27 ก.ค. 2021 เวลา 10:00 • ถ่ายภาพ
5 FAQ | คำถามชวนปวดหัว ที่ตากล้องมือใหม่ต้องพบเจอ
ในยุคที่กล้อง Mirrorless ตลอดจน Smartphone เริ่มเข้ามามีบทบาทควบคู่กับกล้อง DSLR ในตลาดกล้อง ทำให้เกิดช่างภาพมือใหม่เพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวงการ Content , วงการสื่อ หรือ วงการ Blogger ซึ่งมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นชินกับการเล่นกล้องมีจำนวนไม่น้อยเลยก็ว่าได้
และนี่ คือ คำถามยอดฮิต ที่เรามักจะได้ยินจนเป็นเรื่องปกติกันเลยค่ะ
รวม 5 คำถามชวนปวดหัว ที่ตากล้องมือใหม่ต้องพบเจอ
1. ซื้อกล้อง Brand ไหนดี ??
คำถามที่มาทุกยุคทุกสมัยในวงการกล้อง โดยเฉพาะกับมือใหม่ด้วยแล้วนั้น เป็นคำถามลำดับแรกๆที่มักจะพุ่งเข้าหาโดยทันที และ มักสร้างความปวดหัวเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เริ่มจับกล้องแบบไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลย ว่าแล้วมาไล่ดูกันดีกว่าว่าในปัจจุบันตลาดกล้อง มี Brand ไหนที่เป็นที่น่าสนใจอยู่บ้าง
Canon
ค่ายกล้องเก่าแก่ตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์ม ก่อนเปลี่ยนถ่ายมาสู่ยุคดิจิตอลเต็มตัว ซึ่งมีกล้องและเลนส์ให้เลือกใช้ครบช่วง ตั้งแต่ราคาเบาๆไปจนถึงราคาเรือนแสนกันเลยทีเดียว โดยจุดเด่นของ Canon นั้นจะเน้นไปเรื่อง Skintone ที่หม้เฉดสีออกโทนหวานเหมาะแก่การถ่าย Portrait รวมถึงฟังก์ชั่นการถ่าย Video ที่มีการเปิดไลน์แยกไปเป็น Cinema เช่นกัน
และในปัจจุบันทาง Canon ก็ได้รุกตลาดกล้อง Mirrorless มากขึ้น โดยส่ง EOS M5 กล้อง Mirrorless รุ่นล่าสุดของค่ายลงสู้ในตลาด Mirrorless ด้วยครับ
รวมไปถึง กล้อง Mirrorless Fullframe อย่าง EOS R Sereis ที่ ณ ตอนนี้ Canon EOS R3 กล้อง Mirrorless ระดับ Flagship ที่ใกล่จะวางจำหน่ายนั้น ได้อยู่ระหว่างการทดสอบภาคสนามที่ งานโอลิมปิค ประเทศญี่ปุ่น ด้วยค่ะ
Nikon
หากมีค่าย Canon แล้ว ก็ต้องมี Nikon ตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 ค่ายล้วนแล้วแต่เป็นค่ายที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์ม ก่อนเปลี่ยนถ่ายมาสู่ยุคดิจิตอลเต็มตัว โดยจุดเด่นของ Nikon นั้น จะเน้นไปที่ภาพนิ่งเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง DR ( Dynamic Range ) ที่กว้าง เหมาะสำหรับช่างภาพสาย Landscape หรือจะเป็นสาย Sport ที่มีความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี
เช่นเดียวกันกับ Canon ที่ตอนนี้ทางค่ายเองได้ให้ความสำคัญกับตลาดกล้อง Mirrorless โดยได้เปิด ระบบเลนส์ Z-Mount ขึ้นใหม่ เพื่อรองรับกับกล้อง Mirrorless Fullframe ประจำค่าย ที่ ณ ตอนนี้มี Nikon Z9 เป็นว่าที่ Flagship นั่นเอง
Sony
หากจะพูดถึงค่ายที่เป็นจ้าวแห่ง Sensor แล้วนั้น คงหนีไม่พ้น Sony แน่นอน เนื่องจากธุรกิจหลักของ Sony นั้นมาจากการผลิต Sensor กล้อง ทั้งวงการ Smartphone และ Camera ซึ่งกล้องแทบทุกค่ายในตอนนี้นั้น แทบจะใช้ Sensor จากทาง Sony ก็ว่าได้ครับ
นอกเหนือจากจุดเด่นเรื่อง Sensor แล้ว ทาง Sony เอง ก็เป็นค่ายแรกที่ออกกล้อง Mirrorless Fullframe เป็นครั้งแรกของโลก ทำให้วงการกล้องมีจุดเปลี่ยนที่กล้องเล็กๆ ก็สามารถมี Sensor ขนาด Fullframe ได้เช่นกัน อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าเป็นสิ่งชูโรงสำหรับกล้อง Sony คือ กล้อง Sony สามารถลง App ภายในตัวกล้อง เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการถ่ายภาพในดียิ่งขึ้นนั่นเอง
Fujifilm
" เซลฟี่ฟรุ๊งฟริ้ง ถ่ายสาวสวย FilmLook " นี่คือนิยามของ Fujifilm อีก 1 ค่ายกล้องที่ความเก่าแก่ไม่แพ้ Canon / Nikon ซึ่งในอดีตนั้นมีความโดดเด่นในเรื่องการผลิตฟิล์มออกมาควบคู่กับกล้องฟิล์มนั่นเอง
เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอลค่าย Fujifilm แม้จะเข้าร่วมตลาดกล้อง Mirrorless ช้ากว่าค่ายยักษ์ใหญ่ แต่กัลบมาพร้อมความสามารถอย่างเพียบพร้อม ทั้งรูปแบบการดีไซน์ที่มีความ Classic + Retro + Vintage อย่างลงตัว, คุณภาพไฟล์จาก Sensor X-Trans ที่ถ่ายทอดผลงานออกมาเคลียร์ใส , Skin Tone ที่เหมาะกับการถ่าย Portrait เป็นอย่างยิ่ง
รวมถึงการจำลองโทนสีแบบฟิล์มมาอยู่ในยุคดิจิตอล อย่าง Film Simulation ที่เป็น Killer Feature ประจำค่ายที่เสมือนเป็นการรวบรวมฟิล์มยอดฮิตในอดีต กลับมาโลดแล่นในยุตดิจิตอล โดยไม่จำเป็นต้องใช้ฟิล์มแต่อย่างใด จึงไม่แปลกที่ในปัจจุบันกล้อง Mirrorless จากทาง Fujifilm จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
Olympus
" อึดถึกทน กันสั่นเทพ" คงไม่ผิดจะที่ใช้คำนี้กับกล้องจากค่าย Olympus ที่เรียกได้เป็นเรื่องชูโรงสุดๆสำหรับค่ายนี้ โดยระบบกันสั่นที่สร้างความฮือฮาเป็นครั้งแรกนั้น มาพร้อมกับกล้อง OMD E-M5 ที่ทำการใส่ 5 AXIS หรือ ระบบกันสั่น 5 ทิศทาง ซึ่งมีการเคลมไว้ว่าสามารถลดการสั่นสะเทือนได้ถึง 5 Stops เลยทีเดียว
และในปัจจุบันพี่ใหญ่อย่าง OMD E-M1 MK3 สามารถลดการสั่นสะเทือนได้ถึง 6.5 Stops หากประกบคู่กับ M.Zuiko 12-100 F4 Pro IS เรียกได้ว่าฉีกกฏฟิสิกข์ในอดีตกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นคู่บุญชนิดที่ว่า
ถ้าพูดถึง Olympus แล้วต้องนึกถึงสิ่งนี้ตามมาด้วย นั่นคือ Live Composition ฟังก์ชั่นที่จะทำให้เพื่อนๆเพลิดเพลินกับการเก็บแสงยามค่ำ แล้วทำการซ้อนในภาพให้เสร็จสรรพ โดยไม่ต้องสนใจเรื่อง Long Exposure แต่อย่างใดเลยทีเดียว
น่าเสียดายที่ปัจจุบัน ทาง Olymus ได้เปลี่ยนมือผู้บริหาร โดยได้มีการรีแบรนด์ใหม่ที่จะใช่ทำการตลาดอย่าง OM Digital Solution ซึ่งยังไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นได้ครับ
Panasonic
" ยืนหนึ่ง ในงาน Video ทุกระดับ " หากจะพูดถึงเรื่องงาน Video ด้วยแล้วนั้น เพื่อนๆอาจจะนึกถึงแต่ Canon แต่หากมองในตลาดกล้อง Mirrorless แล้ว Panasonic เป็นอีก 1 ค่ายที่น่าจับตามองมากที่สุดในเรืองของงาน Video ด้วยความที่เป็น Brand ทีมีการ R & D ในหลายๆส่วน ทั้ง Video 4K ทีมีการคิดค้นและนำมาใช้เป็นเจ้าแรก
