31 ก.ค. 2021 เวลา 04:50 • ท่องเที่ยว
หมู่บ้านช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (EP.3)
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
เล่ามาจนจะจบแล้ว ลืมบอกไปครับ ชาวพื้นเมืองที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคล้อง หรือ จับช้าง และเลี้ยงช้างนี้เรียกตัวเองว่าชาวกูย หรือกวย ครับ (กูย หรือกวย เป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่า คน) ภาษากูยหรือกวย นอกจากจะเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างกันแล้ว ยังถูกนำมาใช้เป็นภาษาในการฝึกสอนช้างให้ทำตามคำสั่งด้วยครับ
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
ในสมัยก่อนลูกชายของตระกูลจะเป็นผู้ถูกเลือกให้เป็นผู้ออกไปจับช้าง ซึ่งจะต้องมอบตัวเข้าตามลำดับขั้นของหมอช้าง คือในระดับขั้นแรกของควาญช้างจะถูกเรียกว่า "ควาญมะ" ครับ ตามที่เล่ากันมา ควาญมะ เป็นเพียงผู้ติดตามหมอช้าง เป็นผู้หุงหาอาหาร ในระหว่างที่ออกไปคล้องช้างในป่า ยังไม่อนุญาตให้คล้องช้างครับ จะต้องเรียนรู้วิชาคล้องช้างจนหมอช้างเห็นสมควรจึงจะสามารถเลื่อนขั้นขึ้นเป็น
"ควาญจา"
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
ควาญจา" ถือเป็นขั้นที่ 2 ของหมอช้างแล้วครับ แต่ก็ยังไม่สามารถคล้องช้างได้นะครับ จะต้องเป็นผู้ช่วยหมอช้างในระดับขั้นที่สูงกว่าตนก่อน แค่ไม่ต้องหุงหาอาหารเหมือนเดิมแล้ว แต่สามารถติดตามหมอช้างไปเพื่อหยิบจับอุปกรณ์ที่ใช้ในการคล้องช้างให้กับหมอช้าง
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
เราถือว่า ควาญมะ และ ควาญจา ได้มอบตัวเป็นลูกศิษย์ของครูบาช้างแล้ว ซึ่งจะถูกสอนวิธีการจับช้าง และคาถาอาคมไว้ใช้ป้องกันตัวขณะอยู่ในป่าใหญ่ ดังนั้นทั้งสองจะต้องปฏิบัติตัวอยู่ภายใต้ข้อห้ามทั้งหมด เช่น ห้ามสูบยาขณะประกอบพิธีกรรม และขณะอยู่บนหลังช้าง ห้ามกินไก่ส่วนที่เป็นหัว ขา และเครื่องในโดยเด็ดขาด
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
เมื่อ ควาญจา ช่วยหมอช้างจนเกิดความชำนาญแล้วถึงจะเข้ารับการทำพิธี ปะชิ เพื่อเลื่อนขั้นขึ้น เมื่อเข้ารับการ ปะชิ แล้ว จะใช้คำว่า หมอ นำหน้า แทนคำว่า ควาญ ครับ
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
สำหรับในขั้นที่ 3 นี้ ควาญจา จะถูกเรียกว่า
"หมอสะเดียง" ซึ่งสามารถคล้องช้างได้ตั้งแต่ 1-5 เชือก และเป็นผู้ช่วยในการทำพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งหากหมอสะเดียง ทำผิดข้อห้าม จะถูกลดขั้นลงเป็น ควาญจาตามเดิม แต่หากจับช้างได้ถึง 5 เชือกแล้วก็จะได้รับการเลื่อนขั้นไปเป็น "หมอสะดำ"
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
หมอสะดำ คือผู้ที่จับช้างได้ตั้งแต่ 5 เชือกขึ้นไป และเมื่อจับช้างได้ถึง 15 เชือก ขึ้นไปแล้ว ก็จะได้รับขั้นเป็น "ครูบา" ถือเป็นระดับสูงสุดของหมอช้างทั้งหมด เป็นผู้มีความรู้ทั้งทางด้านคชลักษณ์ และคาถาอาคมทั้งหมดที่หมอช้างทุกระดับขั้นได้ร่ำเรียน มีอำนาจในการระงับข้อพิพาท และชำระความผิดทั้งหมด ครูบาเป็นที่เคารพนับถือของหมอช้างทุกคนครับ
ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย
นอกจากระดับขั้นของหมอช้าง ทั้ง 5 ขั้นแล้ว เรายังมีตำแหน่งพิเศษอีกหนึ่งขั้น คือ "พระมอเฒ่า" ที่จะเป็นผู้นำในการทำพิธีกรรม และอำนวยการ ในการจับช้าง เป็นผู้เรียนคาถาอาคมสามารถปกป้อง คุ้มครอง ควาญช้างและหมอช้างได้ทุกคนขณะเดินป่า ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ พระมอเฒ่า ก็เปรียบเสมือนพรานป่าผู้นำทางนั่นละครับ
ภาพรำลึกคุณตามิว ครูบาใหญ่ คนสุดท้าย (ที่มา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเชื้อสายกวย กูย)
หมอช้างถูกสืบทอดกันมาช้านานจนถึงยุคของการพัฒนา เรามีหมอช้างรุ่นสุดท้าย คือ คุณตามิว ที่อยู่ในระดับขั้นของ ครูบาใหญ่ หรือ กำลวงปืด คุณตามิว ออกจับช้างตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม รวมมากกว่า 40 ครั้ง สามารถจับช้างได้ทั้งหมด 16 เชือก คุณตามิว ถือเป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันเราได้เสียหมอช้างรุ่นสุดท้ายไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยวัย 91 ปี ทิ้งไว้เพียงตำนาน และเรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของคุณตา ให้ลูกหลานได้รำลึกถึงครับ
ย้อนอดีตไปซะนานเลย ไว้ EP.ถัดไป เป็นตอนสุดท้าย จะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่งนี้ ไว้เผื่อเพื่อนๆสนใจ แวะเยี่ยมเยียนชมวัฒนธรรมระหว่างคนกับช้างกันนะครับ😊😊
🐘ขอบคุณสำหรับการติดตาม ให้กำลังใจของทุกท่านนะค๊าบ😊😊
โฆษณา