26 มิ.ย. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“The Roof Koreans” เมื่อชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ต้องจับปืนป้องกันตัวบนดาดฟ้า จากการจลาจลครั้งใหญ่ใน LA
Roof Koreans หรือที่เรียกว่า Rooftop Koreans เป็นศัพท์สแลงที่หมายถึงเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี-อเมริกันที่ปกป้องอาคารร้านค้าของพวกเขาในระหว่างการจลาจลในนครลอสแองเจลิส ในปี พ.ศ. 2535 ภาพของเจ้าของธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีที่ยืนถืออาวุธปืนอยู่บนหลังคาถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อต่าง ๆ ทำให้พวกเขาได้กล่าวถึงในความกล้าและห้าวหาญ โดยคนอเมริกันเชื้อสายเกาหลีพร้อมอาวุธปืนขึ้นไปตั้งหลักบนหลังคาดาดฟ้าอาคารที่พวกตนประกอบธุรกิจอยู่ เพื่อป้องกันอาคารร้านค้าตลอดจนทรัพย์สินให้พ้นจากการปล้นโดยผู้ก่อการจลาจล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน และชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสปานิก จากเหตุการณ์จลาจลกรณีตำรวจผิวขาวของกรมตำรวจแห่งนครลอสแองเจิลลิส (LAPD) 4 นายรุมทุบตี Rodney King ชายผิวสี และมีการการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2535 อันเป็นการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่เทศมณฑลลอสแอนเจลิส ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535
โดยความไม่สงบเริ่มขึ้นในวันที่ 29 เมษายน เมื่อมีคำพิพากษาให้ตำรวจ 4 นายพ้นผิดจากข้อหากระทำการเกินกว่าเหตุและทำร้ายร่างกายขณะจับกุม Rodney King ชายผิวสีที่ก่อเหตุเมาแล้วขับ การจลาจลดำเนินอยู่ 6 วันก่อนจะจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 63 คน ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่าในขณะนั้น)
ภาพเหตุการณ์ที่ตำรวจผิวขาวของ Los Angeles Police Department (LAPD) 4 นายรุมทุบตี Rodney King ชายผิวสี จนทำให้เกิดการการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2535
Latasha Harlins (ซ้าย) เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปี เสียชีวิตหลังจากถูก Soon Ja Du (ขวา) ยิง
การจลาจลในลอสแอนเจลิส ปี พ.ศ. 2535 เป็นผลพวงมาจากหลายสาเหตุ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ Soon Ja Du เจ้าของร้านค้าผู้มีเชื้อสายเกาหลียิง Latasha Harlins เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปีจนเสียชีวิตหลัง Soon Ja Du กล่าวหาว่า Harlins พยายามขโมยของในร้าน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะลูกขุนมีความเห็นให้ดูมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (Voluntary manslaughter) มีโทษสูงสุดคือจำคุก 16 ปี แต่จอยซ์ คาร์ลิน ผู้พิพากษาตัดสินให้ Soon Ja Du ถูกคุมประพฤติ 5 ปี บำเพ็ญงานสาธารณประโยชน์ 400 ชั่วโมง และปรับ 500 ดอลลาร์สหรัฐ
1
ในเดือนเดียวกันกับที่ Soon Ja Du ก่อเหตุ Rodney King และเพื่อนอีก 2 คนถูกตำรวจจับกุมจากหลังเมาแล้วขับและพยายามหลบหนีการจับกุม King และเพื่อนถูกตำรวจรุมทำร้ายระหว่างการจับกุม ซึ่งมีผู้บันทึกวิดีโอเหตุการณ์ไว้ได้แล้วส่งไปให้สำนักข่าวท้องถิ่น KTLA เดือนเมษายน พ.ศ. 2535 หลังอัยการเขตเทศมณฑลลอสแอนเจลิสตั้งข้อหาตำรวจ 4 นายว่ากระทำการเกินกว่าเหตุและใช้กำลังประทุษร้าย คณะลูกขุนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันผิวขาวมีความเห็นให้ตำรวจทั้ง 4 นายไม่มีความผิด หลังจากตีความเหตุการณ์ในวิดีโอว่า King พยายามขัดขืนการจับกุม
