26 มิ.ย. 2021 เวลา 06:53 • สุขภาพ
ถอดบทเรียน COVID 19 อินเดีย!!! จากการปิดเมืองกระจายครั้งใหญ่ในอินเดียสู่การปิดแคมป์คนงานในกรุงเทพ
ในวันศุกร์ที่ผ่านมาทางผู้มีอำนาจได้ประกาศปิดแคมป์คนงานต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และอีก 4 จังหวัดในภาคใต้เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อระงับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสมรณะ COVID 19 จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีความคล้ายกับเหตุการณ์ในประเทศอินเดียเมื่อปี 2020 ครับ ดังนั้นเรามาลองดูกันครับว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในประเทศอินเดีย
การอพยพครั้งใหญ่ในอินเดีย
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2020 ทางประเทศอินเดียได้ประกาศการ lock down และห้ามการเดินทางต่างๆ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ COVID 19 ครับ คนทำงานกว่า 100 ล้านคนในมหานครใหญ่ๆ เช่น มุมไบ หรือ เดลี เริ่มที่จะหาทางกลับบ้านเกิดครับ เพราะผลจากการ lock down และการห้ามเดินทาง หมายความว่าพวกเขาจะไม่มีงาน และไม่มีเงินในท้ายที่สุด ทั้งนี้สิ่งที่พวกเขาพอจะทำได้คือกลับไปที่บ้านเกิดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายดีกว่าถูกขังอยู่ในเมืองใหญ่ที่ค่าครองชีพสูงครับ
1
ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นคือการออกคำสั่ง Lock-down และห้ามการเดินทางมีผลบังคับใช้ใน 4 ชั่วโมงหลังจากนั้น ดังนั้นเหล่าคนงานที่ต้องการลบลี้ออกจากเมืองต่างๆ มีเวลาไม่มากที่จะใช้ระบบขนส่งสาธารณะครับ หลายๆ คนต้องไปค้างอยู่ที่สถาณีรถไฟ และอีกหลายคนเลือกที่จะเดินเท้ากลับบ้านเนื่องจากไม่มีทางเลือกมากนักครับ ในภายหลังภาครัฐก็เริ่มมีจัดสรรรถเพื่อขนส่งคนกลับรัฐบ้านเกิด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนจำนวนมาก็ต้องเข้าไปใช้บริการอย่างแออัดครับ การรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) แทบเป็นไปไม่ได้ในขณะนั้นครับ
1
ผลของการอพยพครั้งใหญ่
ปัญหาสำคัญของคำสั่ง lock down นั้นคือคนจำนวนมากต้องทยอยเดินทางข้ามจังหวัดด้วยรถจักรยาน หรือเดินเท้าครับ ทำให้ระหว่างการกลับบ้าน มีผู้เคราะห์ร้ายหลายคนต้องสังเวยชีวิตให้กับอุบัติเหตุบนท้องถนน การเดินทางอย่างเหน็ดเหนื่อยจนเสียชีวิต หรือโดนรถไฟส่งสินค้าทับจนเสียชีวิตจากการเดินทางแนวรางรถไฟ
2
นอกจากปัญหาที่ระหว่างการเดินทางแล้ว แน่นอนว่าคนงานจำนวนมหาศาลที่เดินทางกลับบ้านตอนนั้นอาจจะนำเชื้อร้ายจากเมืองใหญ่กลับไปฝากญาติพี่น้องของตนด้วยครับ ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ COVID 19 เพิ่งระบาดใหม่ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพยังขาดแคลน ปัญหาที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือเมืองปลายทางเรานั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะตรวจเชื้อและบริหารจัดการผู้ติดเชื้อหรือไม่ครับ
1
อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลอินเดียยกเลิกการ lock down ในเดือนมิถุนายน เหล่าคนงานทั่วทั้งอินเดียก็เดินทางกลับเข้ามาทำงานอีกครั้งครับ โดยกว่า 77% ของคนงานที่อพยพออกมาในช่วงมีนาคมได้เตรียมความพร้อมเพื่อจะกลับเข้ามาทำงานพื่อเลี้ยงครอบครัวของตนให้เร็วที่สุดครับ
การอพยพรอบใหม่ของชาวอินเดีย
ปัจจุบันการระบาดของอินเดียก็ยังคงหนักหน่วงเหมือนเช่นเคย มีผู้ติดเชื้อต่อวันถึง 50,000 คน และมีผู้เสียชีวิตถึง 1,300 คนต่อวัน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการอพยพครั้งใหม่เกิดขึ้นครับ ชาวอินเดียได้เรียนรู้จากการ lock down ครั้งที่แล้ว ทำให้ครั้งนี้เมื่อมีโอกาสที่ทางภาครัฐจะ lock down ชาวอินเดียหลายคนจึงเลือกที่จะกลับบ้านเกิดของตนเองก่อนครับ
การอพยพครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนค่อยข้างมาก เพราะชาวอินเดียมีเวลาเตรียมตัวก่อนเป็นระยะเวลาพอสมควร เครื่องมือในการป้องกันตนเองก็มีมากขึ้น อีกทั้งการกระจายกันกลับภูมิลำเนาช่วยให้สามารถรักษาระยะห่างาทางสังคมได้มากขึ้นครับ นอกจากนี้ทางการก็ยังมีการประสานงานกับทางนายจ้างให้บริหารจัดการการกลับบ้านของคนงาน ดังนั้นเหตุการณ์แออัดจนเสียชีวิต หรือ เดินทางกว่า 1,000 กิโลเมตรด้วยเท้าเปล่าคงมีน้อยลงครับ
2
ตัดกลับมาที่ประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยมีการประกาศปิดแคมป์คนงานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน แต่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 มิถุนายน ดังนั้นเป็นที่คาดการณืได้แน่นอนว่าจะต้องมีคนงานบางส่วนเลือกที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาครับ สาเหตุสำคัญก็จะเหมือนกับที่ชาวอินเดียได้ให้ไว้ คือเมื่อไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน หรือหากภาครัฐช่วยก็ได้เงินน้อยลง ดังนั้นแทนที่จะต้องถูกกักตัวอยู่ในบ้านสังกะสีร้อนๆ เป็นเวลา 1 เดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น สู้กลับภูมิลำเนาจะดีกว่าครับ
3
ทั้งนี้ของประเทศไทยอาจไม่มีการปิดการคมนาคมใดๆ ดังนั้นเรื่องการจราจรแออัดหรือเดินกลับบ้านคงจะไม่มี แต่ปัญหาที่ตามมาที่ต้องขบคิดคือจะจัดการการอพยพแรงงานกลับถิ่นฐานอย่างไรให้ปลอดภัยจังหวัดปลายทาง และเมื่อเขากลับมาจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเขาปลอดเชื้อแล้ว นอกจากนี้คนที่เลือกจะอยู่ที่แคมป์คนงานจะต้องมีแผนการดูแลพวกเขาอย่างไร จนถึงบริษัทที่ขาดกำลังพลจนต้องหยุดงานถึง 1 เดือน และผลกระทบลูกโซ่ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการส่งมอบงานไม่ทันจะเป็นอย่างไร เป็นปัญหาที่ต้องการคำตอบจริงๆ ครับ
โฆษณา