18 ก.ค. 2021 เวลา 03:47 • ความคิดเห็น
จากปัญหาดราม่าล่าสุด...เชื่อว่าหลายๆคนคงอยากรู้เรื่องราวของแวดวงบริษัทประกันว่า เขามีรายได้กันยังไงเท่าไหร่ ? เวลามีปัญหาขึ้นมาจะเอาจากไหนมาจ่าย !!
1
ก่อนอื่นมารู้จักตลาดประกันกันก่อนค่ะ
ตลาดประกันแบ่งออกเป็น 2 ตลาดใหญ่ๆ
คือ ประกันชีวิต (Life Insurance) เช่น กลุ่มประกันสุขภาพ ประกันชีวิต อุบัติเหตุต่างๆที่มีผลต่อชีวิต เป็นต้น และ ประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) ซึ่งเป็นการประกันในส่วนของทรัพย์สินเป็นหลัก เช่น พวกประกันรถยนตร์ อัคคีภัย ประกันการสูญหายโจรกรรม ฯ
ตลาดประกันบ้านเรามีมูลค่ารวมทั้งอุตรสาหกรรม ราวๆ 9แสนล้าน แบ่งเป็นตัวเลขกลมๆที่
ประกันชีวิต 70 - วินาศภัย 30 .
ฝั่งเจ้าตลาดของประกันชีวิต มีเบอร์ใหญ่ๆอยู่ 5 เบอร์ค่ะ
เบอร์ 1. ก็ต้องให้ AIA บรรษัทข้ามชาติ ค่ะ มีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ราวๆ 22% คิดเป็นตัวเลขกลมๆก็ประมาณ 1.3 แสนล้าน ความมั่นคงระดับไหนคงไม่ต้องพูดถึง
เบอร์ 2. ก็เป็น ไทยประกันชีวิต มาร์เก็ตแชร์ประมาณ 14-15%
เบอร์ 3. เมืองไทยประกันชีวิต มาร์เก็ตแชร์ราวๆ 14%
 
เบอร์ 4. กรุงไทย-แอกซ่า (บริษัทร่วมทุนของฝรั่งเศส) มาร์เก็ตแชร์ที่ราวๆ 10%
 
และ เบอร์สุดท้าย เป็นของ FWD ที่ซื้อหุ้นต่อจากไทยพาณิชย์ (scblife) ตัวนี้หุ้น10ในตำนานเลย มาร์เก็ตแชร์ราวๆ 8% (ถ้ามีเวลาว่างๆ อยากเล่าเรื่องตำนานผู้ถือหุ้นตัวนี้เหมือนกันนะคะ ว่าอาการ สูงสุดคืนสู่สามัญ มันเป็นอย่างไร)
1
มาที่ฟากฝั่งของ ประกันวินาศภัย ก็มีเบอร์ใหญ่ 5 เบอร์ดังนี้ค่ะ
พี่ใหญ่สุดก็ "วิริยะประกันภัย"ค่ะ ครองตลาดมาอย่างยาวนาน(30ปีไม่มีใครโค่น) มาร์เก็ตแชร์ ราวๆ 16% (และคาดว่าคงเพิ่มขึ้นจากกรณีล่าสุด ><) เบี้ยประกันราว 4 หมื่นล้าน
รองมาอันดับ 2. คือ ทิพยประกันภัย มาร์เก็ตแชร์ราว 9%
อันดับ 3. กรุงเทพประกันภัย มาร์เก็ตแชร์สูสีกับทิพย์พอควร ที่ราวๆ8.5%
อันดับ 4. เมืองไทยประกันภัย มาร์เก็ตแชร์ราว 5.3%
และ สุดท้าย สินมั่นคงประกันภัย ที่สถานการณ์ตอนนี้ดูล่อแล่มากค่ะ มีมาร์เก็ตแชร์ที่ 4.6%
(ในปัจจุบัน ตลาดประกันภัยมีการแข่งขันที่สูงมาก หน้าใหม่ๆอย่างติดล้อและศรีสวัสดิ์ รุกตลาดได้อย่างน่าสนใจ และอีกค่ายนึงที่มีตัวจิงโจ้เป็นมาสคอตก็ดูน่าสนใจเช่นกัน)
