19 ส.ค. 2021 เวลา 01:59 • การศึกษา
สร้างละครเพื่อแก้พฤติกรรมที่ไม่ดี
ในประเทศเกาหลี สื่อเขาสร้างหนังที่พระเอกเป็นผู้ชายอบอุ่น โรแมนซ์ เพราะสังคมเขาผู้ชายที่แต่งงานแล้วถือว่ามีสิทธิ์เด็ดขาดในตัวภรรยาและบ้านเมืองเขา มีข่าวตบตีภรรยาในครอบครัวสูงมาก ถ้าติดตามเขาจึงใช้กลยุทธ์ของ Modeling Process สร้างค่านิยมใหม่ในสังคมให้ผู้ชายเป็นคนโรแมนติคมากขึ้น นี่คือการสร้างหนังเพื่อปรับพฤติกรรมคน
แม้กระทั่งในญี่ปุ่น เขาก็สร้างการ์ตูนผู้พิทักษ์ต่างๆ อุลตร้าแมน ฯลฯ เพื่อให้เด็กซึมซับความยุติธรรม การต่อสู้กับความชั่ว หรือในประเทศจีน ก็จะมีหนังในทำนองนี้เช่นกัน...
ย้อนกลับมามองประเทศไทยสิ! ทำไมละครไทยถึงมีแต่เรื่องเดิมๆ เป็นอยู่อย่างนี้มา 50 กว่าปี พออาจารย์ไปถามผู้จัด ก็ได้รับคำตอบว่า “เราสร้างละครเหล่านี้เพื่อสะท้อนสังคม” เราจะไป "สะท้อนสังคม" เพื่ออะไร เพราะเราสะท้อนมากว่า 50 ปีแล้ว และเนื้อเรื่องมันก็วนเวียนอยู่แค่แย่งตบตีกันแค่นั้น
ทำไมเราไม่สร้างละคร "เพื่อนำสังคม" เพื่อจูงใจให้เกิดพฤติกรรมดีๆ ล่ะ มัวแต่ไปสร้างเพื่อสะท้อนสังคม มันก็ไม่เห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมเลยสักนิด ในทางจิตวิทยาแล้ว สื่อมีบทบาทสำคัญมากๆ ในกระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวแบบ...
จากคำบรรยายของอาจารย์ภาคจิตวิทยา
ขอบคุณที่มา : ค่ายจับจิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โฆษณา