30 ส.ค. 2021 เวลา 23:39 • การเมือง
กลุ่มตอลิบานเอาชนะสงครามเหนือเทคโนโลยีสุดล้ำจากโลกตะวันตกได้อย่างไร
3
ต้องบอกว่าสงครามนั้นเป็นช่วงเวลาครั้งสำคัญของมนุษย์เราในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และผู้ชนะมักจะเป็นฝ่ายที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากที่สุดอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ตัวอย่างเช่นในอัฟกานิสถาน
3
กลุ่มตอลิบานเอาชนะสงครามเหนือเทคโนโลยีสุดล้ำจากโลกตะวันตกได้อย่างไร
สงครามที่ยืดเยื้ออย่างยาวนานกว่า 20 ปี ผ่านเทคโนโลยีมามากมาย กลุ่มตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกานั้น นำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสงครามมาใช้รบในดินแดนแห่งนี้อย่างบ้าคลั่ง ไม่ว่าจะเป็นสงครามโดรน หรือเทคโนโลยีหุ่นยนต์สุดล้ำอื่น ๆ
ทุกอย่างเริ่มต้นในปี 2001 หลังเหตุการณ์ 9/11 ที่สหรัฐฯ นั้นเริ่มต้นด้วยการโจมตีทางอากาศด้วยเครื่องบิน B-52 ถล่มอัฟกานิสถานอย่างหนัก โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของกลุ่มตอลีบาน ที่มองว่ามีความเกี่ยวข้องกับโอซามา บิน ลาเดน
1
กลุ่มตอลีบานเริ่มต้นด้วยอาวูธธรรมดา ๆ เช่น ปืน AK-47 แต่ปัจจุบัน พวกเขาไม่ได้ใช้เพียงแค่อาวุธที่มายิงถล่มใส่กันเพียงอย่างเดียวแล้วเท่านั้น อาวุธใหม่ที่สำคัญของพวกเขาก็คือ โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ต
1
ไม่เพียงแค่นำมาใช้ในการสั่งการหรือควบคุมอาวุธเพียงเท่านั้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น พวกเขาใช้มันในการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ที่ทำให้พวกเขาสามารถเอาชนะในสงครามคร้งนี้ได้สำเร็จ
1
สำหรับกลุ่มตอลีบานแล้วนั้น พวกเขาได้เผชิญหน้ากับกองกำลังต่างชาติหลายแสนนายจากประเทศพันธมิตร NAT รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่เป็นพี่ใหญ่ในสงครามดังกล่าว
พวกเขาต้องเผชิญกับอาวุธทุกรูปแบบ ทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศ ทำให้พวกเขาต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่เครื่องมือการต่อสู้ของพวกเขาในช่วงแรก ๆ นั้นยังเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน อย่างปืน กระสุน วิทยุ และผ้าคลุมศรีษะ ทำให้พวกเขาต้องหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอื่น ๆ หรือ ต้องมีการพัฒนาขีดจำกัดของตนเองให้สูงขึ้น
2
ตัวอย่างสำคัญที่น่าสนใจก็คือ ระเบิดแสวงเครื่อง IED ซึ่งอาวุธเหล่านี้สามารถทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
1
ระเบิดแสวงเครื่อง IED ทำให้เหล่าทหารของพันธมิตร NATO และสหรัฐฯ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
โดยระเบิดเหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจากช่วงกลางของสงคราม และเทคโนโลยีทางด้านมือถือทำให้ กลุ่มตอลีบานสามารถใช้มือถือจุดระเบิดได้จากทุกที่ที่มีสัญญาณมือถือ เนื่องจากพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่ต่ำกว่าของกลุ่มตอลิบาน ทำให้พวกเขาต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมการต่อสู้ออกมาให้มากที่สุด
1
แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่แท้จริงของกลุ่มตอลีบานนั้นเกิดขึ้นในระดับยุทธศาสตร์ โดยอาศัยเครื่องมืออย่างโซเชียลมีเดีย ที่ตะวันตกเป็นคนคิดค้นขึ้นมา
2
ตั้งแต่ช่วงปี 1996 – 2001 นั้น กลุ่มตาลิบาน มักอาศัยอยู่อย่างสันโดษ และมีรูปถ่ายที่รู้จักเพียงรูปเดียวของผู้นำของพวกเขา คือ มุลเลาะห์ โอมาร์