3
ตำรวจ 4 นายที่ร่วมกันทำร้าย King โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือน ฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส
หลังมีคำพิพากษาในวันที่ 29 เมษายน จึงเกิดการชุมนุมที่หน้ากรมตำรวจลอสแอนเจลิส และชาวผิวสีบางกลุ่มที่โกรธแค้นเริ่มไล่ทำร้ายชาวอเมริกันผิวขาวในนครลอสแอนเจลิสโซนใต้ ก่อนที่วันต่อมามีการประกาศเคอร์ฟิว และความรุนแรงแผ่ขยายไปเป็นการวางเพลิงและปล้นทรัพย์ในนครลอสแอนเจลิสโซนกลาง รวมถึงการปะทะกันระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเมื่อมีผู้ก่อการจลาจลบุก Korea Town
2
วันที่ 1 พฤษภาคม Rodney King เรียกร้องให้มีการยุติการจลาจล มีการเคลื่อนกำลังทหารจากรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐบาลกลางรวมกว่า 10,000 นาย เข้ามาในเมือง วันที่ 4 ของการจลาจล (2 พฤษภาคม) มีการเพิ่มกำลังเสริมรวมเป็น 13,500 นาย ทำให้ลอสแอนเจลิสกลายเป็นเมืองที่ถูกกองประจำการสหรัฐยึดครองมากที่สุดนับตั้งแต่การจลาจลในวอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2511 การจลาจลจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม เมื่อกองกำลังรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และมีการยกเลิกเคอร์ฟิว แต่ให้คงกำลังทหารไว้จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม
2
หลังเหตุการณ์สงบ มีผู้เสียชีวิต 63 คน บาดเจ็บ 2,383 คน และถูกจับกุม 12,111 คน อาคารบ้านเรือนถูกเผาทำลายกว่า 3,767 แห่ง กรมตำรวจลอสแอนเจลิสถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทในการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่ผิดพลาด จน แดริล เกตส์ ผู้บัญชาการของกรมตำรวจลอสแอนเจลิสต้องประกาศลาออก ส่วนคดี Rodney King ได้รับการพิจารณาใหม่ในปี พ.ศ. 2536 นำไปสู่การตัดสินโทษตำรวจ 4 นายที่ร่วมกันทำร้าย King โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือนฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส ส่วน King ได้รับเงินชดเชย 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
1
Korea Town นครลอสแอนเจลิส
เหตุการณ์นี้ทำให้เกิด The Roof Koreans (The Rooftop Koreans) ด้วยนครลอสแอนเจลิสเป็นที่พำนักอาศัยของชาวเกาหลีกว่า 300,000 คน เป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ของผู้อพยพชาวเกาหลี หลายคนมาถึงในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เมื่อสภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในขณะนั้นมีความแตกต่างอย่างมากกับเกาหลีใต้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากขาดโอกาสในการทำงานและเงินทุนที่จำกัด ชาวเกาหลีจำนวนมากจึงซื้อร้านค้าในพื้นที่ของคนผิวสีเป็นส่วนใหญ่ มักจะมาจากเจ้าของสีขาวย้ายออก นอกจากนี้ราคาค่าเช่าในพื้นที่เหล่านี้ยังถูกมากจนสามารถที่จะเปิดทำธุรกิจได้ด้วยเงินทุนไม่มากนัก
1
นครลอสแอนเจลิสกลายเป็นอนาธิปไตยอย่างรวดเร็ว มีทั้ง การลอบวางเพลิง การฆาตกรรม และการอาละวาดปล้นสะดม ตำรวจนครลอสแอนเจลิสละทิ้งย่าน Korea Town ตลาดแคลิฟอร์เนีย นครลอสแอนเจลิส ในระหว่างการจลาจลในปี 1992
