14 ก.ย. 2021 เวลา 02:40 • การตลาด
New Consumer : Globle Social Conscience
Consumers expect brands to make “Purpose” part of their DNA. ผู้บริโภคคาดหวังแบรนด์ต่างๆ มีเป้าประสงค์ที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ดีเอ็นเอของพวกเขา
ผู้บริโภคสมัยนี้อยู่ในยุคดิจิทัลที่ว่องไว พวกเขาไม่ได้เป็นพวกไร้สาระ พวกเขาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นใส่ใจกับสังคมมากขึ้น
คนสมัยนี้มี 2 แกนคือ พวกไร้สาระไม่สนใจอะไรเลย กับคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาแล้วก็บอกว่า ไปเรียนหนังสือเพื่อจะลุกขึ้นมาเป็น Social Enterprise ดีกว่า ทำธุรกิจเพื่อสังคมดีกว่า คนรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมกับการแยกขยะ ฉะนั้นคนรุ่นใหม่จะใส่ใจกับพวกนี้มากขึ้น เขาจะอ่านฉลาก เขาอ่านแม้กระทั่งมันมี Animal Welfare (การฆ่าสัตว์แบบมีเมตตาธรรม) หรือเปล่า! ถ้าไม่มี ก็อย่าหวังได้เงินจากพวกเขา
เมื่อคุณบริโภคสิ่งมีชีวิต คุณก็ควรลุกขึ้นมาฆ่าสิ่งมีชีวิตด้วยเมตตาธรรม เดี๋ยวนี้มันไปถึงขนาดนั้น พวกนี้มันอยู่ในกระแสความคิดของผู้คน
ถ้าคุณจะลุกขึ้นมาขายเสื้อ American Apparel ก็บอกที่ป้ายเลยว่า “เสื้อตัวนี้ทำขึ้นโดยผู้หญิงที่ต้องเลี้ยงดูตัวเองและลูกอีกสามคน”
คุณไม่ได้ซื้อเสื้อยืด คุณซื้อ Purpose คุณไม่ได้แค่ซื้อ Product เสื้อยืดที่ไหนก็เหมือนๆ กัน คุณซื้อเสื้อยืดให้กับนายทุน กลับคุณซื้อเสื้อยืดที่บางส่วนของรายได้ไปช่วยเหลือจุนเจือผู้หญิงที่ขาดโอกาส เด็กที่ยากไร้ คุณก็เลือกเอาว่า จะทำแบบไหนที่จะทำให้ชีวิตคุณมีค่า ทุกอย่างสามารถที่จะสื่อสารได้ทั้งหมด
รองเท้า Nike ที่เมื่อก่อนเป็นเบอร์หนึ่ง คนร่วมสมัยอย่างน้อยต้องมี Nike สักหนึ่งชิ้น Nike ดังขนาดนักข่าว CNN รู้ว่าทำไม Nike ถึงได้ดังขนาดนี้ จึงลุกขึ้นมาทำสกูปข่าวเจาะลึก เรื่องเส้นทางเดินของความสำเร็จของแบรนด์ Nike ซึ่งก็ต้องตามหาข้อมูลทาง Supply Chain
พอนักข่าวทำข่าวเจาะลึกก็ปรากฏว่า ค่าแรงที่ Nike จ่ายให้คนในโรงงานนั้น รวมกันทั้งเดือนยังน้อยกว่าจ่ายให้ Tiger Woods ตีกอล์ฟหนึ่งแมตช์ นักข่าวยังบอกอีกว่า รับไม่ได้ ต้อง Anty Nike จริงๆ พวกเขาเลยเอาข่าวมาลง กลายเป็นเรื่องราว Anty Nike โดยคนอเมริกันด้วยกัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า Social Sanction คุณไม่ต้องทำอะไรสังคมมันจะลงโทษแบรนด์ด้วยตัวมันเอง และมันมาอย่างรวดเร็วแทบตั้งตัวไม่ติดอีกด้วย!
นี่เป็นโอกาสที่คู่แข่งอย่าง Adidas, Puma ขึ้นมาเพื่อสร้างความได้เปรียบ Nike ต้องใช้เวลากอบกู้ตัวเอง และออกแคมเปญชื่อว่า NikeConsidered ภาษาไทยคือ Nike คิดได้แล้ว ตาสว่างแล้ว เลิกหมดแล้ว รองเท้าประเภทที่เรียกว่า สี่สีเจ็ดสี เอาหนังมาต่อๆ กัน ทำให้สิ้นเปลืองวัตถุดิบ
วันนี้เวลาเราดูแบรนด์ เราดูที่ Purpose เราไม่ได้ดูแบรนด์ที่ใครทำรองเท้าได้เด็ดกว่า และแบรนด์อย่าง Addidas ก็เริ่มมีปัญหาเช่นกัน เพราะชอบรองเท้าแล้วไปทำการตลาดขายให้เด็กคู่ละสองหมื่นกว่า นี้เรียกว่า ไม่มี Responsible Consumption หรือการบริโภคอย่างรับผิดชอบ การทำการตลาดอย่างไร้สติ
คิดดูสิว่า ถ้าคุณเป็นพ่อเป็นแม่ ลูกไปนั่งรอคิวหน้าร้านซื้อรองเท้าที่ปั่นราคามาเนี่ย ในขณะที่พ่อแม่ต้องก้มหน้าก้มตาหาเงินกันไป เพื่อให้ลูกซื้อรองเท้าคู่ละเป็นหมื่นเนี่ยนะ มันทำให้แบรนด์เป็นที่น่าชื่นชมหรือเปล่า?
ฉะนั้นแบรนด์วันนี้ ไม่มีอะไรจะหมกเม็ดได้ คุณทำอะไรขึ้นมา เดี๋ยวก็จะมีคนไปวิเคราะห์ว่าที่ทำมาเนี่ย ด้วยเจตนาอะไร เพราะเดี๋ยวนี้มันไม่ต้องรอออกอากาศทางช่องทีวีถึงจะได้รู้ จะด่าก็ไม่รู้จะไปด่าตรงไหน อย่างมากก็โทรศัพท์ไปบ่นกับเพื่อน แต่วันนี้ไม่ต้อง! สามารถที่จะลุกขึ้นมาเขียนบล็อก เขียนโพสต์ สามารถที่จะแชร์ไอเดีย แชร์คอมเมนต์ได้หมด นี่คือกรณีตัวอย่างของ Nike
Source : ดร.ศิริกุล เลากัยกุล
Create : NokCB - Branding, Corporate Branding, Communications Branding & Consultant
============================
ติดตามทุกเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างแบรนด์ การตลาด การโฆษณา ธุรกิจ ดีไซน์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ แบบลึกซึ้ง สนุกสนานได้ที่...
Facebook : ความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์ by BirdBrand
Blockdit : BirdBrand & Nok Creative Branding
โฆษณา