24 ส.ค. 2021 เวลา 11:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักดาราศาสตร์ตรวจจับแสงจากด้านหลังหลุมดำได้เป็นครั้งแรก
เทคโนโลยีอันก้าวหน้าในปี ค.ศ. 2021 นี้ทำให้การค้นพบใหม่ๆเกี่ยวกับหลุมดำเกิดขึ้นหลายอย่าง โดยล่าสุดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่เพิ่งผ่านมานี้ นักดาราศาสตร์ค้นพบแสงจากด้านหลังหลุมดำเป็นครั้งแรก และได้เผยแพร่งานวิจัยนี้ลงในวารสาร Nature
ปกติแล้ว สิ่งใดก็ตามที่ตกเข้าไปในหลุมดำ ไม่สามารถหลุดกลับออกมาได้อีก แม้แต่แสงซึ่งมีความเร็วสูงสุดในเอกภพ แต่แก๊สที่วนอยู่รอบๆหลุมดำมีอุณหภูมิสูงมาก (ในระดับล้านองศาเซลเซียส) จนแก๊สแตกตัวเป็นพลาสมาและเกิดการแผ่รังสีเอกซ์ออกมาอย่างรุนแรง นี่เป็นหนึ่งคุณลักษณะสำคัญที่ทำให้นักดาราศาสตร์ตรวจจับหลุมดำได้
แต่ในการค้นพบนี้ นักดาราศาสตร์ค้นพบในรายละเอียดว่า รังสีเอกซ์ที่แผ่ออกมาโดยรอบ เกิดการสะท้อนกับแก๊สและสสารรอบๆหลุมดำ ที่น่าสนใจคือ รังสีเอกซ์ที่แผ่ออกไปด้านหลังหลุมดำนั้น ยังเกิดการสะท้อนแล้วเดินทาง "อ้อม" หลุมดำ กลับมาทำให้นักดาราศาสตร์ตรวจจับได้(คล้ายกับเสียงที่ดังกึกก้อง) เนื่องจากสนามความโน้มถ่วงของหลุมดำมีความเข้มมากจนทำให้รังสีเอกซ์เดินทางโค้งได้นั่นเอง
3
ที่มา : esa
เดิมที แค่ตรวจจับรังสีเอกซ์จากหลุมดำให้ได้ก็เป็นเรื่องท้าทายมากแล้ว แต่การค้นพบเป็นการมองเห็นถึงรายละเอียดอันน่าทึ่งแบบก้าวกระโดดทีเดียว การศึกษาเรื่องของหลุมดำนับจากนี้ไปน่าพบเห็นอะไรเพิ่มขึ้นอีกมาก
โฆษณา