เมื่อเกิดการประท้วงในเรื่องของการพ้นผิดของตำรวจที่รุมทำร้าย Rodney King นครลอสแอนเจลิสกลายเป็นอนาธิปไตยอย่างรวดเร็ว มีทั้งการลอบวางเพลิง การฆาตกรรม และการอาละวาดปล้นสะดม ความตึงเครียดทางชาติพันธุ์เริ่มก่อตัวขึ้นในชุมชนเกาหลี ชาวเกาหลีจำนวนมากถูกทำร้ายจนบาดเจ็บตายล้มตายระหว่างการปล้นตามร้านค้าต่าง ๆ และการจลาจลในนครลอสแอนเจลิสเริ่มเลวร้ายลง ชาวเกาหลีรู้แล้วว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบางอย่าง สถานีวิทยุเกาหลีในนครลอสแอนเจลิสเริ่มเรียกร้องให้อาสาสมัครชาวเกาหลีออกมาช่วยเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี ซึ่งไม่นานก็นำไปสู่กลุ่มอาสาสมัครที่บรรทุกทุกอย่างตั้งแต่อาวุธทำเองไปจนถึงปืนเล็กยาวจู่โจม ในช่วงเริ่มต้นของการจลาจล กรมตำรวจลอสแอนเจลิสได้รับคำร้องเรียนจากเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี โดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือใด ๆ และตำรวจส่วนใหญ่ล่าถอยออกจากทุกเรื่องเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ และเมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้น ต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เจ้าของธุรกิจชาวเกาหลีที่ถูกปิดล้อมจะได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายทุกรูปแบบ พวกเขาจึงเริ่มมาตรการปกป้องตนเอง ดังนั้นเรื่องของ The Roof Koreans จึงถือกำเนิดขึ้น
1
หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของหลังคาของชาวเกาหลีอยู่ที่ย่าน Korea Town ตลาดแคลิฟอร์เนียในนครลอสแอนเจลิส นักธุรกิจเจ้าของร้าน เสริมความแข็งแกร่งให้อาคารร้านค้าของเขา ด้วยการติดอาวุธปืนให้พนักงานครบทั้ง 20 คนผูกผ้าคาดหัวแบบเกาหลี ภาพลักษณ์นี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของ The Roof Koreans
Chang Lee ชาวเกาหลี-อเมริกัน กำปืนและตะโกนใส่ผู้ลักขโมยข้าวของจากดาดฟ้าของห้างสรรพสินค้าเล็ก ๆ ที่เขายืนอยู่ ชายวัย 35 ปีคนนี้ไม่เคยถือปืนมาก่อนการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส Lee ได้กลิ่นไฟที่ลุกโชนในย่าน Korea Town ของนครลอสแอนเจลิส "ตำรวจอยู่ที่ไหน ตำรวจอยู่ที่ไหน" Lee กระซิบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากหลังคาร้านของเขา Lee จะไม่เห็นการบังคับใช้กฎหมายเป็นเวลาสามวัน มีเพียงเพื่อนชาวเกาหลี-อเมริกันเท่านั้นที่ถูกสำนักข่าวถ่ายภาพไว้ ซึ่งดูเหมือนทหารที่ติดอาวุธดูราวกับเป็นสงครามกองโจรบนท้องถนน วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535 เมืองแห่งทูตสวรรค์ได้ถูกโหมกระหน่ำด้วยการปล้นสะดม เป็นวันที่สองของการโจมตีด้วยอาวุธและการลอบวางเพลิง ภายหลังการพ้นผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจของกรมตรวจนครลอสแอนเจลิสผิวขาวสี่นาย เนื่องจากใช้ความรุนแรงด้วยการทุบตี Rodney King ระหว่างการจับกุม
2
เพื่อนบ้านของ Chang Lee ออกมาช่วยเขาทำความสะอาดหลังจากที่ปั๊มน้ำมันของเขาถูกไฟไหม้
การจลาจลที่กินเวลานานเกือบสัปดาห์และคร่าชีวิตผู้คนไป 63 คน บาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน และสร้างความเสียหายประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเป็นเจ้าของ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่คุกรุ่นมายาวนานระหว่างเจ้าของธุรกิจชาวอเมริกัน-เกาหลีผู้อพยพและลูกค้าชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่มีอำนาจเหนือกว่า คำตัดสินของ Rodney King และการจลาจลที่ตามมามักถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการบังคับใช้กฎหมายและชุมชนชาวแอฟริกัน-อเมริกัน Edward Taehan Chang ศาสตราจารย์ด้านชาติพันธุ์ศึกษา และผู้ก่อตั้ง Young Oak Kim Center for Korean American Studies แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ กล่าวว่า