10 ก.ย. 2021 เวลา 04:33 • สุขภาพ
## "ภูมิคุ้มกันหมู่" จะเกิดได้จริงไหม? เมื่องานวิจัย เล่าว่า ‘ติดโควิดแล้ว ภูมิอาจไม่ขึ้น ##
4
ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศในโลกต่างหวังพึ่งพิง #ภูมิคุ้มกันหมู่ ให้ปกป้องประชากรจากโควิด-19 โดยวาดหวังว่า สัดส่วนของคนที่มีภูมิคุ้มกันไม่ว่าจะจากการที่ร่างกายสร้างเองหลังจากที่รักษาหายแล้ว หรือจากการฉีดวัคซีนจะมีมากเพียงพอที่จะหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้
1
แต่ความหวังที่จะเป็นเช่นนั้น ก็เริ่มเลือนรางลงทุกที เมื่อมีผลการศึกษาวิจัยออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ที่บ่งชี้ว่า “ภูมิคุ้มกันหมู่” อาจไม่มีวันเกิดขึ้นจริง
1
ผลการวิจัยล่าสุดจากอเมริการะบุว่า มีอดีตผู้ป่วยจำนวนมากถึง 36% ที่ตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันโควิด-19 ซึ่งหมายถึงว่า คนเหล่านี้อาจกลับมาติดเชื้อ และเป็นโรคนี้อีกเมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ ปรากฏการณ์คล้ายๆ กันยังเกิดขึ้นในระดับที่หลากหลายจากที่ต่างๆ ทั่วโลก ในการพบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ตั้งแต่ 5-85% เลยทีเดียวค่ะ
อย่างนี้แล้ว “ภูมิคุ้มกันหมู่” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
1
ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) คืออะไร?
1
“ภูมิคุ้มกันหมู่” คือ ภาวะที่ประชาชนส่วนมากในสังคมมีภูมิคุ้มกันโรค โดยคิดเป็นสัดส่วนของประชาชนทั้งหมดเท่าใดนั้นจะขึ้นกับโรคระบาดนั้นๆ เช่น ในโรคหัด (measles) ประชากรจะต้องมีภูมิคุ้มกันในสัดส่วนมากถึง 95% ภูมิคุ้มกันหมู่จึงจะเกิดขึ้น จนสามารถช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้เกิดขึ้นได้อีกในอนาคตค่ะ ภูมิคุ้มกันหมู่นั้น อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อหายจากโรค หรือเกิดจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ก็ได้ค่ะ
2
เมื่อที่แห่งใดก็ตามมีภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้น สมาชิกส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน หรือร่างกายอ่อนแอจนไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ก็จะได้รับประโยชน์จากการปกป้องรวมหมู่นี้โดยอัตโนมัติ เพราะพาหะที่นำเชื้อโรคจากภายนอกเข้ามา จะไม่สามารถส่งต่อเชื้อนั้นให้กับคนอื่นๆ เป็นจำนวนมากจนเกิดการระบาดขึ้นมาได้อีกค่ะ
“ภูมิคุ้มกันหมู่” กับ “ประเทศไทย” และ “งานวิจัย”
1
เมื่อยอดผู้ติดเชื้อในประเทศพุ่งสูงหลักหมื่นต่อวัน หรือมีการระดมฉีดวัคซีนให้มากขึ้น เราอาจหวังว่า ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ จะเกิดขึ้นในเร็ววัน แต่เชื่อไหมคะว่า ในช่วงหลังๆ มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้หายป่วยจากโควิดแล้ว แต่กลับไม่พบภูมิคุ้มกัน (Antibodies) เหลืออยู่เลย แตกต่างจากในช่วงก่อนหน้านี้ที่พบว่าร่างกายของผู้ที่หายป่วยจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้เองเกือบทุกราย
จากการรวบรวมรายงานการศึกษาจากประเทศต่างๆ พบว่า ผู้ที่หายป่วยจากโควิดแล้วไม่มีภูมิคุ้มกันเหลืออยู่นั้น มีจำนวนที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากทีเดียวค่ะ เช่นในอิสราเอลมีรายงาน 'ภูมิไม่ขึ้น' เป็นสัดส่วน 5% ในขณะที่การศึกษาในนิวยอร์กรายงานตัวเลขที่ 20% ส่วนในเยอรมนี มีรายงานว่าไม่พบภูมิคุ้มกันถึง 85% ในหมู่คนที่หายจากโควิดแล้ว ทั้งนี้ พบความสัมพันธ์กับช่วงอายุของผู้ป่วย และขึ้นอยู่กับว่าตอนป่วยมีปริมาณไวรัสในตัวมากน้อยแค่ไหนกันค่ะ
นักวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษา เรื่อง Predictors of Nonseroconversion after SARS-CoV-2 Infection เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญว่า ทำไมตัวเลขจากการศึกษาในประเทศต่างๆ ถึงแตกต่างกันเป็นอย่างมาก โดยผลการศึกษาระบุไว้ ดังนี้ค่ะ
1
เมื่อทำการรวบรวมผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นโควิดโดยวิธีตรวจมาตรฐาน RT-PCR จำนวน 72 ราย และเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อนำมาหาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากที่ไม่มีอาการแล้วตั้งแต่สามสัปดาห์ขึ้นไปในกลุ่มอาสาสมัครนั้นซึ่งมีอาการป่วยที่แตกต่างกันออกไป ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ที่หายป่วยแล้วแต่กลับตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันถึง 36% เลยนะคะ และปัจจัยสำคัญที่มีผลกับระดับภูมิคุ้มกัน ก็คือ “ปริมาณไวรัส (Viral load)” ที่เกิดขึ้นในระหว่างติดเชื้อ นั่นเอง
งานวิจัยดังกล่าวบอกอะไร?
หากสรุปสั้นๆ จากงานวิจัย จะพบว่า ผู้ที่ติดโควิดแล้วรักษาตัวจนหายดีแล้วนั้น จะพบภูมิคุ้มกันต่ำ หรืออาจไม่พบเลย โดยจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับเชื้อโควิดเข้าไปนั่นเอง ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่า การที่มีผู้ติดเชื้อมากขึ้น แต่ถ้าได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปน้อย ทำให้เมื่อรักษาหายแล้ว จะไม่พบภูมิคุ้มกัน “ภูมิคุ้มกันหมู่” ที่เราหวังให้เกิดขึ้น เหมือนกับระบาดทั่วไปก็อาจไม่เกิดขึ้น
1
ยิ่งไปกว่านั้น จนถึงตอนนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่าจะต้องมีสัดส่วนของประชากรที่มีภูมิคุ้มกันต่อประชากรทั้งหมดอยู่ที่เท่าใด “ภูมิคุ้มกันหมู่” ถึงจะเกิดขึ้น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะมีความเข้มแข็งและอยู่ได้นานเท่าใด
2
จากที่ในช่วงเริ่มต้นของโรคระบาดนักวิชาการเคยคาดการณ์ไว้ว่าจะต้องมีผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอยู่ที่อย่างน้อย ~60-70% จากประชากรทั้งหมด แต่ในภายหลังก็มีการปรับตัวเลขให้สูงขึ้น ซึ่งก็เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น อีกทั้งเมื่อมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่า มีประชากรบางกลุ่มที่ติดเชื้อแต่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น ทำให้ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำต่อได้ แถมยังมีรายงานการติดเชื้อซ้ำในผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว และนั่นคือ ‘สิ่งที่น่ากังวล’ ว่าความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสจะไม่มีวันสิ้นสุดลง
2
ภูมิหาย แต่โรคไม่หาย
ในขณะที่การศึกษาวิจัยในช่วงหลังๆ ดูจะไม่ให้ความมั่นใจกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ สิ่งที่พบมากขึ้นกลับเป็นผลกระทบระยะยาวหรืออาการเรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด
“ภาวะ Long COVID” หรือ “โควิดเรื้อรัง” เป็นอาการที่ใครหลายคนต้องทนกับอาการที่ส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งอาจยังคงอยู่ หรือ เกิดขึ้นภายหลังแม้ว่าคนเหล่านั้นจะตรวจไม่พบเชื้อโควิดแล้วก็ตาม ตัวอย่าง เช่น การอ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อย ใจสั่น สมองเบลอ ไอ เป็นไข้ ปวดหัว เวียนหัว เจ็บหน้าอก ปวดข้อ การรับรู้กลิ่น หรือรสเปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งอาการซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เป็นต้นค่ะ
