18 ส.ค. 2021 เวลา 07:02 • ปรัชญา
ผู้หญิง บรรลุธรรมยากกว่า ?
ชาย กับ หญิง มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน
คำว่า อาร์ทตัวแม่ ไม่ใช่ฉายาที่ได้มาลอย ๆ
ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัยส่งผล
เหตุปัจจัยให้รูปนามนี้ได้ความเป็นหญิงมาก็เช่นกัน
ทำไมจิตถึงได้ไปเกิดในเพศสภาพที่ต่างกัน
ไม่ใช่วิสัยที่ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้
แต่สิ่งที่ประจักษ์ชัดคือ จิตไม่มีเพศ
แต่ธรรมชาติทางกายภาพของชาย หญิงต่างกัน
ใจสองดวงที่ชอบพอกัน ตกลงปลงใจกัน
จึงไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ
จากการสังเกต ประสบการณ์ของผู้เขียนเอง
ส่วนมากจิตที่เกิดในผู้หญิงจะมีความซับซ้อนกว่า
ละเอียดอ่อน ยุ่งยาก จุกจิก งอแง ง้องแง้ง เยอะสิ่งกว่า
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคน
แต่ที่ไหนมีผู้หญิงรวมกลุ่มกันเยอะ ๆ
ปัญหาจุกจิกจะตามมาเป็นพรวน
ในทางทฤษฎีแล้ว
ทุกเพศสภาพสามารถเข้าถึงธรรมได้เสมอกัน
แต่ในทางปฏิบัติ
มันมีหลายเหตุปัจจัยมากกว่านั้น
มันขึ้นอยู่กับอุปนิสัยที่สะสมกันมาด้วย
ผู้หญิงบางคนนิสัยแมนกว่าผู้ชายก็เยอะแยะ
ดังนั้น ภาพจำของคนหมู่มาก
ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของแต่ละบุคคลได้
ต้องมองกันเคสบายเคส
อย่างคำว่า stereotype
ใช้อธิบายลักษณะของคนส่วนใหญ่ในแต่ละกลุ่ม
หรือทัศนคติแบบเหมารวม
ไม่สามารถใช้ตัดสินคน ๆ นั้น หรือใคร ๆ ได้
คนไทยยิ้มง่ายทุกคนมั้ย ก็ไม่ใช่
คนจีนเสียงดังทุกคนมั้ย ก็ไม่ใช่
ผู้หญิงจุกจิกทุกคนมั้ย ก็ไม่ใช่
ฉะนั้น จะบอกว่าผู้หญิงบรรลุธรรมยากกว่ามั้ย
ก็ต้องว่ากันเฉพาะรายบุคคล
หากดูตามประวัติศาสตร์แล้ว
ผู้หญิงบรรลุธรรมกันมากมาย
แต่จะบอกว่าเพศสภาพไม่เกี่ยวเลยก็คงไม่ใช่
ผู้หญิงมีข้อจำกัดมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ถูกกดขี่ กดดันจากสังคมมาอย่างยาวนาน
แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่สุด
เพราะความหลุดพ้นอยู่ที่ "จิต"
ไม่มีตัวผู้หลุดพ้น
จิตหลุดพ้น
สรุปว่า ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตน
เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละบุคคล
ค่าเฉลี่ยของสังคมไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจง ตัดสินใครได้
เป็นเรื่องปัจจัตตัง เส้นทางใครเส้นทางมัน ...
:
ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลจะเป็นตัวตัดสินเอง
คนที่ไม่รู้สึกว่าผู้หญิงจะบรรลุธรรมยากกว่าตรงไหน
มันก็จะเป็นจริงตามนั้น ...
ธรรมในชั้นโลกุตระไม่ได้เหมาะกับทุกคน
ไม่ใช่ทุกคนที่จะยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้านี้
บุคคลบางคนเกิดมาเพื่อบรรลุธรรม
บุคคลบางคนเกิดมาเพื่อสะสมบารมีธรรม
บุคคลบางคนเกิดมาเพื่อสะสมความไม่รู้ต่อไป
เป็นเรื่องที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละบุคคล
การดำรงชีพชอบโดยหลักแห่งมหาปุริสวิตก
(แปดอย่าง)
(หรือการดำรงชีพชอบของพระอริยเจ้า)
[ ดีละ ดีละ อนุรุทธะ !
ดีละ ที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า : -
“ ๑. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีความปรารถนาน้อย,
ธรรมมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่.
๒. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สันโดษ,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ.
๓. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สงบสงัด,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่.
๔. ธรรมะนี้ สำหรับผู้ปรารภความเพียร,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน.
๕. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีสติอันหลงลืม.
๖. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่น,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้มี จิตไม่ตั้งมั่น.
๗. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีปัญญา,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้.
1
อนุรุทธะ !
แต่เธอควรจะตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ด้วยว่า :-
“๘. ธรรมะนี้ สำหรับผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า ๑,
ผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า,
ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้า
ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า” ดังนี้.
๑. ธรรมที่ทำความเนิ่นช้าแก่การบรรลุนิพพาน
คือตัณหา มานะ ทิฏฐิ.
เขาเป็นผู้ยินดีพอใจในความปราศจากตัณหา
มานะ ทิฏฐิ. ]
- อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๓๓-๒๓๕/๑๒๐.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา