26 มิ.ย. 2021 เวลา 00:00 • สุขภาพ
ทำไมการประกาศล็อกดาวน์จึงยากเย็นนัก ต้นเหตุเกิดจากการรับทราบข้อมูล และสัมผัสความรู้สึกที่ไม่สมมาตร (Symmetry) หรือไม่สมดุลกัน
6
ทุกประเทศทั่วโลก ที่ประสบกับการระบาดของ
โควิด-19 ล้วนแต่เผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างหลากหลายกันออกไปทั้งสิ้น
3
อันเนื่องมาจากความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สายพันธ์ุของไวรัส วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ตลอดจนคุณภาพของพลเมือง และคุณภาพของระบบสุขภาพ
1
แต่ที่เหมือนกันทั่วโลกก็คือ ความกังวล หรือการลังเลที่จะออกนโยบายหรือมาตรการที่เข้มข้น ในการรับมือกับโรคโควิด เช่น การ Lockdown การประกาศ Curfew เป็นต้น
1
เพราะมาตรการที่เข้มข้นและรับมือได้ดี หรือเน้นมิติสาธารณสุขนั้น มักจะเกิดผลกระทบกับมิติทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ
1
เมื่อต้นปีที่แล้ว ( พ.ศ.2563) ตอนที่โควิดเริ่มเกิดระบาดเป็นครั้งแรก มีการแบ่งวิธีการรับมือโควิด ออกเป็นสามแนวทางด้วยกัน ได้แก่
1
1) แนวทางไม่ทำอะไรปล่อยไปตามธรรมชาติ (Unmitigation) คือปล่อยให้โรคระบาดไปตามธรรมชาติ คอยประคับประคองไม่ให้มีคนเสียชีวิตมากนัก แล้วรอให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ตามธรรมชาติ โรคระบาดก็จะสงบไปเอง คือการเน้นมิติทางเศรษฐกิจเต็มตัว
6
ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ และบางประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เลือกที่จะใช้วิธีการนี้ แต่สุดท้ายก็รับกับผลลบของมิติสาธารณสุขไม่ไหว คือความสูญเสียของชีวิตผู้คนมากมาย ต้องยุติแนวทางดังกล่าวไป
6
2) แนวทางชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อ (Mitigation) เป็นแนวทางประคับประคอง ใช้มาตรการผ่อนหนักผ่อนเบา เพื่อให้มิติทางเศรษฐกิจพออยู่รอดได้ แต่จะกระทบมิติทางสาธารณสุขอยู่พอสมควร
3
โดยหวังว่า จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนไม่รวดเร็วเหมือนวิธีที่หนึ่ง ทำให้ระบบสาธารณสุขรับมือไหว อาจจำเป็นต้องอดทนรอ 1-2 ปี แล้วโรคก็จะสงบลงเอง ยกเว้นว่า จะมีวัคซีนที่มีประสิทธิผลสูงเกิดขึ้นมาจัดการโรคระบาดได้ทัน
2
พบว่าวิธีนี้ มีหลายประเทศทั่วโลกนำไปใช้ ได้ผลไม่ค่อยดีนัก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากพอสมควร
3
3) การปิดเมืองปิดประเทศ (Suppression) คือการควบคุมไวรัสที่อยู่ในตัวมนุษย์เรา ไม่ให้เคลื่อนย้ายและแพร่ระบาดออกไป โดยการปิดเป็นพื้นที่ ที่เรียกว่าล็อกดาวน์ (Lockdown) อาจจะเป็นในระดับตำบล เมือง เขตภูมิภาค หรือทั้งประเทศก็ได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
2
เพราะเมื่อคนเคลื่อนย้ายไม่ได้ ไวรัสก็จะเคลื่อนย้ายแพร่ระบาดไปไหนไม่ได้ด้วยเช่นกัน สุดท้ายก็จะหมดไปจากพื้นที่นั้น
2
เพราะไวรัสจะอยู่ได้เฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ถ้าคนชนะ ไวรัสก็จะหมดไป แล้วหายจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ถ้าคนแพ้ คนนั้นก็จะเสียชีวิต แต่ไวรัสก็จะสลายไปด้วยเช่นกัน สุดท้ายก็จะไม่มีไวรัสเหลืออยู่
5
วิธีนี้ได้ผลในการหยุดการระบาดของโรคได้ดีที่สุด แต่ทำได้ยากที่สุดเช่นกัน
2
เพราะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในระยะสั้นและระยะกลางมากที่สุด แต่จะได้ผลในระยะยาวได้ดีที่สุดเช่นกัน
1
ประเทศจีนได้ตัดสินใจใช้วิธีนี้ตั้งแต่เริ่มต้นของการระบาด เมื่อผ่านมาหนึ่งปีเศษ ขณะนี้จีนอยู่ในอันดับที่ 100 มีผู้ติดเชื้อเพียง 91,693 คน เสียชีวิต 4,636 คน จากฐานจำนวนประชากรที่มีมากถึง 1,439 ล้านคน
5
นับเป็นผลสัมฤทธิ์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับแนวทางที่สาม
3
แต่การจะใช้แนวทางที่สามหรือล็อกดาวน์ให้ได้ผลสำเร็จนั้น จำเป็นจะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยแห่งความสำเร็จหลายประการดังนี้
6
1) รัฐบาลต้องมีความพร้อม มีความมุ่งมั่น และความเข้มแข็ง ที่จะตัดสินใจใช้วิธีการดังกล่าว อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสม เพราะมีผล
กระทบกับมิติทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก
7
2) ประชาชนจะต้องมีวินัย มีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ของโรคระบาด เข้าใจธรรมชาติของไวรัส ตลอดจนวิธีการที่จะควบคุมโรค โดยผ่านผลกระทบทางลบในระยะสั้นและระยะกลาง
8
3) เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงาน ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนมีทักษะและความสามารถในการดำเนินการ การสื่อสารให้ประชาชนในเขตพื้นที่ที่ล็อกดาวน์ ได้ร่วมแรงร่วมใจ อดทน ยอมลำบากในระยะแรก เพื่อความสุขในระยะยาว
7
เข้าได้กับลักษณะที่ว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
3
4) การเมืองจะต้องนิ่งพอ มักใช้ได้ดีในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่บางประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่การเมืองรวมเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแยกเป็นฝ่ายรัฐบาลฝ่ายค้านในช่วงวิกฤติโรคระบาด ก็สามารถทำได้ดีเช่นกัน
18
จึงพบว่า ทั่วโลกมีน้อยประเทศ ที่จะสามารถใช้แนวทางที่สาม ได้ในห้วงเวลาที่เหมาะสมคือ รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
1
เพราะวิธีนี้ เมื่อตัดสินใจจะทำแล้ว แต่เริ่มช้าเกินไป ผลที่ได้ออกมา จะไม่ดีเท่ากับตอนเริ่มต้นเร็ว
หลายประเทศแม้เริ่มได้เร็วเหมาะสมทันเวลา แต่ก็ใจไม่แข็งพอ ผ่อนคลายยกเลิกมาตรการต่างๆเร็วเกินไปก็มี
1
เกิดการล็อกดาวน์มากถึง 3-5 รอบ
2
รัฐบาลทุกประเทศล้วนประสบปัญหาเดียวกันคือ มักตัดสินใจออกมาตรการเข้มช้าไปเสมอ
