26 ก.ค. 2021 เวลา 02:19 • ไลฟ์สไตล์
คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ฐานปฏิบัติการอยู่ที่ครัวเรือน
มูลนิธิโกมลคีมทอง ตีพิมพ์หนังสือ คำตอบอยู่ที่หมูบ้าน ของท่าน มหาตมะ คานธี ผู้มาก่อนกาล แห่งอินเดีย กล่าวไว้ชัดเจนว่า การพัฒนาชุมชน การพัฒนาสังคมต้องเริ่มสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก หน่วยที่เล็กที่สุด คือ หมู่บ้าน ตกนั้นคือจุดแตกหักของการพัฒนา
เลี้ยงปลากินเอง
เมื่อรัฐ ได้ตัดสินใจ ส่งผู้ติดเชื้อกลับหมู่บ้าน เพราะในเมืองใหญ่ ผู้คนติดโควิด หนาแน่น จนล้น ระบบสาธารณสุขรับไม่ไหว เครื่องไม้เครื่องมือ มีไม่เพียงพอ
แล้วหมู่บ้าน ได้รับการเตรียมการฝึกปรือ หรือจัดสรรทรัพยากร ให้หรือไม่ อย่างไร หมู่บ้านมีความพร้อมหรือไม่ นี่คือ คำถามและบททดสอบว่า หมู่บ้านไหน มีระบบการจัดการที่ดี หมู่บ้านไหนมีความพร้อมความเข้มแข็ง
ปลูกพืช
จากเหตุการณ์นี้ ต่อไปนี้ ผมเสนอว่า มุมมองของรัฐ ในการมองหมู่บ้านต้อง มองมุมใหม่. มองในมุมที่ให้ความสำคัญกับหมู่บ้านมากขึ้น กระจายทรัพยากรลงหมู่บ้านให้มากขึ้น สนับสนุนชุดความรู้ที่เหมาะสมกับหมู่บ้านให้มากขึ้น
ปลูกต้นไม้
สนับสนุนให้กลไกของหมู่บ้านแข็งแรงขึ้น เพราะ หน่วยหมู่บ้านเป็นหน่วยเล็กที่สุด ของประเทศนี้ ถ้าหน่วยหมู่บ้านเข้มแข็ง ก็จะส่งผลต่อหน่วยที่ใหญ่ขึ้น ตามลำดับ
ส่วนหน่วยครัวเรือนเอง ก็ควรมีฐานปฏิบัติการ ที่ชัดเจน มีวิถีชีวิตที่สอดรับกับความผันผวนของเศรษฐกิจ วันนี้ เราเจอภัยพิบัติด้านโรคติดเชื้อ ที่รุนแรง เสมือนหนึ่ง เป็นบทเรียนมาสอนว่า ให้เรา “พึ่งตนเอง” ให้ได้ให้มากที่สุด เมื่อระบบต่าง ๆ ล้มเหลว ครัวเรือนก็พอที่จะมีฐานทรัพยากร ให้อยู่รอดได้
โฆษณา