1
ยังไม่มีใครตอบได้ชัดๆ ว่าอัตราคนป่วยลองโควิดมีเท่าไหร่ องค์การอนามัยโลกบอกว่ามี 10% ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด ส่วนสหราชอาณาจักรบอกว่ามีถึง 30% ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การวัดของแต่ละที่และแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
วิธีป้องกัน และรับมือที่ดีที่สุด
ในตอนนี้ ทุกคนก็ได้รับรู้แล้วนะคะว่า “เจ้าโควิด” สามารถกลายพันธุ์ และเกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นอีกได้ ไวรัสจะมีการวิวัฒน์ตัวเองเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแกร่งขึ้น สามารถแพร่ระบาดได้เร็ว และต้านประสิทธิภาพของวัคซีนได้มากขึ้น ลองนึกเล่นๆ กันดูนะคะว่า ถ้าหากโควิดยังเกิดการกลายพันธุ์ต่อไปอีก เราจะต้องฉีดวัคซีนอีกกี่เข็มกันคะถึงจะรับมือกับมันได้ และความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการข้างเคียงของวัคซีนนั้น เราจะรับมันได้มากน้อยแค่ไหน
3
จะดีกว่าไหมคะ ถ้าเราสามารถจัดการเชื้อโควิดได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ การทำให้เชื้อไวรัสนี้ออกไปจากโลก และไม่กลับมาอีก ดังเช่น โรคไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ด้วยมาตรการที่เด็ดขาด เพื่อลดการติดเชื้อให้เหลือ “0” เพราะเพียงผู้ติดเชื้อ 1 คน ก็อาจเป็น ‘จุดเริ่มต้น’ ในการระบาดครั้งใหม่ได้ค่ะ
เมื่อมาตรการที่เด็ดขาดยังต้องอาศัยนโยบายจากภาครัฐ แล้วประชาชนอย่างเราทำอะไรได้บ้างนะ
วิธีง่ายๆ ที่ป้องกันคุณและคนที่คุณรักไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้ คือ ก่อนออกจากบ้าน หยิบหน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่มีคุณภาพสูงกว่ามาใส่ให้มิดชิด เลี่ยงพื้นที่แออัด และพยายามอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศอยู่เสมอ
นอกจากนี้ก็ควรตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการคัดกรองในเบื้องต้นนะคะ ตามคำกล่าวที่ว่า ‘กันไว้ ดีกว่าแก้’ ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยให้พวกเรารอดพ้นจากโควิดตัวร้ายไปได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม ทางทีมงาน Zero Covid Thailand จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน และพยายามอย่างเต็มที่ในการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ มาเล่าให้กับทุกคนฟังกันค่ะ
แล้วเราจะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกันนะคะ
ติดตามเราได้ที่
1
อ้างอิง:
Predictors of Nonseroconversion after SARS-CoV-2 Infection
Characterizing long COVID in an international cohort: 7 months of symptoms and their impact
SARS-CoV-2 Seroconversion and Viral Clearance in Patients Hospitalized with COVID-19: Viral Load Predicts Antibody Response
Multi-center nationwide comparison of seven serology assays reveals a SARS-CoV-2 non-responding seronegative subpopulation
SARS-CoV-2-IgG response is different in COVID-19 outpatients and asymptomatic contact persons
Five reasons why COVID herd immunity is probably impossible
ไวรัสโคโรนา : “ภูมิคุ้มกันหมู่” คืออะไร เหตุใดนักวิทยาศาสตร์พากันคัดค้าน ไม่ให้ใช้ต้านโควิด-19
โฆษณา