16 ส.ค. 2021 เวลา 15:32 • ข่าว
จากสถานการณ์ใน ‘คาบูล’ ย้อนรอยสู่วัน ‘ไซ่ง่อน’ แตก
ผลพวงจากมหาอำนาจเข้าแทรกแซง และทอดทิ้ง
2
สื่อหลายสำนักที่มีการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ที่เวลานี้กลุ่มตาลีบัน ซึ่งเคยเป็นอดีตรัฐบาลสมัยก่อนที่สหรัฐจะส่งทหารมาโค่นล่มเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ได้กลับมาเถลิงอำนาจอีกครั้งและเข้ายึดเมืองต่างๆ ของประเทศด้วยความรวดเร็ว
2
ภายในระยะเวลา 1 เดือนตาลีบันสามารถยึดครองพื้นที่เกือบ 100% ในอัฟกานิสถานรวมทั้งเตรียมจัดตั้งรัฐบาลอัฟกันขึ้นมาใหม่ตามเจตนารมณ์ของกลุ่ม
5
ภาพเหตุการณ์ที่มีการเผยแร่ไปทั่วโลกที่ให้เห็นถึงความโกลาหลอลม่านอย่างมากในหลายเมืองของประเทศ ซึ่งที่กรุงคาบูลมีความวุ่นวายที่ชัดเจนที่สุด เพราะชาวอัฟกานิสถานต่างต้องการอพยพลี้ภัยออกจากประเทศทั้งทางรถ และเครื่องบิน แม้แต่ยอมเสี่ยงตายเกาะปีกเครื่องบินของกองทัพสหรัฐฯ เพื่อหนีไปให้พ้นจากดินแดนบ้านเกิด จนมีคลิปและภาพผู้คนพลัดตกลงมาเสียชีวิตจากเครื่องบินที่ทยานขึ้นสู่ท้องฟ้า
8
การประกาศถอนกำลังทหารของกองทัพสหรัฐฯ กลายเป็นเหมือนกับภาพเหตุการณ์วนลูบซ้ำ เหมือนกับครั้งที่กองทัพสหรัฐฯ ได้ทำสงครามเวียดนามเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว ซึ่งในขณะนั้นสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ ที่มีเมืองหลวงคือ กรุงไซง่อน หรือปัจจุบันคือ นครโฮจิมินห์ เพื่อต่อต้านกับลัทธิระบอบคอมมิวนิสต์ที่กำลังเบ่งบานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเวียดนามเหนือที่ใช้ระบอบนี้อยู่ และต้องการที่จะกลืนเวียดนามใต้ให้กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ
8
หลายคนรู้ว่าในสงครามคราวนั้นสหรัฐฯ คือฝ่ายพ่ายแพ้จนแทบหมดรูป ชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งที่เคยชนะในสงครามโลก กลับไม่สามารถต่อกรกับประเทศเล็กๆ ด้อยพัฒนาได้ และการสนับสนุนเวียดนามใต้เพื่อก่อร่างสร้างประเทศตามระบอบประชาธิปไตยก็ล้มเหลวลง สุดท้ายสหรัฐฯ ตัดสินใจถอนกำลังออกจากเวียดนามใต้แบบกะทันหัน และนั่นก็กลายเป็นวันที่เรียกว่า ‘ไซ่ง่อนแตก’ หรือวันที่คอมมิวนิสต์จากทิศเหนือกลืนกินเวียดนามใต้จนกลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อระบอบให้ดูซอฟลงว่า ‘ระบอบสังคมนิยม’
5
🔵 ย้อนรอยสงครามเวียดนาม เมื่อคนชาติเดียวกันที่รบกันเอง
หลังจากที่เวียดนามได้ปลดแอกตัวเองออกจากการอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส อดีตเจ้าอาณานิคมในยุทธการเดียนเบียนฟู เมื่อปี พ.ศ. 2497 ท่ามกลางยุคสงครามเย็นที่โลกถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจนคือ ขั้วเสรีนิยมประชาธิปไตยนำโดยสหรัฐอเมริกา กับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียต (รัสเซีย) และจีน
