14 ก.ค. 2021 เวลา 08:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
‘แคทาลิน คาริโค’ จากผู้ที่ถูกปฏิเสธหลายสิบครั้ง สู่ผู้พัฒนาวัคซีน mRNA ช่วยชาวโลก
ทั่วโลกประสบวิกฤติโรคระบาดครั่งใหญ่ในรอบหลายสิบปี จนถึงปัจจุบัน ความตึงเครียดส่งผลกระทบไปทั่วทุกหนแห่ง แม้จะมีวัคซีนวิจัยออกมาสำเร็จแล้วก็ตาม
1
สำหรับวัคซีน mRNA ได้รับการยืนยันว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันไวรัส Covid-19 สายพันธุ์เดลต้า ที่กำลังระบาดหนักไปทั่วโลก
แต่รู้ไหมว่า mRNA เกือบไม่ได้รับการพัฒนา เพราะไม่มีใครสนใจให้ทุนวิจัย
ทว่าทุกอย่างกลับแปรเปลี่ยนไป ด้วยความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ธรรมดาๆ อย่าง ‘แคทาลิน คาริโอ’ หรือ ‘ดอกเตอร์เคท’
ดอกเตอร์เคท มีเชื้อสายฮังกาเรียน เกิดที่ฮังการีเมื่อปี 1955 เธอเป็นลูกสาวของพ่อค้าขายเนื้อ
เคทเรียนจบปริญญาเอกจาก University of Szeged และเริ่มเป็นนักวิจัย นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ระหว่างนั้น เทคโนโลยี Messenger Ribonucleic Acid [mRNA] สารพันธุกรรมที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ผลิตโปรตีนตามรหัสคำสั่งที่ป้อนเข้าไป
เวลานั้น นับว่าเป็นสิ่งใหม่ในแวดวงวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศฮังการียังไม่มีทั้งเงินทุน และห้องทดลองที่ก้าวหน้าพอ
ปี 1985 ดอกเตอร์แคทและครอบครัว ตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อเมริกา
ช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลฮังการีมีข้อบังคับต่อประชาชน ห้ามถือเงินออกนอกประเทศเกิน 100 เหรียญสหรัฐ ดอกเตอร์แคทเลยแอบเอาเงินที่เพิ่งขายรถยนต์มา 1,200 เหรียญ ยัดไว้ในตุ้กตาของลูกสาว เพื่อใช้เป็นทุนในการเริ่มต้นชีวิตใหม่
พอย้ายมาอเมริกา ดอกเตอร์แคท เริ่มทำงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเทมเพิล ฟิลาเดเฟีย
ก่อนจะย้ายไปคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยยูเพนน์ รัฐเพนซิลเวเนีย และท้ายสุด เธอได้ร่วมงานกับ ดร.แอนดรูว์ ไวส์แมน ศาสตราจารย์ด้านโรคติดต่อ ซึ่งทั้งคู่ประสบความสำเร็จในการทดลองเทคโนโลยี mRNA ร่วมกัน
ทว่าก่อนที่จะร่วมทำงานกับดอกเตอร์ไวส์แมน แคทเคยเกือบหันหลังให้กับอาชีพนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากอาจารย์ประจำที่เธอเคยทำงานวิจัยให้ ล้วนลาออกจากสถาบัน
ดอกเตอร์แคทจึงไร้อาจารย์ในสังกัด แถมยังได้รับการปฏิเสธทุนวิจัยหลายครั้ง เพราะยุคนั้น เทคโนโลยี mRNA ยังเป็นเพียงแนวคิดที่ถูกมองว่า ประสบความสำเร็จได้ยาก และไม่คุ้มค่าพอที่จะทุ่มทุนวิจัย
รู้ไหมว่าเธอถูกปฏิเสธเป็นอย่างน้อยถึง 30 ครั้ง จนถูกลดตำแหน่งทางวิชาการ
ถึงกระนั้น เธอก็ได้มาเจอกับ ดอกเตอร์ไวส์แมน ที่กำลังหาทางพัฒนาวัคซีนป้องกัน HIV ซึ่งสนใจใช้เทคโนโลยี mRNA ในการทดลอง
จึงเปลี่ยนใจดอกเตอร์แคท จากที่หมดหวัง ให้มาเดินหน้าทำงานวิจัยต่อไป
ทั้งคู่ ค้นพบการปรับแต่งโมเลกุลขของ mRNA ให้สามารถเจาะผ่านระบบป้องกันของร่างกายเข้าไปในเซลล์ โดยร่างกายจะไม่แสดงปฏิกิริยาต่อต้านออกมา
1
เมื่อโมเลกุลเข้าไปถึงเซลล์ มันจะสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้สร้าง Anti-body ขึ้นมาต่อต้านเชื้อร้าย จนกลายเป็นที่มาของวัคซีน Covid-19ในปัจจุบัน
mRNA อาจเข้ามาดิสทรัปวงการการแพทย์ เนื่องจากผลิตวัคซีนได้ง่าย รวดเร็ว และราคาถูกกว่าวัคซีนแบบดั้งเดิม
ที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์
ในปี 2005 ดอกเตอร์แคท ได้ตีพิมพ์ความสำเร็จของ mRNA บนวารสารทางวิชาการหลายฉบับ และได้รับความสนใจจาก 2 บริษัท ในการสนับสนุนทุนวิจัย นั่นคือ โมเดอร์น่า และไบโอเอ็นเทค
ทุนวิจัย ทำให้ดอกเตอร์แคท และดอกเตอร์ไวส์แมน สามารถเดินหน้าทดลองวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยใช้ mRNA
จนกระทั่งเกิดการระบาดของโคโรน่าไวรัสที่อู่ฮั่น เมื่อปลายปี 2019 เทคโนโลยี mRNA จึงถูกถ่ายทอดไปยังโมเดอร์น่า และไบโอเอ็นเทค จนสามารถพัฒนาวัคซีน Covid-19 ออกมาได้สำเร็จ
ข้อมูลอ้างอิง
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่..
Picture / The NY Times
โฆษณา