9 ก.ค. 2021 เวลา 23:00 • สุขภาพ
ร่วมหาทางออกวิกฤตโควิด-19 กับ "ทิม พิธา"
2
📍วันนี้มีดราม่าชาวบ้านมานอนรอตรวจโควิดมากมาย
ถ้าคุณเป็นนายก คุณจะทำยังไง?
ตอบ...
1. Antigen rapid test คำเดียวเลย ตรวจแบบเชิงรุก
...คือตอนนี้ประเทศไทยตรวจแบบ PCR ซึ่งข้อดีคือมีความแม่นยำ ข้อด้อยคือต้องใช้ Lab และต้องใช้เวลากว่าจะรู้ผล ช่วงที่ยังไม่รู้ผล อาจนำไปสู่การแพร่เชื้อ กว่าจะได้รักษา อาการหนักขึ้น
1
ซึ่งปัจจุบันมีวิธีตรวจอีกมากมาย ยกตัวอย่างมดดำ ตรวจ antigen เกือบทุกวัน ถ้าผลออกมาเป็นบวก ซึ่งมีความน่าจะเป็น ก็จะได้เริ่มแยกตัวและเข้ารับการรักษาได้ทัน ก่อนที่จะอาการหนัก
3
2. ใช้งบประมาณที่มีตอนนี้ประมาณ หมื่นกว่าล้าน ในการทำ ICU สนาม เพื่อรักษาชีวิตคน อย่าให้หมอต้องตัดสินใจว่าจะเอาเครื่องช่วยหายใจให้ใครหรือไม่ให้ใคร
1
3. ปรับคณะรัฐมนตรี ต้องเอาคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสาธารณสุข มาดูแลสาธารณสุข เอาคนที่คล่องแคล่วในการต่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดหาวัคซีน ทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนวัคซีน เช่น เรามีแอสตร้าฯ อยากจะขอแลกกับไฟเซอร์ ถ้าแลก 1ต่อ1 ไม่ยอม ก็อาจจะเป็น 2ต่อ1 หรือ 3ต่อ1 ก็จะทำให้ได้วัคซีน mRNA ได้เร็วขึ้น เอามาฉีดให้หมอก่อน เพราะหมอเป็นด่านแรกและปราการสุดท้ายของเรา
7
📍จากสายตาของคุณ วัคซีนคือทางออกที่ดีที่สุด สถานการณ์วัคซีนในตอนนี้ คุณอยากจะสื่อสารอะไรกับประชาชน
ตอบ... วันนี้ถึงมีไฟเซอร์มากอง ก็อาจจะยังแก้ปัญหาไม่ได้เรื่องรักษาชีวิตคน เพราะวัคซีนต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์
กว่าที่ภูมิจะขึ้น เราต้องยอมรับว่าเราแพ้ราบคาบ ในทุกมิติ
ทั้งจำนวน คุณภาพ และการกระจาย ความกดดันจึงมาตกอยู่ที่ระบบสาธารณสุข หมอกำลังจะหมด เราจะเสริมบุคลากรยังไง
2
ผมคิดไปถึงบุคลากรที่เกษียณไปแล้ว อาจต้องให้กลับมาช่วย อย่าลืมว่า หมอ...พวกเค้าสู้มา 400 วันแล้ว เค้ากำลังจะหมดพลังอยู่แล้ว แล้วเครื่องมือให้เค้ายังไม่มีอีก
ยา Favipiravir ...กำลังจะหมด ก็เหมือนส่งคนไปรบ แต่เอาปืนฉีดน้ำให้เค้า
3
📍คนกำลังจะไม่มีกิน จะทำยังไงกันดี
ตอบ... เปลี่ยนคำว่าเยียวยาเป็นชดเชย ชดเชยก็ต้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชดเชยแบบบุคคล และชดเชยแบบธุรกิจ
เช่น ครึ่งนึงรัฐจะช่วยดูแลในการที่ไม่ไล่ลูกจ้างออก
แล้วนายจ้างออกอีกครึ่งนึง ก็พยุงกันไป แต่ตอนนี้ไม่มี
1
เศรษฐกิจคือความเชื่อมั่น ถ้าเชื่อมั่นเมื่อไหร่ เศรษฐกิจจะหมุนได้ทันที กระดุมเม็ดแรกที่ต้องแกะให้ออก คือ หนี้ครัวเรือน
ถ้าหนี้ค้ำคออยู่ เวลารัฐอัดฉีดอะไรไปคนไม่ใช้หรอก
หนี้ภาครัฐตอนนี้มี 57% ถ้าสามารถทำให้หนี้สินเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินได้ เอามาปฏิรูปหนี้ครัวเรือน แล้วเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชน ผมคิดว่ารัฐควรจะกู้ได้ แต่ถ้ากู้มาแล้วเอาไปทำเสาไฟกินรี หนี้สินก็ยังคงเป็นหนี้สินต่อไป
3
📍ถ้า Lockdown แล้วชาวบ้านแห่กลับต่างจังหวัดอีกล่ะ
ตอบ... ถ้าให้ผม LD แบบเข้มงวดแต่สั้นมาก แล้วเยียวยาทุกคน เจ็บแต่จบ! กับอีกแบบ ลากยาวไปเรื่อยๆ ครึ่งๆกลางๆ ไม่มีเยียวยา ประชาชนจะเลือกแบบไหน
1
ถ้าเป็นผม ผมเลือกเจ็บแต่จบ แล้วสั้น แล้วชดเชยในช่วงที่ผมทำ ถ้าลากยาวไปสามสี่อาทิตย์ ครึ่งๆกลางๆ คนที่ทำธุรกิจก็นึกไม่ออก เปิดๆปิดๆ เพราะเค้าต้องสต๊อกของ พอเปิดได้สองอาทิตย์ คุณปิดอีกละ
