29 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • ไลฟ์สไตล์
เครียด เศร้า เหงา? ไม่รู้จะบอกใคร แต่เขียนจดหมายบอกได้ด้วย 30-Day Letter Challenge
.
.
เคยไหม? เครียด! แต่ไม่รู้จะบอกใคร อยากเล่าให้ใครสักคนฟัง แต่ไม่รู้จะบอกดีไหม สุดท้ายก็เก็บเรื่องนั้นไว้กับตัวเองคนเดียว หรือเคยหรือเปล่า? อยากบอกอะไรบางอย่างกับใครสักคน แต่ก็ไม่กล้าพูดตรงๆ อาจเพราะไม่มีความมั่นใจ หรือบริบทบางอย่างทางสังคมที่ทำให้ไม่สามารถพูดทุกอย่างที่อยู่ในใจออกไปได้
.
ถ้าอย่างนั้น ลองมาระบายด้วย ‘30-Day Letter Challenge’ ชาเลนจ์เขียนจดหมายถึงคน 30 คน ใน 30 วันกันแทนสิ!
.
.
หลายคนอาจคุ้นเคยกับการทำ 30-Day Challenge กันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการท้าตัวเองทำอะไรสักอย่าง เช่น ออกกำลังกาย เก็บเงิน อ่านหนังสือ และอื่นๆ อีกมากมายเป็นเวลา 30 วัน
.
3
ว่าแต่ทำไมต้องทำชาเลนจ์ตั้ง 30 วันด้วยล่ะ?
จาก ‘ทฤษฎี 21 วัน’ ของ Dr.Maxvel Maltz บอกว่า การกระทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ เป็นเวลา 21 วันขึ้นไป จะทำให้คนเราเริ่มเคยชินกับสิ่งนั้น จนกลายเป็นนิสัย และมีแนวโน้มจะทำพฤติกรรมนั้นต่อไปได้ในอนาคต ถ้าอยากฝึกหรือปรับเปลี่ยนนิสัยอะไรก็แนะนำว่าให้ลองทำสิ่งนั้นซ้ำๆ เกิน 21 วันกันดู แถมการทำอะไรบางอย่างเป็น ‘ชาเลนจ์’ ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่ชอบการแข่งขัน และความท้าทาย คอยเป็นแรงผลักดันให้อยากทำสิ่งนั้นต่อไปได้เรื่อยๆ
.
.
5
ดังนั้น 30-Day Letter Challenge จึงเหมาะสำหรับคนที่อยากเริ่มฝึกสกิล ‘การเขียน’ ให้ติดเป็นนิสัย แต่ไม่รู้จะเริ่มจากอะไรดี ทั้งที่รู้ว่าการเขียนมีประโยชน์ยังไง แต่พอลองเริ่มฝึกเขียนดูจากการเขียนไดอารี่ ก็เขียนได้ไม่ถึง 3 วันก็ล้มเลิกกลางคันไปซะก่อน หรือจะลองทำตามชาเลนจ์ Free Writing เขียนตามหัวข้อที่กำหนด แต่บางวันก็หมดแรง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใดๆ ไม่รู้จะจินตนาการอะไรลงไปดี
.
แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าการเขียนมีประโยชน์อย่างไร
ลองมาทำความรู้จักประโยชน์ของการเขียนหลังตื่นนอนกันก่อน >> https://bit.ly/3BlAbAm
และการเขียนด้วยมือเพื่อช่วยเพิ่มความจำกันได้ที่ >> https://bit.ly/3kpnDkO
.
2
ถ้าลองฝึกการเขียนมาหลายวิธีแล้วยังไงก็ไม่เวิร์ก! ลองเปลี่ยนมาเป็น การเขียนเล่าเรื่องแต่ละวันถึง ‘ใครสักคน’ เป็นจดหมาย (แต่ไม่ต้องส่ง) แทนดูไหม?
.
การเขียนแบบนี้เป็นเหมือนตัวช่วยสำรวจอารมณ์ความรู้สึกตัวเองในแต่ละวัน และทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเครียด เศร้า หรือเหงาจากอะไรมา การได้ (สมมติ) ว่าได้ระบายหรือพูดคุยกับใครสักคน จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
.
.
ถ้างั้นมาเริ่มกันเลยดีกว่า!
.
