3 ส.ค. 2021 เวลา 12:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ “ภาวะใจตกต่ำ"
ซึมเศร้าไปไย ให้ใจหมองมัว
มาเสริมพลังใจกันดีกว่า
ผู้เขียน: ดร.พอล ฮอก
สรุปโดย นักเรียน สรุปให้ รุ่นที่ 5 คุณ Udon Suwannakho
=====================
ไม่พลาดสรุปหนังสือดี ๆ กดติดตาม เพจสรุปให้
#ไม่พลาดโปรดีๆติดตามที่ Line: @saroophai
ไฮโปรไกลซีเมีย (กลูโคลสในเลือดต่ำ แต่เซลล์ยังต้องการอาหาร) กลูโคลสในเลือดต่ำ ทำให้สมองช้า ระดับกรดในสมองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการขากสมดุลน้ำ และสมดุลอิเลคโทรไลท์ จะส่งผลต่อการทำงานของสมองด้วยเช่นกัน
ภาวะใจตกต่ำมี 3 สาเหตุหลัก 1. ตำหนิตัวเอง สังเกตความคิด  เกลียดตัวเอง คิดว่าตัวเองแย่ ชอบด่าตัวเอง พฤติกรรม  เศร้า -> เงียบ -> อารมณ์เสียง่าย -> ฆ่าตัวตาย 2. สงสารตัวเอง สังเกตความคิด  รู้สึกไม่ยุติธรรม -> เสียใจ -> โกรธเคืองตนเอง 3. สงสารผู้อื่น คล้ายสงสารตัวเอง แต่เก็บเรื่องราวภายนอกมาทำร้ายตัวเอง
เมื่อทำผิดพลาด อย่าตำหนิตัวของคุณเอง ไม่มีใครเกิดมาสมบูรณ์แบบ มีผิดพลาดได้ เป็นเรื่องปกติ กล่าวโทษตัวเองแล้ว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่จะทำให้ลากตัวเองลงไปในหลุมแห่งความทุกข์ ถ้ามีใครต้องถูกตำหนิ ให้ตำหนิที่การกระทำแทน เช่น คุณขับรถชนสุนัขตาย(ไม่ได้ตั้งใจ) ที่สี่แยกในเขตชุมชน เพราะขับรถเร็วและไม่ทันมองให้ดีก่อนเลี้ยว คุณไม่ได้เป็นคนเลว หรือเป็นคนจิตใจชั่วช้า คุณจะขับชน หรือไม่ชน ก็ยังเป็นคุณคนเดิม สิ่งที่ควรตำหนิคือ การกระทำ เช่น ขับรถเร็วเกินไปในทางสี่แยกในที่ชุมชน เมื่อทราบดังนี้แล้ว ควรมุ่งไปที่การปรับปรุงแก้ไข คือ ครั้งหน้า จะขับรถให้ช้าลง และกวาดสายตาจนมั่นใจว่าปลอดภัย จึงเลี้ยวรถ
สาเหตุ - รู้สึกผิดที่ไม่ทุกข์ตามเขา - ยอมเป็นทุกข์เอง เพราะตามใจเขา (คิดว่าช่วยเขาได้) - เป็นห่วงเขามากจนเกินไป - คิดเองว่าเราจำเป็นต้องยอมรับทุกข์จากภายนอก ทางแก้ (ปรับแนวคิด) 1. ปัญหาของผู้อื่น ไม่ได้ทำให้เราเป็นทุกข์ แต่ความคิดของเราเองที่กำลังทำให้เราเป็นทุกข์ (เช่น บ้านของเพื่อถูกไฟไหม้ ไม่มีที่นอน แต่เรายังมีบ้านอยู่ มีที่นอนตามปกติ) 2. ถามตัวเองว่า ถ้าเราทุกข์ไปกับเขาแล้ว ทันช่วยให้เขาหายจากทุกข์หรือแก้ปัญหานั้นได้จริงหรือ (ทุกข์ใจมาก ร้องไห้ฟูมฟาม เมื่อได้ข่าวว่า บ้านเพื่อนถูกไฟไหม้ ... ถามจริง! เราร้องไห้แล้ว บ้านเขาจะกลับมาเหมือนเดิมไหม)
ทฤษฎี ABC A คือสิ่งที่กระทบกับร่างกายแล้วทำให้เกิดอาการเจ็บปวดทางร่างกาย (แต่ A อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดความเจ็บปวดทางอารมณ์) B คือสิ่งที่กระทบกับจิตใจแล้วทำให้เกิดอาการเจ็บปวดทางอารมณ์ (แต่ B อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย) ความเจ็บปวดมี 2 แบบ คือ 1. ความเจ็บปวดทางทางร่างกาย 2. ความเจ็บปวดทางอารมณ์ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะความเจ็บปวดทางอารมณ์ ซึ่งเกิดจาก”ความคิด”ของเราเอง
ความคิดที่ขาดเหตุผล  สิ่งรบกวนจิตใจ (กังวลในจิตใจ)  เจ็บปวดทางอารมณ์  ภาวะใจตกต่ำ
โฆษณา