แต่นับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 กลุ่มตอลิบาน ได้พัฒนาทีมประชาสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การโจมตีด้วย IED มักจะถูกบันทึกวีดีโอโดยโทรศัพท์มือถือ และ อัปโหลดไปยังฟีดของ Twitter ของกลุ่มตอลีบาน มันเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือของโลกตะวันตกแทบจะทั้งสิ้น
2
แน่นอนว่า มันเป็นการช่วยสรรหานักรบกลุ่มใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ การระดมทุน และสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับกลุ่มนักรบของพวกเขาอีกด้วย
แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ นั้นต้องบอกว่า เทคโนโลยีต่างกันแบบฟ้ากับเหว เพราะกองกำลังตะวันตกสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับโลกได้อย่างหลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นระบบการตรวจจับจากอากาศยาน ไปจนถึงระบบที่สามารถสั่งการระยะไกล เช่น หุ่นยนต์และโดรน แต่เทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกมุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บล้มตายของทหารฝ่ายพันธมิตรเสียมากกว่าการบุกตะลุยเพื่อสังหารกลุ่มนักรบของตอลีบาน
1
กองกำลังของชาติตะวันตกนั้นลงทุนอย่างหนักในอาวุธที่จะลดการสูญเสียของกองกำลังฝ่ายตน เช่น โดรน หรือ เทคโนโลยีที่สามารถช่วยเหลือการรักษาพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที
3
การโจมตีด้วยโดรนที่ช่วยลดการสูญเสียของกองกำลังพันธมิตร
หรือสิ่งที่ป้องกันศัตรูจากระยะประชิด หรือ ปกป้องทหารจากอันตราย เช่น เรือรบ ชุดเกราะ ระบบการตรวจจับระเบิดบนท้องถนน
1
ซึ่งรัฐบาลอัฟกานิสถานเอง ก็ต้องอยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างกองกำลังทั้งสองฝ่าย รัฐบาลของอัฟกานิสถานเอง ก็ไม่ได้พัฒนากองกำลังของตนเองให้พร้อมที่จะสู้รบกับกลุ่มตอลิบานแต่อย่างใด
แน่นอนว่าพวกเขาไม่อยู่ในฐานะที่จะสร้างหรือดำเนินการระบบการต่อสู้ขั้นสูงด้วยตัวของพวกเขาเอง ชาติตะวันตกก็ไม่ได้เต็มใจที่จะจัดหาอาวุธที่ล้ำสมัยให้กับชาวอัฟกัน โดยกลัวว่าอาวุธที่ให้ไปนั้น ท้ายที่สุดจะตกไปอยู่กับกลุ่มตอลีบานนั่นเอง
และที่สำคัญการทำงานร่วมกับสหรัฐฯ หมายความว่าอัฟกานิสถานไม่มีอิสระที่จะมองหาแหล่งทางเลือกอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับพวกเขา
เรื่องราวของตอลิบาน มันแสดงให้โลกได้เห็นว่า เทคโนโลยีมันไม่ใช่เครื่องมือที่รับประกันชัยชนะ แต่เพียงแค่อาวุธพื้นฐาน รวมถึงอุปกรณ์อย่างมือถือ และแรงผลักดันจากจิตวิญญาณที่พร้อมจะสู้อย่างอดทนของพวกเขาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
2
ซึ่งเมื่อเวลายิ่งผ่านพ้นไป เทคโนโลยีอาจไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดในชัยชนะของสงครามได้อีกต่อไป แต่นวัตกรรมอาจจะสามารถนำพาให้ประสบกับชัยชนะได้ โดยเฉพาะการต่อสู้กับกลุ่มคนที่ไม่มีอะไรจะเสีย เฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตอลิบานที่เอาชนะสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จนั่นเองครับผม
4
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ร่วมสนับสนุน ด.ดล Blog และ Geek Forever Podcast
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิต Content ดี ๆ ให้กับท่าน
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา