11 ก.ค. 2021 เวลา 00:09 • ท่องเที่ยว
🪴สุดสัปดาห์พาเที่ยว🪴
“ชมปลา🐟 ทุ่งนา ฟ้ากว้าง 🌤ตลาด วัด”
คลิปเดียวได้ครบหมดทุกอย่างค่ะ!
ตามพี่เขียนไปดูปลาตัวเล็กตัวโตว่ายไปมาน่าตื่นตาตื่นใจ 😮
🐠มาทำตัวเหมือนเด็กอนุบาลจูงมือเพื่อนไปเฝ้าหน้าตู้ปลาชี้ชวนกันถาม
“โน่น! ปลาอะไรอ่ะ เธอ…ตัวใย้..ใหญ่..” เสียงจ้อกแจ้กเจี๊ยวจ๊าวลอดเข้ามาได้บรรยากาศสดใสๆค่ะ
🌾คิดถึงทุ่งนา ใบข้าวสีเขียวอ่อนพลิ้ว
ฉิวผ่านหน้าต่างรถ ที่แล่นไปสู่สุพรรณบุรี
ดู”นาเฮียใช้” และบ้านไทยหลายแบบ
🪴เดินตลาดสามชุก ริมแม่น้ำท่าจีน เดินจนเกือบหมดแรง โชคดีเจอ “ปลาหมดแรง” เสียก่อน เราเลยมีแรงเดินต่อ😀😀😀
เที่ยวบึงฉวาก บึงน้ำกว้างใหญ่ ดูปลาใหญ่น้อยแหวกว่ายใน ตู้กระจกขนาดใหญ่ นึกถึงกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมปลา ที่เคยเรียนตอนอยู่ ม. 6 ไหมคะ?
(สมัยพี่เขียนเรียน มศ 5 ค่ะ เลยไม่ได้เรียนบทนี้ แต่น้องๆต้องเคยเรียนแน่ๆ…จำกันได้ไหม?😊)
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) สมัยอยุธยาโน้น แต่งกาพย์ห่อโคลงชมปลา คงจะมีแรงบันดาลใจ จากปลาที่ว่ายอยู่ในแม่น้ำคลาคล่ำแบบนี้จริงๆ นะคะ😀
โคลงสี่สุภาพ บทนี้ขึ้นว่า
“พิศพรรณปลาว่ายเคล้า       คลึงกัน
ถวิลสุดาดวงจันทร์                แจ่มหน้า 
 
มัตสยาย่อมพัวพัน                พิศวาส 
ควรฤพรากน้องช้า              ชวดเคล้าคลึงชม “
ตามด้วยกาพย์ยานี 14 บท ที่จำกันได้ดีก็คือบทนี้
“แก้มช้ำช้ำใครต้อง    อันแก้มน้องช้ำเพราะชม 
ปลาทุกทุกข์อกกรม    เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง”
 
ตามไปดูในคลิปนะคะ ว่า ปลาแก้มช้ำ ตัวจริงคือตัวไหนหน้าตาเป็นอย่างไร?
ส่วน “สามชุก” มีกล่าวถึงในนิราศสุพรรณ ซึ่งแต่งโดย สุนทรภู่ เมื่อปี พศ 2374 ในสมัยรัชกาลที่ 3
ท่านเขียนตอนที่เดินทางโดยเรือจากกรุงเทพ ขึ้นไปหาแร่ในป่าแถบภูเขาทางตะวันตกของสุพรรณบุรี เป็นนิราศเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่เขียนเป็นโคลง มีทั้งหมด462บท
บทที่ 217
“นึกนามสามชุกถ้า ป่าดง
เกรี่ยงไร่ได้ฟ่ายลง แลกล้ำ
เรือค้าท่านั้นคง คอยเกรี่ยง เรียงเอย
รายจอดทอดท่าน้ำ นับฝ้ายขายของ ฯ”
🌅สุดสัปดาห์🌅นี้ พี่เขียนพาไปเที่ยวเมืองไทย รักเมืองไทยกัน (นั่งสบายๆที่บ้าน จิบน้ำชากาแฟ ☕️แกล้มขนม🧁ชมคลิปวิดิโอ ประกอบเพลงเพราะๆ )
💕พรุ่งนี้พบกับ Monday Museum Ep.3 จะเฉลยคำถามจันทร์ที่แล้วค่ะ 💕
โฆษณา