23 ก.ค. 2021 เวลา 04:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกิดอะไรขึ้นในสมอง ของคนที่ชอบซุบซิบนินทา
การนินทาคือการพูดถึงคนอื่น แต่ต่างจากการพูดถึงคนอื่นทั่ว ๆ ไป ตรงที่การนินทาจะเป็นการพูดถึงแต่แง่ลบ และมุ่งเน้นไปยังเรื่องส่วนตัว พฤติกรรม และรูปลักษณ์เสียมากกว่า
การนินทาเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และหลายต่อหลายครั้ง เราก็นินทาโดยที่เราไม่รู้ตัว
🔴 แรงจูงใจ
Jack Schafer ศาสตราจารย์จาก Western Illinois University อธิบายว่าแต่ละคนมีแรงจูงใจทางด้านจิตวิทยาในการนินทาที่แตกต่างกัน เช่น บางคนต้องการล้างแค้น ไม่ชอบขี้หน้าคนนี้ เลยพูดถึงแต่เรื่องไม่ดีอย่างเดียว หรือบางคนเจอเพื่อนที่มีคนไม่ชอบเหมือนกัน เลยนินทาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในสังคม
บางกรณีก็เกิดจากความรู้สึกของการมี Sense of Power เช่น กุมความลับของคนอื่นเอาไว้ เลยรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจเหนือคนนั้น ๆ และเป็นที่ต้องการของคนอื่น ๆ ในการเล่าเรื่องซุบซิบนินทานั้น
🔴 การทำงานในสมอง
ผลการศึกษาโดย Peng Xiaozhe และทีมงานพบว่า เมื่อเราได้ยินเรื่องซุบซิบนินทาคนอื่น สมองในส่วน Caudate Nucleus ซึ่งเป็นศูนย์กลางประมวลผลเรื่องรางวัล (Reward) จะทำงานมากกว่าปกติ
แสดงให้เห็นว่าการนินทาทำให้เรารู้สึกดีราวกับเพิ่งได้รับรางวัลหรือสิ่งดี ๆ มา แต่ถ้าเรานินทาบ่อย ๆ จากแค่รู้สึกดี ก็อาจจะกลายเป็นการเสพติดได้
นอกจากนี้ สมองยังทำงานในลักษณะเดียวกัน เมื่อเราได้ยินคนอื่นพูดถึงเราในแง่ดี แต่ถ้าเราได้ยินคนอื่นพูดถึงในแง่ลบ สมองในส่วนที่รับรู้ปัญหาจะตื่นตัวและทำงานแทน เกิดเป็นความวิตกกังวล
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมมนุษย์หลายคนถึงชอบนินทาคนอื่น แต่กลับไม่ชอบให้คนอื่นนินทาตัวเองนั่นเองครับ
▔▔▔▔▔▔▔▔▔▔▔▔▔▔▔
✒ #TheColumnist - ขอบคุณสำหรับการกดไลก์ กดติดตาม และเป็นกำลังใจให้พวกเราในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดใหม่ ๆ นะครับ
โฆษณา