายภาพดวงดาวทั่วทั้งท้องฟ้า
ทางช้างเผือกตั้งแต่แขนฝุ่นฝั่งหนึ่งไปจนถึงใจกลางและข้ามขอบฟ้าไปจรดอีกฟากฟ้าตรงข้าม จากพานอรามาแบบภาพเดี่ยว
เราพัฒนาการถ่ายภาพพานอรามาแบบภาพต่อเนื่องเพื่อสัญญาณภาพที่เข้มข้น มีรายละเอียดครบถ้วน มีเทคนิคกันอย่างไร มาเรียนรู้กัน
การวางแผนและการถ่ายภาพ
1.กำหนดขอบเขตของมุมมองว่าให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนฉากหน้าและทางช้างเผือก
ในส่วนนี้ผู้ถ่ายภาพต้องทราบมุมมองของเลนส์ที่ใช้ โดยทดลองถ่ายภาพแรกก่อนแล้วจึงประมาณว่าต้องถ่ายภาพกี่แถวและกี่ชั้น
แนวทางการวางแผนการถ่ายภาพแบบ Multiple Shot Panorama
จากตัวอย่าง ช่างภาพวางแผนถ่ายเป็น 2 ชั้น(แถว) ชั้นละ 10 คอลัมน์(สดมภ์) จากสภาพท้องฟ้าในช่วงฤดูฝน อาจทำให้สะสมเวลาของภาพทั้งหมด
ได้ไม่มากนักอันเนื่องจากเมฆ จึงถ่ายภาพคอลัมน์ละ 15 วินาที(โดยคำนวณแล้วว่าดาวจะไม่ยืด/ไม่ใช้มอเตอร์ตามดาวเนื่องจากท้องฟ้าไม่นิ่งและมีเวลาถ่ายภาพไม่มาก)
จำนวนคอลัมน์ละ 7 ภาพ
นั่นคือจะได้สัญญาณภาพรวม 7x15 วินาที = 105 วินาที สำหรับภาพทั้งหมด แต่ต้องถ่ายรวม 140 ภาพ ใช้เวลารวมประมาณ 40-45 นาที
* หากท้องฟ้านิ่ง ใสเคลียร์ปราศจากเมฆหรือมลภาวะทางแสง อาจตั้งมอเตอร์ตามดาวถ่ายภาพละ 3 นาที x 2 ภาพ x 10 คอลัมน์ x 2 ชั้น(แถว) รวม 40 ภาพ ใช้เวลารวม 2 ชั่วโมง ปิดมอเตอร์ตามดาว ถ่ายฉากหน้าอีกประมาณ 30 นาที
* มอเตอร์ตามดาวทำให้ลาก Exposure ได้นานโดยที่ดาวยังนิ่งไม่ยืด เวลารวมสัญญาณหรือ Stacking จะได้ที่ดีมีรายละเอียดและสีสันเต็มที่ แต่ต้องแยกถ่ายฉากหน้าเพิ่มอีกชุด เพราะเมื่อตามดาวฉากหน้าจะยืด
* การวางแผนให้เผื่อพื้นที่ไว้เสมอ เพราะเมื่อรวมภาพแล้วจะต้องดึงปรับภาพ Transform และครอปตัดส่วนเกิน-จัดองค์ประกอบ เผื่อพื้นที่ทาาจงขอบซ้ายขวา แถวล่างแถวบน ให้ตระหนักว่า เมื่อต่อพานอรามาแล้วถูกครอปทั้งซอร์ฟแวร์และโดยผู้ประมวลผลภาพ
2.ถ่ายภาพจากซ้ายมาขวา ล่างขึ้นบน โดยให้แต่ละคอลัมน์(สดมภ์)คล่อม(Overlap) กันอย่างน้อย 50% สะดวกต่อการต่อสภาพ(Stitch) โดยภาพไม่ขาด ส่วนนี้สำคัญมากและต้องใจเย็นอดทน หัวบอลที่มีมุมแพนหรือรองรับพานอรามามีประโยชน์ ช่วยให้เราวัดมุมที่หมุนไปตามที่วางแผนได้แม่นยำ
3.ใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทสั่งถ่ายเพื่อภาพจะนิ่งไม่สั่นไหว
4.Setting ของกล้องขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของแต่ละท่าน ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
- ไม่เปิด Aperture กว้างสุด เนื่องจากขอบภาพอาจมี coma ทำให้ดาวมีปีกหรือยืดออก การลด Exposure และลด Aperture จะช่วยแก้ปัญหาได้
- การถ่ายเพื่อนำมา Stacking ไม่จำเป็นต้องใช้ ISO มากจนภาพชัดตั้งแต่ภาพแรก ISO มีผลต่อคุณภาพไฟล์และการต่อภาพ Stitch
- ไฟล์ต้นทางที่ดี ช่วยการประมวลผลภาพได้มาก