รวมถึงในปัจจุบันที่เตรียมวิจัย Video 8K ที่จะเป็นที่สุดของความละเอียดงาน Video ที่ระบุว่าพร้อมใข้งานในปี 2020 อีกสิ่ง 1 ที่ Panasonic มีภาษีติดตัวมา คือ การเป็น Partnership กับ Leica แบรนด์ระดับโลกสัญชาติ Germany ที่มีส่วนร่วมในการ R & D กล้องและเลนส์ที่มีความเฉพาะสูง ทำให้เกิดเป็นเลนส์ทางเลือกให้กับทาง Panasonic อย่าง Panasonic Leica DG ในปัจจุบันนั่นเอง
ทั้งนี้ Panasonic ได้เปิดกล้องในระบบ Mirrorless Fullframe ด้วยเช่นกัน โดยเลือกใช้งาน L-Mount ซึ่งเป็น Mount เดียวกันกับ Leica นั่นเอง
2. เปลี่ยนเลนส์ยังไง ให้ไร้ฝุ่น
สำหรับตากล้องมือใหม่ บางท่านถึงขั้นกังวลเมื่อถึงที่จะต้องเปลี่ยนเลนส์โดยเฉพาะกับกล้อง Mirrorless ด้วยแล้ว เนื่องจากกล้อง Mirrorless เมื่อเราทำการถอดเลนส์ออกมาแล้วนั้น จะพบกับ Sensor รับภาพของตัวกล้องอยู่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักเลยก็ว่าได้ ซึ่งวิธีการที่จะเปลี่ยน – ถอดเลนส์แล้วไม่มีฝุ่นละอองตกลงไปใน Sensor นั้น สามารถทำได้ง่ายๆตามขั้นนี้
1
>>> กดสวิตซ์บริเวณข้างๆ Lens Mount โดยกล้องแต่ละรุ่น แต่ละ Brand จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะต้องกดแช่ค้างไว้ เพื่อให้คลายล๊อคก่อนนะครับ
>>> บิดตัวเลนส์ออกจาก Mount โดยค่อยๆทำอย่างช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน
>>> เมื่อถอดเลนส์ออกแล้ว ให้ทำการคว่ำหน้ากล้องลงทันที เพื่อป้องกันฝุ่นละอองในอากาศมาเกาะที่ Sensor นั่นเอง
3. อยากถ่ายหน้าชัดหลังเบลอ
เป็นธรรมดาสำหรับตากล้องที่เมื่อซื้อกล้องมาแล้วนั้น อยากจะถ่ายหน้าชัดหลังเบลอกันแทบจะทุกคน ทั้งนี้การละลายฉากหลังนั้น นอกเหนือจากขนาด Sensor แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ
ค่ารูรับแสง & ค่า F
ค่า F และ/หรือ ศัพท์ทางการอย่างขนาดของรูรับแสงนั้น ย่อมมีผลต่อระยะชัดที่เขาเรียกกันว่าชัดตื้นและชัดลึกของภาพที่เราจะถ่ายออกมา หลักการจำง่ายๆ คือ
– รูรับแสงกว้าง จะได้ความชัดตื้นทำให้ถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอได้ง่าย
– รูรับแสงแคบ จะได้ความชัดลึกภาพจะชัดตั้งแต่ข้างหน้ายันข้างหลัง
– ระยะความห่างของ Subject ถึง ฉากหลัง
การเลือกใช้เลนส์ย่อมมีผลที่แตกต่างกันออกไป ช่วงเลนส์ Wide จะทำให้สิ่งของที่อยู่ใกล้ใหญ่กว่าความเป็นจริง ของที่อยู่ไกลก็ยิ่งไกลกว่าความเป็นจริง กลับกันเมื่อใช้ช่วงเลนส์ Tele จะทำให้สิ่งของที่อยู่ไกลดูใหญ่ และเหมือนใกล้กว่าความเป็นจริง
4. ถ่ายยังไง ให้ภาพคมชัด
หนึ่งในปัญหาของการถ่ายภาพที่มักจะสร้างความกังวลใจให้กับเหล่าตากล้องมือสมัครเล่นทั้งหลายที่ยังไม่ค่อยมั่นใจในการถ่ายภาพของตัวเองสักเท่าใดนัก กับภาพที่ได้ออกมาแล้วเกิดอาการ “เบลอ” ตั้งแต่ระดับเบาๆ ไปจนถึงระดับรุนแรงจนภาพพังเสียหายใช้งานไม่ได้ แบบนี้เห็นทีจะต้องหันมาเรียนรู้สาเหตุให้แน่ชัด เพื่อจะได้ปรับตัวแก้ไขให้ทันสถานการณ์
ใช้ Mode Focus ให้เหมาะสมกับลักษณะของการถ่ายภาพ
ปัญหาลำดับแรกๆที่มือใหม่มักจะพบเจอ ซึ่งบางครั้งมาจาก มือเผลอไปกดโดนโดยไม่ตั้งใจ หรือ ตั้ง Mode Auto ไว้ให้กล้องคิดเองแทนเรา ซึ่ง AI ของกล้องบางครั้งฉลาดเกินกว่าที่เราจะควบคุมได้ โดยเฉพาะ Mode Face detection หรือ Mode จับใบหน้า
ในบางครั้งเราต้องการถ่ายบุคคลที่อยู่ตรงหน้า แต่กลับกลายเปนว่า AI ของกล้อง ประมวลไปจับใบหน้าบุคคลที่อยู่ด้านหลังแทน หรือ บางกรณีอย่างจุด Focus ไม่สามารถจับวัตถุได้ อันมาจากความต่างของ Contrast บนวัตถุมีไม่มาก หรือ แสงสว่างไม่เพียงพอที่จะทำให้กล้องจับ Focus ได้
AF-S : ระบบ Focus แบบจุดเดียว ทั้งนี้จำนวนจุด Focus บนหน้าจอที่เราสามารถเลือกได้นั้น ขึ้นอยู่รุ่นกล้องนั้นๆด้วยครับ อาทิเช่น 9 จุด 21 จุด 42 จุด 84 จุด เป็นต้น
AF-C : ระบบ Focus แบบจุดต่อเนื่อง จะต่างกับ AF-S โดยตัวกล้องจะพยายาม Re Focus อยู่ตลอด ตามตำแหน่งของ Subject ที่อยู่ในกรอบ Focus ที่เราเลือกไว้
AF-Tracking : ระบบ Focus แบบจุดต่อเนื่อง จะต่างกับ AF-S / AF-C โดยตัวกรอบ Focus จะติดตาม Subject ที่เราเลือกไว้ จนกว่าตัว Subject จะพ้นจากรัศมีการทำงาน หรือ พ้นเฟรมของตัวกล้อง นั่นเอง
AF-S + MF : ยังคงเหมือนระบบ Focus แบบจุดเดียว แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของการโฟกัสแบบ Manual หรือ การหมุนหา Focus เองควบคู่กันไป เหมาะสำหรับบางสถานการณ์ที่ระบบ Auto Focus ไม่สามารถ Focus Subject ได้ อาทิเช่น สภาวะแสงน้อย เป็นต้น การมี Manual จึงมีอุดจุดอ่อนส่วนนี้ในตัว
MF : MF หรือ Manual Focus หรือ ศัพท์ง่ายๆ คือ การหมุนหาโฟกัสด้วยตัวเอง โดยใช้การหมุนวงแหวน Focus ที่ตัวเลนส์ ในการหาจุด Focus ด้วยตนเอง เหมาะสำหรับการที่ Focus จุดเล็กๆ หรือ สภาวะที่ Auto Focus ไม่สามารถจับ Subject ได้นั่นเอง
Face Detection : หรือ ระบบการตรวจจับใบหน้า เป็นระบบ Focus ที่ตัวกล้องจะทำการค้นหาใบหน้าให้เราเองโดยอัติโนมัติ ทั้งนี้ใน Mode นี้ เราสามารถใช้ AF-S ควบคู่กันไปได้ เพราะ บางครั้งระบบ Focus ไปตรวจใบหน้าของบุคคลอื่นที่เราไม่ต้องการถ่ายนั่นเอง
5. ถ่ายภาพในที่แสงน้อยยังไง ให้ปัง
การถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย แม้จะมีอุปสรรคที่หนักหนากว่าการถ่ายในสภาพแสงธรรมชาติ ที่ทำให้ช่างภาพมือใหม่ถึงขั้นกุมขมับ หนักสุดถึงขั้นท้อกับการถ่ายภาพไปเลยก็มี ซึ่ง Admin ก็มีเคล็ดลับสำหรับปูทางไปสู่การถ่ายภาพในที่แสงน้อย ให้ได้ภาพที่สวยงาม คมชัด และลงตัวตามที่ต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้ค่ะ
ปรับ Mode การใช้งาน ให้เหมาะสม
อันดับแรก ให้ปรับเปลี่ยนใช้งานจาก Mode Auto / I Auto ก่อน เหตุเพราะ บางครั้ง AI ของกล้องในแต่ละแบรนด์ในปัจจุบัน แม้จะมีการพัฒนาจนมีความฉลาดมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ AI ไม่อาจอ่านความคิดเราได้หมดจดอย่างแน่นอน อาทิเช่น เมื่อเจอกับสภาพแสงน้อย AI จะพยายาม ทำให้ภาพออกมาสว่าง ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งเพิ่มค่า ISO ให้สูงเพื่อให้ Speed Shutter ที่ไม่ต่ำจนเกินไป แลกกับการมี Noise ปะปนมาในภาพ เป็นต้น
OIS ของดีที่อยู่ใกล้ตัว
Optical Image Stabilisation หรือ OIS นั้น หากจะบอกแบบภาษาพื้นๆง่ายๆ มันก็คือ ระบบป้องกันการสั่นไหว นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นระบบกันสั่นจากในเลนส์ หรือ ในกล้องก็ดี ซึ่งเจ้าระบบกันสั่นนี้ จะช่วยลดอาการสั่นสะเทือนของภาพลงได้ ตั้งแต่ 2 – 5 Stops ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบกันสั่นนั้น และ/หรือ ระยะทางยาวโฟกัสของเลนส์ ด้วยครับ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผู้ช่วย ที่จะทำให้เรามั่นใจได้มากยิ่งขึ้น เมื่อต้องถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย
รูรับแสงกว้างไว้ก่อน มีชัยไปกว่าครึ่ง
ค่า F หรือ ค่ารูรับแสงของเลนส์ นอกจากจะใช้ในการถ่ายภาพ Portrait เพื่อทิ้งฉากหลัง และ ทำโบเก้ที่สวยงามในภาพเป็นหลัก แต่อีกคุณสมบัติของค่ารูรับแสงที่กว้าง อย่าง F 0.95 / F 1.2 / F 1.4 จะทำให้กล้องไวต่อการรับแสงมาก ส่งผลให้ มีค่า Speed Shutter ที่สูงขึ้น ทำให้การถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยนั้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ลดการสั่นเบลอการใช้ Speed Shutter ได้นั่นเอง
ISO ต่ำเข้าไว้ เพื่อความเคลียร์ของภาพ
กรณีที่มีปัญหากับการถ่ายภาพด้วยการลดค่าความไวชัตเตอร์ ได้ภาพที่เบลอจนไม่สามารถถ่ายได้ พบได้บ่อยในคนที่ไม่มีขาตั้งกล้อง ดังนั้นลองเปลี่ยนมาเป็นการอัดค่า ISO ให้สูงขึ้นมาเพื่อชดเชยค่าความไวชัตเตอร์ให้อยู่ในจุดที่เราสามารถกดถ่ายภาพได้คมชัด และเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้สว่างอย่างเพียงพอกับความต้องการ แต่อาจจะต้องเสี่ยงกับค่า noise ได้ ดังนั้นวิธีนี้จึงใช้เป็นทางเลือกในเวลาที่จำเป็นจริงๆ ในสถานการณ์ที่มีความสำคัญมากๆ ที่จำเป็นต้องถ่ายภาพ
Speed Shutter กับ ความท้าทายในที่แสงน้อย
ค่าความไวชัตเตอร์ หรือ Speed Shutter ที่ต่ำลงนั้น จะช่วยให้ภาพมีความสว่างเพิ่มมากขึ้น ทำให้เราสามารถถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างง่าย แต่ในทางกลับกัน การเลือกใช้ Speed Shutter ที่ต่ำนั้น บางครั้งส่งผลต่อการสั่นไหวของภาพได้เช่นกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยการฝึกฝน ความชำนาญ รวมถึงการหาอุปกรณ์ตัวช่วย อย่าง ขาตั้ง มาทุ่นแรงเราได้นั่นเอง
ใช้บริการขาตั้ง หากคิดจะจริงจัง + ซีเรียสกับภาพที่ได้
ขาตั้ง จัดเป็นอุปกรณ์สามัญอีกชิ้น สำหรับตากล้องในทุกๆสายก็ว่าได้ เพราะ สามารถทุ่นแรงเราได้ในหลายๆสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่าย Video , การถ่ายวิว รวมถึงการถ่ายภาพในที่แสงน้อย ที่จำเป็นต้องใช้ Speed Shutter ที่ต่ำๆได้นั่นเอง ทั้งนี้พึงระลึกเสมอว่า ขาตั้งแต่ละแบบ แต่ละขนาดนั้น ล้วนแล้วแต่มี Spec ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการรองรับน้ำหนัก และ/หรือ ความมั่นคง แข็งแรง ดังนั้น ควรพิจารณากล้องของเราควบคู่กับขาตั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนะครับ
🖥 Facebook Page : ตัวติดกล้อง
โฆษณา