6
เวียดนามก็ถูกแบ่งเป็นฝั่งเหนือกับฝั่งใต้ คือเวียดนามเหนือ มีความเชื่อในระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีจีนและโซเวียตหนุนหลัง และเวียดนามใต้ที่เชื่อในความเป็นเสรีนิยมโดยมีสหรัฐฯ หนุนอยู่
5
ด้วยการที่เวียดนามเหนือและใต้ มีความเชื่อด้านการปกครองที่แตกต่างกัน และไม่อาจจะอยู่ร่วมกันได้ สงครามระหว่างญวณเหนือ-ญวณใต้ ก็เริ่มต้นในปี 2498 สหรัฐฯ ที่ส่งทหารข้ามน้ำข้ามทะเลเข้าไปร่วมรบอย่างเปิดเผยพร้อมกับชาติพันธมิตรโดยเฉพาะประเทศไทย ที่ให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในหลายจังหวัด รวมถึงรับสมัครชาวไทยไปร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกัน เพื่อปกป้องเวียดนามใต้ไม่ให้ถูกเวียดนามเหนือยึดครอง
4
สำหรับสหรัฐฯ นั้นมองว่าเวียดนามใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ หากพ่ายแพ้อาจเป็นไปตาม “ทฤษฎีโดมิโน” ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะกลายเป็นรัฐสังคมนิยมทั้งหมด
3
แต่ดูเหมือนว่าที่เวียดนามใต้ดำรงความเป็นประเทศมาได้นับสิบปี เป็นเพราะการหนุนหลังจากสหรัฐฯ ล้วนๆ เพราะกระแสของชาวเวียดนามใต้ในขณะนั้นจำนวนมากดูจะมีใจฝักใฝ่เวียดนามเหนือเสียมากกว่า เนื่องด้วยการเมืองภายในของเวียดนามใต้ เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเองของชนชั้นนำ ส่วนประชาชนคนหาเช้ากินค่ำต่างก็ชาชินกับการคอร์รัปชั่น ทุจริตกินสินบนกันทุกระดับของเจ้าหน้าที่รัฐตั้งแต่ปลายแถวขึ้นไปถึงบรรดาบิ๊กๆ
7
🔵 สงครามตัวแทนของโลกเสรีนิยม และคอมมิวนิสต์
1
สงครามที่เกิดขึ้นในเวียดนามเป็นเหมือนกับสงครามตัวแทนของความต่างในระบอบการปกครองและความเชื่อ ที่ชาติมหาอำนาจเป็นผู้กำหนด และการที่สหรัฐฯ ไม่ได้เก่งกาจในสมรภูมิที่ไม่คุ้นเคยนี้ ทำให้ทหารอเมริกันจำนวนมากต้องบาดเจ็บล้มมหาศาล ซึ่งกลายเป็นคำถามที่ชาวอเมริกันสงสัยว่า ทำไมต้องส่งสามีหรือลูกชายของพวกเขาไปทำสงครามที่นั่น เพราะไปแล้วก็ไม่ได้อะไรนอกจากความเจ็บปวดและความสูญเสียของครอบครัวทหารที่ต้องจากบ้านไปรบ
6
การสู้รบกินเวลายาวนานถึง 20 ปี จนถึงปี 2518 แรงกดดันมหาศาลจากสงครามที่อเมริกาไม่มีวันชนะ ทำให้ “ริชาร์ด นิกสัน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น (ปี 2512-2517) ต้องคิดถึงแผนการถอนกำลังทหารอเมริกันออกจากเวียดนามใต้อย่างจริงจัง
นิกสันเรียกแผนดังกล่าวว่า “การทำให้เป็นเวียดนาม (Vietnamization)” โดยจะทยอยยกเลิกการคงกองกำลังทหารสหรัฐฯ ภาคพื้นดิน เปลี่ยนเป็นการฝึกอบรมให้ทหารเวียดนามใต้สามารถต่อสู้ด้วยตนเอง ซึ่งสหรัฐฯ จะสนับสนุนเฉพาะการโจมตีทางอากาศเท่านั้น แต่แล้วแผนดังกล่าวดูจะไม่ได้ผลนัก ทหารเวียดนามใต้ไม่มีศักยภาพในการรบหากเทียบกับฝ่ายเวียดนามเหนือ เมื่อไม่มีทหารสหรัฐฯ ร่วมรบ กองทัพเวียดนามใต้ก็อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
5
🔵 อเมริกาทอดทิ้งเพื่อให้จัดการกันเอง
1
ช่วงหลังๆ ก่อนที่จะใกล้สิ้นสุดสงคราม สหรัฐฯ ได้มีการถอนกำลังรบให้เหลือเพียงแค่การสนับสนุนการโจมตีทางอากาศ แต่สุดท้ายแล้วการประท้วงต่อต้านรัฐบาลกับการทำสงครามในสหรัฐฯ ก็เข้มข้นดุเดือดถึงขั้นเหตุจลาจลรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิต
1
ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องตัดสินใจที่จะถอนทหารออกทั้งหมดในปี 2516 ปล่อยให้เวียดนามทั้ง 2 ทำสงครามกันเองต่อไป ซึ่งการที่ไม่มีสหรัฐฯ คุ้มกะลาหัวเวียดนามใต้ ทำให้เวียดนามใต้ไม่สามารถต้านทานความแข็งแกร่งของกองทัพเวียดนามเหนือได้อีกต่อไป
3
จนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2518 กองทัพเวียดนามเหนือสามารถยึดกรุงไซ่ง่อน ของเวียดนาใต้ได้สำเร็จ และประกาศรวมประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ในที่สุด พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น ‘โฮจิมินห์ซิตี้’ ตามชื่อของผู้นำเวียดนามเหนือ
ภาพการอพยพนักการทูต เจ้าหน้าที่ของสหรัฐออกจากไซ่ง่อน ก็ให้อารมณ์ไม่ต่างอะไรกับที่กรุงคาบูล แต่ในส่วนของประชาชนชาวเวียดนามใต้ในตอนนั้นกลับไม่ได้ต้องการหนีตายถึงขนาดยอมบุกสนามบินเพื่อที่จะให้ได้โดยสารเครื่องบินออกจากประเทศ เพราะชาวเวียดนามใต้ต่างก็รู้สึกฝักใฝ่เวียดนามเหนืออยู่บ้างแล้ว ดังนั้นการบุกเข้ามาของกองทัพเวียดนามเหนือจึงไม่ได้รับการต่อต้านมากนัก
6
แต่สำหรับอัฟกานิสถานนั้นแตกต่างกันออกไป เพราะผู้คนที่อยู่ในยุคการปกครองของตาลีบันเข้าใจถึงความไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพ และการถูกกดขี่สารพัดที่รัฐบาลตาลีบันได้ทำไว้ และการที่หลายคนเกิดและเติบโตในยุคที่สหรัฐฯ เข้ามาก็มีความเสรีภาพอยู่บ้างเล็กน้อยกว่าสมัยก่อน ผู้หญิงมีสิทธิ์ในการศึกษา ประกอบอาชีพ และได้รับความคุ้มครองมากกว่า
7
แต่พอตาลีบันกลับมาก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนจะพยายามหนี เพราะไม่มีใครเชื่อน้ำหน้าตาลีบันว่าจะเข้ามาปกครองโดยไม่นำหลักกฎหมายอิสลามแบบเข้มข้นเหมือนเดิมมาใช้ แม้จะมีการบอกว่าจะไม่มีการกระทำที่รุนแรงและลิดรอนสิทธิ์ของประชาชน และชาวต่างชาติก็ตาม แต่หลายคนเลือกที่จะไม่เชื่อ และหนีออกจากประเทศแทนนั่นเอง
6
ต่อให้เหตุการณ์ใน คาบูล หรับ ไซ่ง่อน จะเหมือนกันหรือไม่ก็ตาม แต่ก็คงตอบได้ไม่เต็มปากว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมจากผลพวงของการที่มหาอำนาจเข้าไปจัดแจงในประเทศอื่น และเมื่อหมดประโยชน์ หมดหนทางก็ทิ้งออกมา ปล่อยให้ปัญหาที่คนนอกสร้างเอาไว้ให้คนในรับมือตามยถากรรมกันเอง
3
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
5
โฆษณา