1
Day 1 เพื่อนสนิท
Day 2 แฟน/คนที่คุณชอบ
Day 3 พ่อแม่
Day 4 ญาติพี่น้อง
Day 5 ความฝันของคุณ
Day 6 คนแปลกหน้าที่เคยเจอ
Day 7 แฟนเก่า/คนคุยเก่า
Day 8 คนที่คุณนึกถึงเวลาเจอปัญหา
Day 9 คนที่คุณอยากเจอตอนนี้
Day 10 คนที่คุณอยากคุยด้วยมากกว่านี้
Day 11 คนที่คุณเป็นห่วง
Day 12 คนที่คุณเกลียดที่สุด
Day 13 คนที่คุณอยากให้เขาอภัยให้คุณ
Day 14 คนที่คุณตีตัวออกห่าง
Day 15 คนที่คุณคิดถึงที่สุด
Day 16 คนที่มาจากคนละประเทศกับคุณ
Day 17 คนในความทรงจำวัยเด็ก
Day 18 คนที่คุณอยากเป็นแบบเขา
Day 19 คนที่รบกวนจิตใจคุณ (ทั้งทางที่ดีและแย่)
Day 20 คนที่ทำให้คุณเจ็บที่สุด
Day 21 คนที่คุณตัดสินเขาตั้งแต่เจอครั้งแรก
Day 22 คนที่คุณอยากให้โอกาสเขาอีกครั้ง
Day 23 คนที่คุณเจอล่าสุด
Day 24 คนที่สร้างความทรงจำที่ดีให้คุณ
Day 25 คนที่ตอนนี้กำลังประสบปัญหาอยู่
1
Day 26 คนที่คุณเคยเกี่ยวก้อยสัญญาด้วย
Day 27 คนที่สนิทกันไวที่สุด
Day 28 คนที่เปลี่ยนชีวิตคุณ
Day 29 คนที่คุณมีอะไรอยากบอกแต่ไม่กล้าบอก
Day 30 ตัวคุณเอง
.
.
3
ว่าแต่จะเริ่มเขียนยังไงดี?
.
วิธีการเขียนก็ง่ายๆ ก่อนอื่นต้องหาเวลาว่างตัวเอง ระหว่างเขียนต้องตัดตัวเองออกจากสิ่งรบกวนต่างๆ ไม่แอบไปทำอย่างอื่น หรือเล่นโทรศัพท์มือถือไปด้วยเด็ดขาด หลังจากนั้น ลองสมมติสถานการณ์ว่า ถ้าต้องเขียนจดหมายถึงแต่ละคนตามหัวข้อแต่ละวัน จะเขียนถึงใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จัก หรือแม้แต่คนดัง ดารา นักร้องที่ชื่นชอบ โดยสามารถเลือกเขียนถึงได้แค่คนเดียวเท่านั้นจากแต่ละหัวข้อ แล้วเล่าไปว่า “มีอะไรอยากบอกเขาคนนั้น?”
.
อาจเล่าไปถึงสถานการณ์ที่เจอกันตั้งแต่ครั้งแรก สิ่งที่ประทับใจ สิ่งที่ชอบและไม่ชอบในตัวเขา ความทรงจำที่มีร่วมกัน ความรู้สึกที่เจอตอนนั้น รวมไปถึงความรู้สึกที่มีตอนนี้
.
หรือถ้าไม่มีอะไรจะพูดด้วยจริงๆ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นการสมมติว่ากำลัง ‘เล่าเรื่อง’ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นของคุณให้กับคนในหัวข้อนั้นฟัง เป็นเหมือนการเขียนไดอารี่อีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ แต่แค่เป็นการเขียนไดอารี่ที่ (สมมติ) ระบายให้ ‘คนอื่น’ ฟังแทน
.
แต่ที่สำคัญ ย้ำไว้เลยว่า “ไม่ต้องส่ง” ไปให้คนนั้นอ่านนะ! แค่เก็บไว้กับตัวเองดีๆ ก็พอแล้ว
.
.
ถ้าวันไหนคุณรู้สึกสับสนหรือว้าวุ่นใจ ก็ลองปลดปล่อยตัวเองออกมาผ่านปลายปาก จรดลงบนหน้ากระดาษในสมุดข้างหน้า เพราะการเขียนจะคอยเป็น ‘เพื่อน’ เยียวยารักษาจิตใจคุณเอง
.
ถ้าใครลองทำครบ 30 วันแล้ว กลับมารีวิวผลลัพธ์ต่อกันด้วยนะ!
.
.
1
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
- เข้าใจอารมณ์ด้วย “Unsent Letter” จดหมายที่เขียนไว้แต่ไม่ได้ส่ง: https://bit.ly/3zpkxDB
.
.
อ้างอิง:
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
โฆษณา