รายได้ของบริษัทประกัน
โดยมากแล้วจะเอาไปลงทุนในพันธบัตรราวๆ80% เพื่อสร้างผลตอบแทนที่แน่นอนและสภาพคล่องแข็งแกร่ง 20% ที่เหลือก็อาจจะไปลงทุนในหุ้น สินทรัพย์ และตราสารหนี้อื่นๆ
 
หลักการบริหารความเสี่ยงของประกันคือ จะต้องกันเงินทุนประกันออกไปส่วนหนึ่ง อาจจะสัก 1% เช่น 1 แสน อาจจะหักออกไปเลย 1000 กันไว้สำหรับกรณีจ่ายเคลมประกัน ในส่วนตรงนี้ โดยปกติบริษัทจะตั้งไว้ในงบส่วนของหนี้สิน เพราะสถานะของผู้ซื้อคือ เจ้าหนี้ และ บ.ประกันคือลูกหนี้
นอกจากนี้ตามหลักการบริษัทประกันต้องมีสินทรัพย์รวมเมื่อเทียบกับหนี้สินเพื่อสำรองจ่ายหนี้สินตรงนี้มากกว่าเท่าตัว ซึ่งตรงนี้เป็นมาตรการบังคับของ คปภ. อยู่แล้ว อารมณ์เหมือนแบงค์ที่ต้องตั้งสำรองหรือถูกกำกับโดย ธปท. ในกรณีแบงค์ล้มคุณต้องมีเงินจ่ายคืนส่วนนึงให้ลูกค้านะ ซึ่งอัตราส่วนของหนี้สินตรงนี้เราสามารถเข้าไปดูได้ในเวปไซด์ของแต่ละบริษัท โดยจะอยู่ในส่วนของ Capital Adequacy Ratio (CAR) (คือ อัตราส่วน ความเพียงพอ ของ เงินกองทุน ที่ คปภ. กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตคงไว้) ควรเข้าไปดูไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกจะซื้อผลิตภัณฑ์นะคะ
และในขณะเดียวกัน กลุ่มประกันเองก็มีเงินสำรองที่ ทุกบริษัทต้องส่งเบี้ยบางส่วนเข้ากองกลาง กองทุนคุ้มครองผู้บริโภค เผื่อบริษัทไหนล้มก็จะมีเงินสำรองตรงนี้แหละที่จะช่วยพยุงผู้บริโถคเมื่อเกิดความเสียหาย และนัยนึงก็
พยุงอุตรสาหกรรมประกันด้วย (ในแง่ความเชื่อมั่น) แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปถึงจุดนั้นโดยธรรมชาติของทุนนิยมมักจะมีบริษัทที่เข้ามารับซื้อหนี้ต่อ คล้ายๆกับตอนเกิดซัพไพร์ม หรือต้มยำกุ้ง
ดูๆไปแล้ว ภาพรวมของอุตรสาหกรรมนี้ ดูมั่นคงมากนะคะ
แต่ด้วยความที่มั่นใจเกินเบอร์ เลยนำมาสู่ความผิดพลาด จนบางเจ้าต้องร่อนหนังสือขอยกเลิกสัญญา (กลายเป็นพลาดหนักกว่าเดิม)
ความผิดพลาดครั้งนี้ต้องบอกว่า ประมาทเกินไปค่ะ มั่นใจในนโยบายรัฐ มั่นใจในพฤติกรรมของผู้คน และไม่เข้าใจวิวัฒนาการของไวรัส ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จริงๆนักวิชาการก็มีเตือนแล้วนะคะ โดยเฉพาะอาจารย์ Tommy Pichet (อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ประกันภัย) ก็เตือนกันมาตลอด
1
แต่ประเด็นสำคัญ ที่ทำให้พลาด คือ ความโลภค่ะ อันนี้เป็นทุกวงการบอกเลย (อุทาหรณ์สำคัญ)
เนื่องจากปีที่แล้วอย่างที่รู้ๆกันว่า ตัวเลขการขายกรมธรรม์ประกันภัยโรคโควิด-19 ปี 63 ในอุตรสาหกรรมมีสูงกว่าสิบล้านฉบับค่ะ (ช่วงพีคๆคือ เมษา) เบี้ยประกันรวมราวๆ 4พันกว่าล้าน แต่จ่ายค่าสินไหนรวม ไม่ถึง 300 ล้านค่ะ !! ซึ่งอัตราส่วนกำไรตรงนี้ ระดับ 1/10 เลยนะคะ ซึ่งดูแล้วสามารถคัฟเวอร์รายจ่ายทั้งหมดเหลือกำไรสบายๆ
พอมาปีนี้ แนวโน้มดูจะขาดทุน เลยจะกลับลำขอยกเลิกความคุ้มครองซะงั้น
มุมนึงเข้าใจนะคะ แต่ไม่เห็นใจ เพราะมันก็ไม่แฟร์กับผู้บริโภค
ปัญหาคือ อย่างที่บอกค่ะ ประมาท และโลภเกินไป บางเจ้าอาจเร่งขายจนลืมดูตัวเลขความเสี่ยง
ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน 64 เพียงแค่ครึ่งปี ก็มียอดกรมธรรม์เทียบเท่ากับทั้งปีที่ผ่านมา โดยปีนี้ล่าสุดมีเกือบๆ 13ล้านฉบับ เคทลองเทียบรายไตรมาสแล้ว เฉพาะตัวเลขไตรมาส 2 พีคมากค่ะ แค่ 3 เดือนยอดขายซัดไป 10ล้านฉบับ เบี้ยรับรวมแตะ 5 พันล้านค่ะ(เบี้ยรับเพิ่มขึ้นเกือบ 35%) แต่ปีนี้มีจ่ายสินไหมไปเกือบๆจะ 2 พันล้านแล้ว ยอดกระโดดขึ้นมา 10 เท่า !!! และคาดว่าน่าจะไม่จบแค่ตัวเลขนี้แน่ๆ จึงเป็นที่มาว่าทำไม ประกันบางเจ้าถึงยอมไม่มั่นคงต่อไป
2
แต่จะว่าไปเหตุการณ์ จ่าย เจ็บๆแบบนี้เคยเกิดขึ้นในอดีตมาแล้วเหมือนกันนะคะ อย่างล่าสุดก็เมื่อช่วงปี 54 ที่น้ำท่วมใหญ่ บริษัทหลายแห่งขาดทุนหนักมากเพราะความมั่นใจเกินเบอร์ว่าจะชนะธรรมชาติได้
และหากพูดถึงในแง่การบริหารความเสี่ยง
ในอุตรสาหกรรมนี้ก็จะมียี่ปั๊วใหญ่ ที่รับประกันภัยต่ออยู่ 2 เจ้านะคะ (thre,threl)ที่จะคอยรับซื้อความเสี่ยงของบริษัทประกันพวกนี้อยู่ แต่ดูเหมือนว่าบางเจ้าอยากกินเต็มเลยไม่ยอมซื้อประกันเผื่อไว้ให้ตัวเอง ก็ถือเป็นบทเรียนสำคัญกันไปค่ะ หวังว่าอนาคตคงไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก
ป.ล. ขอขอบคุณ อาจารย์ Tommy Pichet สำหรับข้อมูลประกอบในการเขียนบทความนี้นะคะ
มิ้วๆ
โฆษณา