เพราะมาตรการเข้ม จัดเป็นยาขมที่รสชาติไม่อร่อย หรือเป็นการผ่าตัดที่มีความเจ็บปวดในการรักษาโรค
2
ผู้คนส่วนใหญ่ จะไม่มีความสุขกับการทานยาขม หรือรับการผ่าตัด ถ้าเลือกได้ จึงขอผลัดวันประกันพรุ่งไปใช้วิธีอื่นก่อนเสมอ และหวังว่าจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยไม่ต้องทานยาขมหรือรับการผ่าตัด
6
ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไป เห็นว่าสถานการณ์ไม่ดีแล้ว ก็จะยอมรับว่า จะต้องใช้มาตรการเข้มซึ่งเป็นยาขมนั้น
2
ก็มักจะรอให้อาการหนักหนาเสียก่อน จึงจะยอมใช้มาตรการเข้ม หรือยาขมดังกล่าว
ตรงนี้คือปัญหาใหญ่ เพราะจะทำให้มีการปรับการประเมินอยู่ตลอดเวลาว่า ยังพอรับมือไหว เช่น
ในตอนเริ่มต้น อาจกำหนดว่า ถ้าติดเชื้อเกินวันละ 1000 คน อาจจะต้องออกมาตรการเข้ม
แต่พอติดเชื้อวันละ 1200 คน ก็คิดว่าใกล้เคียงกับ 1000 คน และตัวเลขยังไม่นิ่ง ขอรอดูก่อน พยายามใช้มาตรการอื่นๆ ก่อน
1
เมื่อติดเชื้อเพิ่มเป็นวันละ 1500 คน ก็พยายามสู้ต่อ จนขยับเพิ่มเป็น 2000 , 3000 และ 4000 คน โดยไม่รู้ตัว ก็ยังไม่ได้ออกมาตรการเข้ม คือ การล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิว
9
โดยในระหว่างที่ชะลอการออกมาตรการเข้มข้นดังกล่าว ก็จะมีการระดมสรรพกำลังออกมาตรการเชิงรับต่างๆ เพื่อชลอการตัดสินใจออกมาตรการเข้มข้น เช่น
3
เพิ่มจำนวนเตียงในรพ.สนาม
เพิ่มจำนวนห้องผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาลหลัก
เพิ่มจำนวนเตียงไอซียู
เพิ่มเครื่องช่วยหายใจ
การขอร้องให้เจ้าหน้าที่ทำงานล่วงเวลา ไม่มีวันหยุดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
การจัดหายาอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ต่างๆเสริมเข้ามา
การเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด
8
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อชะลอการออกมาตรการเข้มข้น ซึ่งเป็นยาขมดังกล่าวนั่นเอง
ทำไมการออกมาตรการเข้มข้น ซึ่งเป็นยาขม จึงมักจะล่าช้ากว่าจังหวะที่เหมาะสมในทุกประเทศทั่วโลก
เหตุเกิดจาก การรับข้อมูล หรือการสัมผัสความรู้สึก ที่เกิดในมิติสาธารณสุข น้อยกว่าความเป็นจริงเสมอ
10
คนทั่วไป แม้กระทั่งผู้บริหารประเทศ มักจะคิดว่า ตนเองเข้าใจ รับรู้ข้อมูล และสัมผัสความรู้สึกที่ทุกข์ยากและเจ็บปวดดี
4
แต่แท้ที่จริง เป็นการเข้าใจและรับรู้ ที่ไม่ครบถ้วน แม้สัมผัสความรู้สึกได้ แต่ไม่ถึงขั้นความรู้สึกที่เจ็บปวดจริง
9
เช่น อาจจะรับรู้ว่า บุคลากรทางสาธารณสุขเหนื่อยยากมาก ลำบากมาก แต่ก็ไม่เท่ากับความลำบากจริง จนกว่าจะได้ลงมาสัมผัสการทำงานอยู่ในโรงพยาบาลต่อเนื่องกันทุกวันเป็นเวลาสามเดือนจริงๆ
2
ทำนองเดียวกับ การเข้าใจว่า มีดบาดนั้นเจ็บขนาดไหน แต่ความเจ็บนั้นจะไม่เท่ากับถูกมีดบาดด้วยตนเองจริงๆ
4
หรือเข้าใจว่า ครอบครัวที่มีสมาชิกเสียชีวิตจากโควิด จะเศร้าเสียใจขนาดไหน และจะมีความยากลำบากมากเพียงใด ถ้าเป็นผู้ที่หารายได้ให้กับครอบครัว
