17 ก.ค. 2021 เวลา 15:39 • ความคิดเห็น
เราว่าคนที่เขาคิดวลีนี้ขึ้นมา
ไม่น่าจะต้องการสื่อตรงๆ หรอกค่ะ
แต่อาจจะอยากเตือนสติพวกคนดีทั้งหลาย
ให้ทำดีแต่แบบพอดีๆ พอเหมาะพอควร
รู้จักกาลเทศะ ไม่ใช่ทำดีพร่ำเพรื่อไปเรื่อย
และในการทำดีแต่ละครั้ง ก็ควรจะดูด้วย
ว่าทำไปแล้วตัวเองเดือดร้อนมั้ย?
แน่ใจหรือเปล่าว่าอีกฝ่ายต้องการ?
ตัวอย่างเคสที่ 1
A เห็น B กับ C ทะเลาะกัน
ก็เลยอยากจะเข้าไปช่วยเคลียร์ให้
แต่ดันถูก B และ C ด่ากลับมาว่าแส่
A ก็เลยเฟล อดคิดไม่ได้ว่าทำไมวะ
เราอุตส่าห์ทำดี อยากให้เขาดีกัน
แล้วทำไมพวกเขาต้องมาด่าเราด้วย
ถ้าดูจากเคสข้างต้น จะสรุปได้ว่า
1.A ทำดีก็จริง แต่ B กับ C ไม่ได้ต้องการ
2.พอ A ทำภารกิจไม่สำเร็จ ก็เฟลซะเอง
3.B,C ยังคงผิดใจกันเหมือนเดิม
ตัวอย่างเคสที่ 2
A เห็น B กับ C ทะเลาะกัน
ใจหนึ่งก็อยากช่วยเคลียร์ให้
ส่วนอีกใจก็บอกให้อยู่เฉยๆ ก่อนดีกว่า
ต่อมา B มาระบายให้ฟังบลาๆๆ
A ก็ทำดีด้วยการรับฟังอย่างไม่รำคาญ
พอ B ขอคำแนะนำ A ก็ให้คำแนะนำดีๆ ไป
แล้วเมื่อ B นำเอาวิธีของ A ไปใช้
สุดท้าย B กับ C ก็ดีกัน จบสวยไปอีก
ถ้าดูจากเคสข้างต้น จะสรุปได้ว่า
1.A ทำดีก็ต่อเมื่อสถานการณ์ต้องการ
2.พอ A ทำภารกิจสำเร็จ ตัวเองก็แฮปปี
3.ส่วน B,C ก็ดีกันตามคำแนะนำของ A
สรุปแบบจริงๆ เลยก็คือ
ไม่จำเป็นต้องเลิกเป็นคนดี
เพื่อให้ตัวเองมีความสุขหรอกค่ะ
แต่เราแค่เลือกทำดี
ให้ถูกกาลเทศะก็พอ 😁
โฆษณา