9 ก.ย. 2021 เวลา 07:57 • สุขภาพ
เด็กไทย อาจเริ่มต้นฉีดวัคซีนป้องกันโควิดด้วย
Sinopharm หรือ Sinovac ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชื้อตาย ที่มีความปลอดภัยในวัคซีนหลายชนิด
A) เด็ก
1) เป็นผู้ที่มีร่างกายยังไม่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงเต็มที่เหมือนผู้ใหญ่
2) ระบบการทำงานต่างๆรวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่
3) การตอบสนองต่อการติดเชื้อของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่มาก
B) เด็กกับโรคโควิด-19
1) เด็กติดเชื้อแล้วมักไม่ค่อยแสดงอาการ (Asymptomatic)
2) ในกลุ่มเด็กที่แสดงอาการ มักมีอาการเพียงเล็กน้อย โอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตมีน้อยมาก (ยกเว้นมีโรคประจำตัว)
3) เด็กสามารถแพร่เชื้อให้ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุได้ รวมทั้งรับเชื้อจากผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเดียวกัน
C) เด็กกับวัคซีนโควิด-19
1) มีรายงานการทดลองวัคซีนในเด็ก ที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์มากเท่ากับในผู้ใหญ่
2) เท่าที่มีข้อมูลจนถึงปัจจุบัน ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยหรือผลข้างเคียงของวัคซีน มากกว่าเรื่องประสิทธิผลของวัคซีน เพราะความเสี่ยงในการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในเด็กนั้นมีต่ำ
3) สถานการณ์ของวัคซีนในปัจจุบันวัคซีนทุกบริษัท (ยกเว้นของไฟเซอร์) ให้ฉีดอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นการจดทะเบียนในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น (ยกเว้นวัคซีนไฟเซอร์เป็นการจดทะเบียนปกติเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
อายุ 12-17 ปี : วัคซีนของ Pfizer และ Moderna ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ใช้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉินได้
1
4) อนาคต : วัคซีนที่อยู่ระหว่างกำลังวิจัยพัฒนา
ในเด็กอายุ 5-11 ปี ได้แก่
วัคซีน Pfizer และ Moderna
1
อายุ 3-17 ปี ได้แก่
วัคซีนของ Sinovac
และ Sinopharm
1
จีนเริ่มฉีด Sinovac ในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อมิถุนายน 2564 และ Sinopharm เมื่อ กรกฎาคม 2564
ยูเออีอนุมัติให้ฉีดอายุ 3-17 ปี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564
2
5) ผลข้างเคียงหรือมิติของความปลอดภัย :
วัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย (Sinovac/Sinopharm) จะมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ผลิตวัคซีนฉีดให้กับเด็กมานานหลายสิบปีแล้วเช่น
วัคซีนป้องกันไอกรนชนิดทั้งเซลล์
วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด
วัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ
วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
ในขณะที่วัคซีนเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ยังไม่เคยผลิตเป็นวัคซีนที่ฉีดให้กับเด็กมาก่อนเลย
จากการเก็บข้อมูลฉีดวัคซีน mRNA ให้กับเด็กที่อายุ 12 ปีขึ้นไป พบผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่พบน้อยมาก คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
อายุ 12-15 ปี
พบ 20.9 รายต่อ 1 ล้านโดส
อายุ 16-17 ปี
พบ 34 รายต่อ 1 ล้านโดส
1
สำหรับประเทศไทย ความเห็นของสมาคมกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เห็นว่า
ในอายุ 16-17 ปี น่าจะให้ฉีดวัคซีนโควิดได้ เพราะมีระบบในร่างกายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่แล้ว
ส่วนในเด็กอายุ 12-15 ปี เนื่องจากมีโอกาสติดเชื้ออาการรุนแรงและเสียชีวิตน้อย เมื่อชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงที่มีอยู่ จึงคิดว่า
ยังไม่แนะนำให้ฉีดเป็นการทั่วไป แต่ให้ฉีดกับเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งมีประโยชน์คุ้มกับความเสี่ยงจากวัคซีน ได้แก่
กลุ่มโรคอ้วน กลุ่มทางเดินหายใจหอบหืด กลุ่มหัวใจและหลอดเลือดสมอง กลุ่มไตวายเรื้อรัง กลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มเบาหวาน กลุ่มระบบประสาทพัฒนาการล่าช้าหรือปัญญาอ่อน เป็นต้น
D ) แนวทางที่ควรดำเนินการในประเทศไทย
สำหรับเด็กและเยาวชน ณ เดือนกันยายน 2564 เท่าที่มีข้อมูลทั้งหมด ( สามารถเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเพิ่มเติม)
1
1) ควรพิจารณาให้วัคซีนในเด็กอายุ 16-17 ปี เป็นลำดับแรก และตามด้วยกลุ่มอายุ 12-15 ปี , 5-11 ปี และ 2-4 ปี ตามลำดับ
2) ในแต่ละช่วงอายุ ควรเริ่มต้นในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว เพราะจะมีประโยชน์จากวัคซีนที่จะลดความเสี่ยงของการเป็นโรค มีความคุ้มค่ากับผลข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง
1
ส่วนกลุ่มที่ไม่เสี่ยง ควรจะรอการศึกษาไปอีกระยะหนึ่ง
3) ในกลุ่มที่ตัดสินใจว่าสมควรจะฉีดวัคซีนในเด็กได้แล้ว ควรพิจารณาเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก วัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตายจึงน่าสนใจมากกว่าวัคซีนเทคโนโลยี mRNA
4) การฉีดเข้าผิวหนัง (ID) อาจเป็น ทางเลือกที่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) เพราะจะลดผลข้างเคียงลง เนื่องจากได้รับวัคซีนน้อยกว่าประมาณ 5-10 เท่า แต่ต้องพิจารณาเรื่องผลข้างเคียงเฉพาะที่ซึ่งอาจมีบวมแดงที่ผิวหนังได้เป็นเวลาหลายวัน
โดยสรุป
1) การฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก ควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยหรือผลข้างเคียงของวัคซีนเป็นหลัก และคำนึงถึงเรื่องประสิทธิผลเป็นเรื่องรอง เพราะส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนติดเชื้อแล้วจะป่วยไม่มากนัก
ประโยชน์ที่ได้จากการป้องกันโรค เทียบกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจต้องพิจารณาให้ดี
2) เมื่อพิจารณาแล้ว คิดว่ามีประโยชน์คุ้มที่จะฉีดวัคซีนให้เด็ก ขอให้พิจารณาวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตายเป็นหลักก่อน เพราะมีความปลอดภัยสูง มีความคุ้นเคยจากการนำมาฉีดหลายสิบปีแล้ว
3) ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่เสี่ยงมาก ให้ชลอการฉีดวัคซีนไว้ก่อน จนเกิดผลงานวิจัยเพิ่มเติมเรื่องผลข้างเคียงหรือความปลอดภัย จนได้ประโยชน์คุ้มค่าจึงเริ่มฉีด
4) เด็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรรณรงค์ให้บุคคลใกล้ชิดเด็ก ทั้งในครอบครัว หรือในโรงเรียน ให้ฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน
5) การฉีดวัคซีนแบบเข้าผิวหนัง (ID) น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) เพราะผลข้างเคียงน้อยลงและใช้ปริมาณวัคซีนน้อยลงมาก
โฆษณา