งานดังกล่าวยังเป็นงานสมัยใหม่ที่สำคัญที่สุดเพียงงานเดียวสำหรับชาวเกาหลี-อเมริกัน “แม้ว่าพ่อค้าชาวเกาหลี-อเมริกันจะตกเป็นเหยื่อ แต่ไม่มีใครได้รับการดูแล เพราะขาดทั้งการมองเห็นและอำนาจทางการเมืองของเรา” Chang กล่าว “ผู้อพยพชาวเกาหลีจำนวนมากที่มาถึงในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 80 ได้เรียนรู้ความสำเร็จทางเศรษฐกิจเพียงลำพัง แต่จะไม่รับประกันตำแหน่งของพวกเขาในสังคมอเมริกัน เมื่ออะไรเริ่มเปลี่ยนไป อัตตลักษณ์ของเกาหลี-อเมริกันจึงถือกำเนิดขึ้น” และ “การจลาจลแอลเอคราวนั้น กลายเป็นเสียงปลุกอย่างโหด ๆ ให้ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีตื่นจากการหลับใหลและตื่นตัวขึ้นจากการนิ่งเฉยรอ
Richard Rhee เจ้าของร้านถือปืนพกและพกโทรศัพท์มือถือ ยืนเฝ้าระวังบนหลังคาร้านขายของชำของเขาในย่าน Korea Town ของนครลอสแองเจลิสเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
การจลาจลทำให้ย่าน Korea Town ตกเป็นเป้าของถูกทั้งเหล่าพวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อการจลาจลในนครลอสแองเจลิสเล็งเอาไว้อย่างเจาะจง ด้วยหวังจะเข้าปล้นชิงฉกฉวยหาประโยชน์ระหว่างที่เกิดความวุ่นวายโกลาหล ในสภาพที่เวลานั้นทั้งกรมตำรวจนครลอสแองเจลิส (Los Angeles Police Department : LAPD) และทหารกองกำลังพิทักษ์ชาติต่างปฏิบัติภาระหน้าที่กันจนสุดกำลังอยู่แล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ต้องหาทางป้องกันพวกเขากันเอง พวกเขาจึงใช้สิทธิของพวกเขาตามที่ระบุเอาไว้ในบทแก้ไขที่ 2 (Second Amendment) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ด้วยการจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัคร (Militia) ขึ้นมา โดยจัดวางกำลังคนติดอาวุธเข้ายึดที่มั่นเพื่อการป้องกันตัวตามยอดตึกดาดฟ้าหลังคาอาคาร ตลอดจนบริเวณรอบ ๆ อาคารห้างร้านอันเป็นที่ตั้งธุรกิจทั้งหลายของพวกเขา และได้สมญานามว่า “Roof Koreans” (ชาวเกาหลีบนดาดฟ้า/หลังคา/ยอดตึก)
ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลียืนหยัดรักษาที่มั่น ณ ลานดาดฟ้าบนตึกของพวกเขาเอาไว้ และเริ่มต้นยิงตอบโต้กลับไปในทันทีที่พวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อจลาจลเริ่มบุกเข้ามาปล้นชิงข้าวของ
พลเมืองในพื้นที่ 150 ช่วงตึกของ Korea Town แม้จะถูกปล่อยทิ้งโดยกรมตำรวจนครลอสแองเจลิส (Los Angeles Police Department : LAPD) และทหารกองกำลังพิทักษ์ชาติ ซึ่งพวกเขาได้รับแจ้งให้ขนข้าวของต่าง ๆ และอพยพออกจากพื้นที่ไปเสีย และผู้อพยพจำนวนมากซึ่งหลบหนีจากไปภายหลังก็พบว่า ธุรกิจของพวกเขาถูกเผาจบราบเรียบไปเสียแล้ว แต่ยังมีชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีอื่น ๆ ที่ปฏิเสธไม่ยอมตกเป็นเหยื่อรับเคราะห์ และตัดสินใจที่จะอยู่จับอาวุธขึ้นมาปกป้องทรัพย์สินของพวกเขา และ “ปกป้องและรับใช้” กันและกันภายในชุมชนของพวกเขา ถึงแม้มีจำนวนน้อยกว่าพวกก่อจลาจลที่ติดอาวุธ ซึ่งพยายามเข้าปล้นชิงข้าวของจากธุรกิจต่าง ๆ ของ Korea Town แต่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้ก็ยังคงยืนหยัดรักษาที่มั่น และลานดาดฟ้าบนตึกของพวกเขาเอาไว้ และเริ่มต้นยิงตอบโต้กลับไป ในทันทีที่พวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อจลาจลเริ่มบุกเข้ามาปล้นชิงข้าวของสมาชิกของ Roof Koreans ก็เริ่มต้นยิงปืนใส่ทันที
1
ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลียืนหยัดรักษาที่มั่นบนตึกของพวกเขาเอาไว้ จนกลายเป็นตำนาน Roof Koreans
ชายอเมริกันเชื้อสายเกาหลีสมาชิกของ Korea Town เหล่านี้จำนวนมากทีเดียวเคยเป็นทหารผ่านศึกที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ หรือไม่ก็เป็นอดีตทหารเกณฑ์ในกองทัพเกาหลีใต้ ทั้งนี้เกาหลีใต้กำหนดให้ชายทุกคนต้องรับราชการเป็นทหารเป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีด้วย ด้วยสภาวะขาดแคลนกำลังคน อาวุธปืนที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้มีอยู่ในครอบครองมีทั้งพวกปืนเล็กยาวในรูปลักษณ์แบบปืนเล็กยาวแบบ AK-pattern, ปืนพก Glock 17, ปืนเล็กยาว Ruger Mini-14, ปืนเล็กสั้นแบบ SKS carbines, ปืนเล็กยาว AR-15, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ TEC-9, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติแบบปืนกลมือ Uzi-pattern, ปืนลูกซอง Remington 870, ปืนเล็กยาวแบบ Bolt-action, ปืนพกนานาชนิด, และปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ Daewoo K-1 ซึ่งเป็นอาวุธปืนประจำกายของทหารเกาหลีใต้ในสมัยนั้น
Charles Whitman มือปืนชาวอเมริกันที่เป็นฆาตกรสังหารหมู่ 18 ศพ (รวมทั้งตัว Whitman เอง) ซึ่งได้รับฉายาอันไม่น่าอภิรมย์ว่า “นักฆ่าแห่งตึกสูงของเท็กซัส” (Texas Tower Sniper)
ถึงแม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พวกชาวบ้านซึ่งเป็นอเมริกันเชื้อสายเกาหลีของ Korea Town ถูกทอดทิ้ง โดยตำรวจของกรมตำรวจนครลอสแองเจลิสที่ทำตัวเหนียมราวกับลูกแกะเชื่อง ๆ แต่สื่อมวลชนกลับเสนอข่าวเกี่ยวกับกองกำลัง Roof Koreans ในเชิงวิพากษ์โจมตี โดยการกระทำของพวกเขาถูกระบุว่าเป็น “การก่อกวนความสงบเรียบร้อย” รวมทั้ง Roof Koreans ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Charles Whitman มือปืนชาวอเมริกันที่เป็นฆาตกรสังหารหมู่ซึ่งได้รับฉายาอันไม่น่าอภิรมย์ว่า “นักฆ่าแห่งตึกสูงของเท็กซัส” (Texas Tower Sniper) แต่ที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ก็คือ เมื่อในที่สุดกำลังตำรวจของ กรมตำรวจนครลอสแองเจลิสกลับเข้ามาหลังจากเรื่องราวต่าง ๆ สงบเงียบเรียบร้อยลงแล้ว ตำรวจได้จับกุมคุมขังสมาชิก Roof Koreans เอาไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยึดอาวุธปืนต่าง ๆ ของพวกเขาไปด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากยังคงยกย่องชมเชยสมาชิก Roof Koreans ในเรื่องความกล้าหาญและความยืดหยุ่นในระหว่างที่เกิดการจลาจลโกลาหลอลหม่านครั้งนั้น และภาพของกลุ่มชายถืออาวุธบนดาดฟ้ายอดอาคารห้างร้านต่าง ๆ ก็กลายเป็นภาพหนึ่งที่ได้รับการเชิดชูให้เป็น ICON อย่างถาวรของการจลาจลในนครลอสแองเจลิส ปี พ.ศ. 2535 และ Roof Koreans ยังคงเป็นที่รู้จักจดจำในคนรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งถูกนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกมากมาย
3
Roof Koreans ยังคงเป็นที่รู้จักจดจำในคนรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งถูกนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกมากมาย
ดร.โญธิน มานะบุญ
ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ อาจารย์พิเศษหลักสูตรปริญญาโทและเอก นักเล่าเรื่องมากมายในหลากหลายมิติ เป็นผู้ที่ชื่นชมสนใจในประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ชอบค้นหาความจริงในเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ หมั่นเสาะหาที่มาของรากอันเป็นทางแห่งประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติ
โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes
คลิก👉https://lin.ee/vfTXud9
โฆษณา