16 ก.ค. 2021 เวลา 08:00 • สุขภาพ
ตรวจโควิดกี่วันรู้ผล? มีการตรวจแบบไหนบ้าง🧬❓
การแพร่ระบาดของโควิด 19 อาจทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่ เพราะเมื่อรับเชื้อมาแล้วอาจไม่มีอาการได้นานเกิน 14 วัน แต่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้
หนึ่งในวิธีสำคัญในการควบคุมการระบาดก็คือการตรวจพบเชื้อและกักกันให้เร็วที่สุด ดังนั้นในบทความนี้จะมาพูดถึงผลตรวจโควิดว่าต้องใช้เวลากี่วัน
ตรวจโควิดกี่วันรู้ผล❓
ผลการตรวจโควิด แบ่งออกได้ตามประเภทของการตรวจ ดังนี้
1. ผลการตรวจโควิดแบบ RT-PCR🔎
การตรวจโควิดแบบ RT-PCR ทราบผลได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง
เนื่องจากโดยปกติแล้วจุดตรวจที่เก็บตัวอย่างนั้นมักตั้งอยู่ห่างจากห้องปฎิบัติการ ทำให้ต้องใช้เวลาในการขนย้ายและทำการตรวจพิสูจน์
ผลการตรวจที่ได้จากห้องปฎิบัติการมีดังนี้
ผลเป็นบวก พบเชื้อ COVID-19
ผลเป็นลบ หากไม่พบเชื้อ COVID-19
นอกจากนี้ แพทย์อาจให้มีการตรวจสแกนคอมพิวเตอร์ (CT-Scan) เพิ่มเติมในบางราย เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค COVID-19 และดูการกระจายของเชื้อ
2. ผลการตรวจโควิดแบบ Rapid test
การตรวจโควิดแบบ Rapid test ทราบผลภายใน 10-30 นาทีเท่านั้น
เนื่องจากภายในชุดตรวจสามารถแสดงผลการตรวจได้เลยคล้ายกับชุดตรวจครรภ์ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรซื้อชุดตรวจ Rapid test มาใช้ด้วยตัวเอง เพราะมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง
ผลการตรวจของ Rapid test อาจมีดังนี้
ตรวจพบเชื้อ หลังจากรับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน และจะไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้หลังจากหายป่วยแล้ว
ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ หลังจากรับเชื้อมาแล้ว 10 วันขึ้นไป และจะตรวจพบได้หลังจากหายป่วยแล้วด้วย
อย่างไรก็ตาม ตามที่ ศบค. ได้ขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน หากผลตรวจของใครพบเชื้อ ทางโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่ทำการตรวจจะต้องประสารรถไปรับผู้ติดเชื้อถึงที่ และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
การตรวจโควิดทั้ง 2 ประเภทต่างกันอย่างไร?🤔
การตรวจโควิดมีด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ตรวจพิสูจน์เชื้อ ในบางกรณีอาจต้องตรวจซ้ำทั้ง 2 ชนิดเพื่อยืนยันผล รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
1. การตรวจโควิดแบบ Polymerase chain reaction: RT-PCR
การตรวจ RT-PCR เป็นการเก็บตัวอย่างเชื้อจากด้านหลังโพรงจมูก หรือลำคอ ด้วยก้านเก็บตัวอย่าง (Swab) โดยใช้ระยะเวลาในการรับบริการ 10-30 นาที ขึ้นอยู่กับสถานที่ให้บริการ จากนั้นนำไปหาเชื้อในห้องปฎิบัติการ
วิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจหาเชื้อโควิดไนน์ทีน และเป็นวิธีการเดียวกับการตรวจโรคซาร์ส (Severe acute respiratory syndrome: SARS) ที่ระบาดในปี พ.ศ. 2545
ผู้ชำนาญการจะนำเอากรดนิวคลีอิกจากตัวอย่างไวรัส มาขยายดูข้อมูลทางพันธุกรรมด้วยเทคนิค PCR เพื่อให้สามารถตรวจได้ชัดว่าเป็นเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรค COVID-19 หรือไม่
2. การตรวจโควิดแบบ Rapid test
การตรวจแบบ Rapid test เป็นการนำตัวอย่างเลือดไปตรวจหาเชื้อไวรัส (Antigen) หรือภูมิคุ้มกัน (Antibody) ขึ้นอยู่กับชุดตรวจ
ชุดตรวจ Rapid test สามารถใช้งานได้ง่าย แต่ก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงกว่าแบบ PCR เนื่องจากมีปัจจัยที่อาจทำให้ผลไม่แม่นยำได้ ดังนี้
จะต้องตรวจหลังจากหลับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน ผลจึงจะมีความแม่นยำ เช่นนั้นอาจตรวจไม่พบ
หากตรวจหาภูมิคุ้มกัน จะต้องตรวจในวันที่ 10 เป็นต้นไปจนกระทั่งหายจากโรค
แต่ผู้ที่รับการตรวจมักไม่ทราบว่าตนรับเชื้อมาตั้งแต่ตอนไหน จึงทำให้การตรวจประเภทนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้
องค์การอาหารและยา (อย.) จึงอนุญาตให้จำหน่ายใช้ได้เฉพาะในโรงพยาบาล สถานพยาบาลของรัฐ คลินิกเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลและคลินิกเวชกรรม
ชุดตรวจนี้เหมาะสำหรับใช้ตรวจในพื้นที่ที่มีความชุกของความติดเชื้ออยู่แล้ว เพื่อขยายขีดความสามารถในการคัดกรองโรค และช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติมร่วมกับวิธีอื่นๆ ตามความเห็นของแพทย์
หากคุณไปพื้นที่เสี่ยง⚠ หรือมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ สามารถเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลได้ทันที
🏢บริการทั้งหมดของ KIN (คิน)
​#ผู้ป่วยด้าน​โรคสมองและระบบ​ประสาท​
#คลินิกกายภาพบำบัด (Rehabilitation)
#คลินิกโรคกระดูก (Orthopedic Clinic)
#ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
#ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง (Nursing Home)
🌐 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.kinrehab.com/news/view/393
📱💻ปรึกษา ติดตามข้อมูลข่าวสาร
🏥🏥 KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare 🏥🏥
📱 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171
✅ สอบถามบริการของ KIN แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
👨‍👨‍👧‍👦 FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
📱 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
🚘 แผนที่ไป KIN (คิน) http://bit.ly/2VvPDq6
โฆษณา