14 ส.ค. 2021 เวลา 23:40 • สุขภาพ
อัญชัญ ดอกไม้ที่ไม่ได้สวยแค่หน้าตา
ดอกอัญชัญ
พืชชนิดนี้น่าหลายคนน่าจะรู้จักประโยชน์ของอัญชัญเป็นอย่างดี ความมหัศจรรย์ของพืชที่มีสีไม่ใช่เพียงแค่ให้ความสวยงามเท่านั้น ดอกอัญชัญมีสีได้เพราะว่าส่วนที่เราเรียกว่า Sap vacuole ซึ่งส่วนนี้เราจะพบในพืช จะทำหน้าที่สะสมสารบางชนิด เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน ผลึกและสารพิษต่างๆ ดังนั้นสีกลีบของดอกอัญชัญที่เห็นเป็นสีน้ำเงินก็เป็นสารสีที่เราเรียกว่า แอนโทไซยานิน ละลายอยู่ใน Sap vacuole นั่นเอง
แอนโทไซยานิน(Anthocyanin )คือ สารที่อยู่ในกลุ่มของฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid )ซึ่งจะให้สีน้ำเงิน แดง และสีม่วงกับดอกไม้ ผักผลไม้ต่างๆ โดยช่วงแรกที่พบสารชนิดนี้ ได้จากการสังเกตองค์ประกอบทางเคมีของดอกไม้สีน้ำเงิน และยังพบอีกว่าสารชนิดนี้สามารถเปลี่ยนสีไปได้ตามค่าความเป็นกรด-ด่าง ต่างๆ ซึ่งหากอยู่ในสภาวะเป็นกลางจะได้สีม่วง หากอยู่ในสภาวะเป็นด่างจะได้สีน้ำเงิน และหากอยู่ในสภาวะเป็นกรดจะให้สีแดง ตัวอย่างพืช เช่น อัญชัญ กระเจี๊ยบแดง กะหล่ำปลีสีม่วง แรดิช ข้าวโพดสีม่วง มะเขือม่วง ตระกูลเบอร์รี่ องุ่นม่วง มันเทศสีม่วง ถั่วแดง ถั่วดำ ฯลฯ
สารแอนโทไซยานินมีสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ชะลอความแก่ เพิ่มการไหลเวียนเลือดเพราะฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด นอกจากนี้ในเรื่องความสวยงามสามารถนำอัญชันมาทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น
ส่วนใหญ่เราจะนำเสนอในด้านประโยชน์มากกว่า แต่อย่าลืมคำนึงถึงโทษด้วย ไม่ว่าสิ่งใดก็ตามในโลกนี้หากเกินไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดีทั้งนั้น ดังนั้นเราไม่ควรทำเครื่องดื่มน้ำอัญชันสีเข้มเกินไปเพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคโลหิตจางก็ไม่ควรดื่มน้ำอัญชัน หรือ อาหารจากดอกอัญชัน เพราะในดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
โฆษณา