3
แต่ก็จะไม่เท่ากับ เมื่อประสบเหตุกับครอบครัวของเราเอง
3
ในขณะที่การรับรู้ข้อมูล หรือการสัมผัสความรู้สึกทางลบต่อมิติเศรษฐกิจ กลับเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า รับรู้ได้รวดเร็วกว่าเสมอ
2
จึงเกิดความไม่สมดุล หรือไม่สมมาตร ของการรับรู้ข้อมูล และการสัมผัสความรู้สึก ระหว่างมิติทางด้านสาธารณสุข กับมิติทางด้านเศรษฐกิจ
3
การตัดสินใจ ออกมาตรการเข้มข้นที่ไปกระทบมิติทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยมิติทางสาธารณสุข จึงเป็นไปอย่างยากเย็น และมักจะออกมาช้าเสมอ
ต้องรอจนหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจริงๆเท่านั้น
1
และเมื่อมีการออกมาตรการเข้มข้น ซึ่งได้ผลดีกับมิติทางสาธารณสุข แต่กระทบกับมิติทางเศรษฐกิจ
2
ก็จะพบหลายประเทศ ที่ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องผ่อนคลายมาตรการเข้มต่างๆเหล่านั้น เร็วเกินไป
2
จนกระทั่งเกิดการระบาดระลอกใหม่ ในหลายประเทศทั่วโลก
จึงมีการล็อกดาวน์ที่มักจะช้าเกินไป
2
ยกเลิกมาตรการเข้มหรือล็อกดาวน์เร็วเกินไป แล้วต้องกลับมาล็อกดาวน์ใหม่ ปิด-เปิดหลายรอบ
ลักษณะทำนองนี้เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆหลายประเทศทั่วโลกด้วยกัน
1
ถ้าเรายังไม่เข้าใจเรื่องความสมมาตร หรือความสมดุลระหว่าง
การรับทราบข้อมูล และการสัมผัสความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในมิติสาธารณสุข ที่จะเกิดน้อยกว่าความจริง
และจะไปรับรู้ และรับทราบมิติทางเศรษฐกิจมากกว่าอยู่เสมอ
เมื่อการรับรู้ข้อมูลและความรู้สึก ที่จะเกิดผลลบทางด้านสาธารณสุข มีน้อยกว่าทางด้านเศรษฐกิจ
1
ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก ว่ามาตรการต่างๆที่ออกมากระทบเศรษฐกิจ จะออกยาก และมักฝากความหวัง ให้มิติทางสาธารณสุขอดทน รับมือกับสถานการณ์ไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยมิติทางเศรษฐกิจเอาไว้ก่อน
1
เพราะเข้าใจว่า มิติทางเศรษฐกิจหนักหนากว่ามิติทางสาธารณสุข
5
ประเทศต่างๆ จึงจำเป็นต้องรู้เท่าทัน ต่อข้อจำกัดหรือความจริงดังกล่าวข้างต้น
อาจทำการ เพิ่มการรับรู้ และสัมผัสความรู้สึกทางสาธารณสุขเพิ่มเติม
เพื่อให้เกิดสมดุล กับการรับรู้และสัมผัสความรู้สึกทางเศรษฐกิจได้
เช่น ไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยล้น แต่ต้องต่อเนื่องนานพอเป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้เห็นวงรอบการทำงานจริงๆ
2
ไปพูดคุยกับครอบครัวผู้สูญเสียจากการติดโรคโควิด
ไปพบกับความทุกข์ ของการหาเตียงไม่ได้ และเสียชีวิตไปโดยไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
8
เพราะมิติทางด้านเศรษฐกิจ รับรู้ และสัมผัสเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องไปดูงานแต่อย่างใด
โฆษณา