8 ก.ย. 2021 เวลา 11:58 • การศึกษา
เทคนิคการรีไฟแนนซ์บ้านให้มีประสิทธิภาพ
1
เป็นหนี้ก้อนใหญ่ๆ แบบนี้ เราก็อยากจะเคลียร์หนี้ออกจากตัวให้หมดเร็วที่สุด ถูกต้องไหมคะ มาค่ะ วันนี้เรามีวิธีมาช่วยจัดการหนี้บ้านให้มีประสิทธิภาพกันค่ะ
1. ควรตรวจสอบกับธนาคารว่าได้ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเจ้าของสินเชื่อบ้านของเราอยู่แล้ว หรือธนาคารใหม่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด
2. เมื่อได้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันทางการเงินต่าง ๆ มาแล้ว ให้คำนวณสินเชื่อของเราแบบคร่าวๆดูก่อน
วิธีการคือ ให้นำข้อมูลสินเชื่อในสัญญากู้ซื้อบ้านอันเก่าที่ยังคงเหลืออยู่ นำมาเปรียบเทียบกับสัญญาเงินกู้ที่จะรีไฟแนนซ์ฉบับใหม่ (ค่างวดเก่า – ค่างวดใหม่)
ให้พิจารณาว่า เมื่อรีไฟแนนซ์แล้ว จะประหยัดค่างวดลงได้หรือไม่ หากไม่แน่ใจให้ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารกรุงศรี ซึ่งจะมีเครื่องมือการคำนวณเงินกู้เบื้องต้นไว้ให้ ตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ
แค่กรอกข้อมูลลงไป โปรแกรมก็จะคำนวณตัวเลขออกมาให้ หากคำนวณแล้วประหยัดไปได้เยอะ ก็ค่อยตัดสินใจยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่เห็นว่าคุ้มค่าที่สุดค่ะ
3. ติดต่อธนาคารเก่าเพื่อขอ Statement สรุปยอดหนี้เงินกู้ และนำเอกสารสรุปยอดหนี้ที่ได้มาไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารใหม่ที่เราจะขอรีไฟแนนซ์
4. ทำเรื่องยื่นกู้ใหม่กับธนาคารใหม่ที่เราจะขอรีไฟแนนซ์ ซึ่งขั้นตอนการรีไฟแนนซ์นั้น เหมือนกับการขอสินเชื่อใหม่เหมือนเดิมทุกประการ
5. รอผลอนุมัติจากธนาคารที่ยื่นกู้ใหม่
6. เมื่อธนาคารอนุมัติแล้วให้ติดต่อธนาคารเก่า เพื่อนัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งธนาคารเดิมจะสรุปยอดหนี้ให้อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งชื่อผู้รับมอบอำนาจของทางธนาคารที่จะไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งเราต้องแจ้งยอดหนี้เป็นเงินต้นรวมดอกเบี้ยจนถึงวันไถ่ถอนแก่ธนาคารใหม่
1
7. ติดต่อนัดธนาคารใหม่ เพื่อนัดวันทำสัญญาและโอนทรัพย์ที่ใช้จำนองต้องเป็นวันเดียวกันกับที่นัดกับที่เดิมไว้
1
8. ทำเรื่องโอนที่ ณ สำนักงานที่ดินในเขตที่บ้านของเราตั้งอยู่ ทำการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยถ้ายอดกู้สูงกว่าราคาไถ่ถอน ธนาคารใหม่จะออกเช็คให้เรา 2 ใบ ใบหนึ่งจ่ายให้กับธนาคารเก่า และอีกใบหนึ่งให้เรา เมื่อจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว มอบโฉนดที่ได้มาจากสำนักงานที่ดินให้กับธนาคารใหม่ที่เราเป็นหนี้ ก็ถือว่ารีไฟแนนซ์เสร็จเรียบร้อย เป็นหนี้กับเจ้าหนี้ใหม่ทันที
1
⛳ ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาในการขอรีไฟแนนซ์ เพื่อประเมินว่าคุ้มค่าไหม ซึ่งก็ได้แก่
- ค่าปรับการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญาที่มีอยู่ ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน โดยบางแห่งคิดจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้เดิม หากรีไฟแนนซ์ทั้งก้อนก่อนครบกำหนด 3 ปี)
1
- ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)
1
- ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมิน ไม่เกิน 200,000 บาท (จ่ายให้กับกรมที่ดิน และไม่ต้องจ่ายถ้ารีไฟแนนซ์กับที่เดิม)
1
- ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 2,500 บาท-0.25% ของราคาประเมิน (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่ และอาจไม่ต้องจ่ายถ้ารีไฟแนนซ์กับที่เดิม)
1
- ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)
- ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)
1
การพิจารณาว่าการรีไฟแนนซ์แต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่ ให้พิจารณาดูส่วนต่างที่ประหยัดได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ ถ้าพิจารณาปัจจัยรวมต่าง ๆ แล้วว่าคุ้มค่า ก็ให้ยื่นกู้กับธนาคารได้เลย
💦.....อย่างไรก็ตาม การรีไฟแนนซ์ไม่ใช่ทางออกของการแก้หนี้ที่ดีที่สุด แต่ก็ช่วยบรรเทาภาระของเราไปได้บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการแก้หนี้ ก็คือการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราให้มีวินัยต่างหาก จึงจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาหนี้ที่ดีและยั่งยืนค่ะ
1
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷
โฆษณา