17 ก.ค. 2021 เวลา 11:23 • สุขภาพ
ติดเชื้อ 2 สายพันธ์พร้อมกัน!!! ผู้ป่วยเบลเยียมตรวจพบเชื้อมรณะ 2 สายพันธ์เป็นรายแรกของโลก
ในเวลาหนึ่งๆ ผู้ป่วยมักจะติดเชื้อ Coronavirus เพียงสายพันธ์เดียวและกระจายไปทั่วร่างกายครับ แต่ปัจจุบันนักวิจัยได้พบตัวอย่างใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยก็สามารถติดเชื้อไวรัสมรณะ 2 สายพันธ์ขึ้นไปได้ ถึงแม้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้มีโอกาสค่อนข้างยาก แต่ก็เป็นไปได้ครับ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกันครับ
ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 2 สายพันธ์
ในเดือนมีนาคม 2021 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยหญิงชาวเบลเยียมได้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 แต่จุดที่ทำให้นักวิจัยต้องกังวลเนื่องมาจากตรวจพบเชื้อ Coronavirus 2 สายพันธ์คือสายพันธ์ Alpha (เชื้อร้ายสายพันธ์อังกฤษ์) และสายพันธ์ Beta (เชื้อกลายพันธ์จากแอฟริกา) ครับ ซึ่งการตรวจพบเชื้อดังกล่าวทำให้เธอเป็นตัวอย่างรายแรกที่มีการตรวจพบและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงให้เห็นว่าประชากรโลกมีโอกาสติด COVID-19 2 สายพันธ์พร้อมๆ กันครับ หลักฐานดังกล่าวได้นำไปสู่การหารือกันอย่างกว้างขวางในการประชุมรัฐสภายุโรป (European Congress) ว่าด้วยเรื่องของโรคติดต่อในปีนี้ครับ
1
นอกจากผู้ป่วยชาวเบลเยียมแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิลมีการรายงานว่าพวกเขาพบผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 2 รายที่มีการติดเชื้อไวรัส 2 สายพันธ์ในเวลาเดียวกันครับ โดยมีเชื้อไวรัสสายพันธ์ Gamma ที่เป็นสุดยอดเชื้อรายสายพันธ์แซมบาติดร่วมครับ
 
ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยจากประเทศโปรตุเกสยังได้รับรายงานว่าผู้ป่วย COVID-19 อายุเพียง 17 ปีมีการตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสชนิดที่ 2 หลังจากที่เข้ารับการรักษาไวรัสสายพันธ์แรกอยู่ครับ นั่นแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่มีผู้ป่วยจะติดเชื้อไวรัส 2 สายพันธ์ขึ้นไปพร้อมๆ กันมีความเป็นไปได้ และไม่จำกัดสายพันธ์ด้วยครับ
แล้วผู้ป่วยชาวเบลเยียมติดเชื้อ COVID-19 2 สายพันธ์ได้อย่างไร
จากการศึกษาของ Dr. Anne Vankeerberghen จากโรงพยาบาล OLVเปิดเผยว่าผู้ป่วยชาวเบลเยียมเป็นสุภาพสตรีที่มีอายุประมาณ 90 ปี แม้ว่าคุณย่าสุภาพสตรีท่านนี้จะอาศัยเพียงลำพัง แต่ก็มีผู้ดูแลผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาคอยช่วยเหลือเธอเสมอครับ ดังนั้นจึงทำให้คุณย่าติดเชื้อไวรัสมรณะดังกล่าวจากคน 2 คน เป็นสายพันธ์ Alpha และ Beta ครับ
ผลที่ตามมาขอการติดเชื้อไวรัส 2 สายพันธ์พร้อมกันอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณย่าเสียชีวิตอย่างรวดเร็วก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากคุณย่าเป็นผู้สูงอายุ และไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน ดังนั้นอาจมีหลายสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลดังกล่าวครับ
ที่น่าสนใจและต้องการได้รับการวิจัยไปมากกว่านั้นคือการที่ไวรัส 2 สายพันธ์อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยจะทำให้เร่งการกลายพันธ์เป็นสายพันธ์ใหม่ที่มีความรุนแรงหรือไม่ ในกรณีของไวรัสโดยเฉพาะของ COVID-19 การกลายพันธ์ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมากๆ ครับ ดังนั้นแม้วัคซีนจะช่วยป้องกัน Coronavirus สายพันธ์เดิมได้ แต่ก็อาจไม่สามารถป้องกันสายพันธ์อื่นๆ ที่เกิดการกลายพันธ์ในอนาคต ดังนั้นการติดเชื้อ COVID-19 ในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทางนักวิจัยต้องศึกษาเพิ่มเติมกันต่อไปครับ
1
อาจเกิดขึ้นได้ แต่ค่อนข้างยาก
การติดเชื้อไวรัส 2 สายพันธ์มนเวลาเดียวกันไม่ใช่เรื่องที่แปลกประหลาดครับ V S Chauhan อดีตผู้อำนวยการของ Delhi-based International Centre ได้กล่าวว่าหากมีใครสักคนที่มีโอกาสได้รับเชื้อจากคนหลายคน ก็มีโอกาสที่คนนั้นจะติดโรคร้ายจากคนนั้นๆ ครับ
ในระหว่างที่โรคร้ายอย่าง Coronavirus พยายามจะแพร่กระจายไปที่ทุกเซลล์ในร่างกาย ก็จะยังมีเซลล์บางส่วนที่ยังแข็งแรงดีอยู่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ไวรัสอีกสายพันธ์หนึ่งเข้าไปยึดพื้นที่ได้ครับ ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถพบได้มากในกลุ่มผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องครับ
1
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็นับว่าหาได้ยากมากครับ เพราะระยะเวลาที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายทั่วร่างผู้ป่วยกินเวลาไม่นาน จึงไม่มีโอกาสมากนักที่จะเหลือเซลล์แข็งแรงให้อีกพันธ์หนึ่งเข้ามาจู่โจม และที่สำคัญคือในระยะเวลาไม่นานนี้ ผู้ป่วยต้องได้รับเชื้อจากคนอื่นๆ ซึ่งโอกาสที่จะเป็นเชื้อโรคต่างสายพันธ์หรือแพร่เชื้อใส่และติดเชื้อทันทีมีน้อยมากครับ
ท้ายที่สุดสิ่งที่ทำได้คือการป้องกันตัวเองจริงๆ ครับ ผู้ที่มีโอกาสควรรีบหาวัคซีนเข้ามาป้องกันตนเอง ในขณะที่ควรใส่หน้ากาก ล้างมือตลอดเวลาครับ อีกอย่างที่ขอนำเสนอในครั้งนี้คือการทานอาหารแยกจากแม้จะเป็นคนในครอบครัวเดียวกันก็ตามครับ แล้วเราจะรอดจากภัยร้ายนี้ไปด้วยกันครับ
1
ท้ายที่สุด ผมขอฝาก Sticker line "Qubit The Cat" ด้วยนะครับ
ขอโอกาสให้น้อง Qubit ได้เป็นเพื่อนของทุกท่านนะครับ สามารถสนับสนุนน้องได้ที่ link https://store.line.me/stickershop/product/15887113 ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
โฆษณา