4
ถ้าขอเวลา 7 วัน ปูพรมด้วย antigen แยกปลาออกจากน้ำให้เร็วที่สุด มีแผนในการเยียวยา มีแผนในการเปิดเพื่อไม่ให้มาปิดอีกซ้ำ ไม่ใช่ลากยาวหน่วงต่อไปเรื่อยๆ เดือนนึงเสียหาย 250,000 ล้าน 4 เดือนก็ 1ล้านล้าน แล้ว GDP ก็จะไม่เหลืออะไรเลย
📍คุณจะทำยังไงกับปัญหาวัคซีนที่เราสั่งมาตอนนี้
ตอบ... ผมพูดมาตั้งแต่ ม.ค. แล้วเกี่ยวกับเรื่องกระจายความเสี่ยง วัคซีนแต่ละตัวก็มีข้อดีต่างกัน ประเทศไทยมีคนหลากหลาย เราควรที่จะมีวัคซีนเยอะพอที่จะสามารถใช้กับทุกคนได้
1
ตอนนี้ต้องทำให้ mRNA มาถึงไทยให้เร็วที่สุด โดยใช้การทูตทางวัคซีน เหมือนที่เกาหลีใต้แลกกับอิสราเอลสำเร็จมาแล้ว
1
แต่ในระยะยาวต้องทำให้วัคซีนมีความบาลานซ์ อย่าไปอยู่ที่เชื้อตายอย่างเดียว หรือ mRNA อย่างเดียว หรือ viral vector อย่างเดียว เพราะถ้าเรามีอาวุธเยอะ เราก็รู้ว่าจะใช้อันไหนกับใครให้มันเหมาะสม
1
แต่ถ้ามีอาวุธอยู่ 2 อย่าง แต่มีคนร้อยแปด และการกลายพันธุ์ของไวรัสมันมากกว่าชนิดวัคซีนที่เรามี ก็ไม่ไหว
📍แล้วการเปิดประเทศ คุณทิมคิดว่ายังไง
ตอบ... ต้องชั่งน้ำหนักประโยชน์ที่เราจะได้ กับความเสี่ยงที่เราจะได้รับ เช่น รายได้เข้ามา 500 ล้าน แต่ต้องเสียหาย 25,000 ล้าน ก็ต้องคิดดูดีๆ
1
แต่ถ้ายังไงก็ต้องเปิด ผมคิดว่ามันต้องมี circuit breaker คอยสับสวิตช์ ถ้าตัวเลขคนติดเชื้อ 14 วัน ถึงเท่านี้ๆ ต้องหยุด เพราะได้ไม่คุ้มเสียแน่นอน และถ้าเริ่มมีการกลายพันธุ์ แล้ววัคซีนที่เรามีอยู่สองชนิดตอนนี้มันได้ไม่คุ้มเสีย
2
ถ้าต้องเดินหน้าต่อก็เข้าใจ แต่ต้องเดินหน้าต่อแบบมี emergency switch ถ้าเป็นแบบนี้ก็คงพอไปได้
📍มีอะไรอยากพูดกับประชาชน
ตอบ... เข้าใจและเห็นอกเห็นใจ นี่ไม่ใช่เวลาที่เล่นการเมืองอย่างเดียว ต้องแก้ปัญหาด้วยข้อมูล ด้วยวิทยาศาสตร์ ด้วยการบริหารจัดการ ถึงจะหาทางออกได้ ดูอย่างอเมริกาที่เคยหนักกว่าเรามาก ผ่านมา 1 ปี ก็สามารถพลิกประเทศได้
1
ปัญหาที่มีอยู่หนักจริง แต่ถามว่าแก้ไขได้ไหม มันมีตัวอย่างให้เห็นเต็มไปหมด ว่าประเทศไหนที่สามารถรอดจากโควิดได้ และจะทำทุกวิถีทางด้วยความรู้ที่พวกเรามี เพื่อจะแก้ปัญหาให้ประชาชน เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ
1
ประวัติ ทิม พิธา
ชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2523 (อายุ 40 ปี)
การศึกษา
📚ประถมศึกษา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
📚มัธยมศึกษา ประเทศนิวซีแลนด์
📚ปริญญาตรี สาขาการเงิน (ภาคภาษาอังกฤษ) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
📚ปริญญาโท การเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ มหาวิทยาลัย Harvard
📚ปริญญาโท การบริหารธุรกิจ MIT Sloan of Management
7
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล
เป็นประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสภาผู้แทนราษฎรค่ะ
😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱😱
1
เพื่อนอิฉันกล่าวว่า...
อยากลองให้พิธา มาทดลองงานในช่วงที่ประยุทธ์จะ Leave without pay 3 เดือน ... ดูดี มีวิสัยทัศน์ เอาไปเมืองนอกเมืองนาก็คงไม่ต้องอายใครเค้า
2
จริงๆนายกฯก็ work without pay นั่นแหละค่ะ แต่ Leave ไปเลยก็ได้ นะจ๊ะ 🥳🥳🥳
5
Sources:
ฟังสัมภาษณ์ ตั้งแต่นาทีที่ 12.30 ค่ะ
โฆษณา