4 ก.ค. 2021 เวลา 06:31 • สุขภาพ
วัคซีนสูตรผสม ประสิทธิภาพสูงสุด จากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเยอรมัน
* พอดแคสต์นี้ป้าพูดผิดและไม่ชัดเจนตรงนี้👇ขออภัยค่ะ
 
1) Dr. Edward Jenner เป็นคนอังกฤษค่ะ ไม่ใช่ฝรั่งเศส
2) วัคซีนตัวแรกของ Dr. Edward Jenner พัฒนาจากเชื้อโรคในวัวชื่อคาวพอกซ์(cowpox) ซึ่งนำมาจากผู้หญิงคนเลี้ยงวัวแล้วติดโรคคาวพอกซ์มาจากวัว(คนติดมีอาการน้อยไม่มาก) แล้วนำไปให้เด็กผู้ชาย แล้วพบว่าเด็กคนนี้มีภูมิต่อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ(ซึ่งตัวเชื้อของไข้ทรพิษชื่อ Variola virus ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กันกับเชื้อโรค cowpoxในวัว)
“”””
สืบเนื่องจากป้าลงบทความ(ชื่อเดียวกันกับพอดแคสต์นี้)ไว้เมื่อวาน ลิ้งค์ค่ะ👇
1. คณะกรรมการการฉีดวัคซีนแห่งชาติเยอรมัน (The German Standing Committee on Vaccination: STIKO) ต่อไปขอใช้ชื่อย่อว่า STIKO แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดสูตรนี้ค่ะ👇
🔺เข็มที่1'แอสตร้าเซนเนก้า' ตามด้วย
🔺เข็มที่2 ฉีดไฟเซอร์ โมเดอร์นา ซึ่งพบว่าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ “เหนือกว่าอย่างชัดเจน”
* คณะกรรมการวัคซีนเยอรมนี (STIKO) ปรับคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อสายพันธุ์เดลตา หรือสายพันธุ์ที่ถูกพบครั้งแรกในอินเดีย โดยได้แนะนำให้ประชาชนที่รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นโดสแรกแล้ว >> ฉีดวัคซีน mRNA เช่น ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา เป็นวัคซีนโดสที่ 2 ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และระยะห่างระหว่างการฉีดวัคซีนแบบผสมผสาน ทั้ง 2 โดสควรอยู่ที่อย่างน้อย 4 สัปดาห์
------
2. ป้าเคยลงบทความเกี่ยวกับการกลายพันธ์และวัคซีนไว้แล้วที่นี่
..จากที่มีข่าวการกลายพันธุ์ของไวรัสถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้คนเริ่มเกรงว่าวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันจะเอาไม่อยู่ ☘️ตรงนี้ ป้าขอสรุปจากการค้นคว้าอ่านมา และปรึกษาเพื่อนอาจารย์ทางด้านโรคติดเชื้อมาแล้วว่า..
✳️ต่อไปเราคงต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิ หรือฉีดกันใหม่อยู่ดี เพราะวัคซีนเดิมใช้ไม่ได้ผลกับไวรัสกลายพันธุ์
📌ซึ่ง ณ ตอนนั้นค่อยมาว่ากันอีกทีค่ะว่า จะเป็นวัคซีนตัวไหน
คล้ายกับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งต้องฉีดกันใหม่ทุกปีเพราะสายพันธ์ที่ระบาดจะเปลี่ยนไป
------
3. และจากข่าวที่นี่ องค์การอนามัยโลก ‘WHO’ ลิ้งค์ https://www.prachachat.net/world-news/news-699852
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนให้ประชาชนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดสแล้ว ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค(การสวมแมสก์ และเว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัด) เพราะโควิดสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์ที่ถูกค้นพบครั้งแรกที่อินเดีย กำลังแพร่ระบาดทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
- วัคซีนอย่างเดียวจะไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อได้โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้ สายพันธุ์นี้มีความอันตรายกว่า มีอัตราการแพร่ระบาดระหว่างบุคคลที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ โดยรายงานการทดลองจากอังกฤษระบุว่า อัตราการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้า รุนแรงกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า หรือสายพันธุ์ที่ถูกค้นพบครั้งแรกที่อังกฤษถึง 60%
--- - -
4. และจากไทยโพสต์ ข่าว"สายพันธุ์อินเดียบุกกทม. สัปดาห์เดียวเพิ่ม331ราย"
- สำหรับประเทศไทยนั้น จุดเริ่มต้นที่พบการระบาด ‘สายพันธุ์เดลต้า’ คือ แคมป์คนงานหลักสี่ เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ก่อนจะมีการขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ
- ล่าสุด นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สรุปภาพรวมการแพร่ระบาดระลอกสาม พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) 86.31% รองลงมาคือ สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) 12.3% พบใน 35 จังหวัด และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) 1.39% (ป้าไม่ได้เอายอดรวมคนไข้มานะคะ)
-------------------------------------------------------------------------------
5. สมาคมโรคติดเชื้อ แนะ รบ.สั่งวัคซีน mRNA-ไวรัลเว็คเตอร์ แทนซิโนแวค หวั่นสู้สายพันธุ์ใหม่ไม่ได้
*ป้าจึงเห็นว่า ควรเรียกร้องให้จัดหาวัคซีนที่ป้องกันสายพันธ์ที่จะเป็นปัญหาต่อการระบาดให้ทันเหตุการณ์จริง ๆ มาใช้ค่ะ
ลองฟังพอดป้าให้เข้าใจ ถ้าชอบรบกวนกดแชร์เผื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้อง จัดการให้ได้วัคซีนที่ทันเหตุทันการณ์สำหรับโควิด 19 กลายพันธ์กันค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ-ป้าพา
โฆษณา