การประมวลผลไฟล์ภาพ
1.แปลงภาพจาก Raw file ด้วย ACR (Adobe Camera raw) โดย
- Lens profile สำคัญมาก
- ปรับค่าพื้นฐานเท่านั้น เฉพาะ White Balance และ Basic เพียงเล็กน้อย ส่วนของ Detail ให้ทำหลังจาก Stacking/Stitch
- Export เป็น tiff / dng format เท่านั้น
2.รวมสัญญาณภาพแต่ละคอลัมน์ด้วย Photoshop > Median Stacking technic หรือ Stacking software อื่นๆ เช่น Stary Landscape Stacker / Sequator เลือกตามที่ถนัด ดูจุด จากภาพตัวอย่างจะรวม 7 ภาพในแต่ละคอลัน์เป็นภาพ Stacking เพียง 1 ภาพ แต่เป็น 1 ภาพที่สะสมสัญญาณ 105 วินาที จาก 140 ภาพจะเป็น 20 ภาพ
3.ต่อภาพหรือรวมภาพเป็นพานอรามาด้วย Light Room หรือ Photoshop หรือ ซอร์ฟแวร์อื่น เช่น PTGui / Hugin / Autostitch ฯลฯ เลือกที่ถนัด ซอรืฟแวร์ตัวโปร(เสียเงิน) จะเก่งและมีลูกเล่นมากขึ้นกว่าตัวฟรี
โปรแกรม Panorama Studio :
4.ปรับภาพด้วย Edit>Transform ครอปตัวเพื่อจัดองค์ประกอบ
โปรแกรม PTGui ช่วยต่อภาพพานอรามาได้ดี
5.ปรับสีสันและดึงรายละเอียดภาพออกมาโดย Photoshop
งานถ่ายภาพเป็นของดี มีประโยชน์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามตั้งแต่การวางแผน การถ่ายภาพและการประมวลผลภาพ จึงจะได้ภาพที่สวยงามสมบูรณ์ ด้วยความร่วมมือของสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทุกท่านสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนางานถ่ายภาพของตนเองได้ โดยเริ่มต้นจากง่ายๆไปทีละขั้น ด้วยความร่วมมือของธรรมชาติที่งดงาม การจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้โดยชมรมคนรักในดวงดาวหรือหน่วยงานต่างๆ และความขยันมุ่งมั่นพยายาม เพิ่มพูนทักษะความรู้ จะทำให้ภาพถ่ายของท่านงดงามและถูกต้องตามหลักวิชาการได้ในเวลาไม่นานเกินรอ
บทความโดย
อจ.วิรติ กีรติกานต์ชัย
ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักในดวงดาว Starry Night Lover club
เครือข่ายดาราศาสตร์ในการสนับสนุนของสภาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
ฑูตสะเต็มสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์(สสวท.)
ที่ปรึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ดาราศาสตร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
วิรติ กีรติกานต์ชัย
ภาพโดย คุณราชันย์ เหมือนชาติ Rachan Thai
ผู้ดูแลชมรมคนรักในดวงดาว
ผู้ชนะการประกวดมหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)
ราชันย์ เหมือนชาติ
เทคนิคการถ่ายภาพ
Camera : Nikon 810 Modded sensor
Lens : Nikon 14-24 mm F2.8
Aperture : F4
Exposure : 13 Sec x 7 ใบ x 10แถว x 2 ชั้น
Total time : 30-40 นาที
ISO : 800
Technic : Panorama multiple shot / Stacking
==================================
โฆษณา