20 ก.ย. 2021 เวลา 02:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สืบจากรอยเลือด กรณีศึกษา - แซม เชพพาร์ด
(เรียบเรียงโดย ดร. มิติ เจียรพันธุ์)
#นิติวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
1
การใช้รอยเลือดในที่เกิดเหตุเป็นพื้นฐานของการสืบหาคนร้ายและพิจารณาคดี แต่การวิเคราะห์ตีความในแต่ละครั้งอาจเต็มไปด้วยความซับซ้อนซ่อนเงื่อน อย่างคดีของศัลยแพทย์ แซม เชพพาร์ด (Sam Sheppard)ซึ่งกลายมาเป็นกรณีศึกษาที่โด่งดัง
1
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1954
เมื่อ มาริลีน เชพพาร์ด ถูกฆาตกรรมในบ้านของเธอ แซม เชพพาร์ด ผู้เป็นสามีให้การว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาในบ้าน และเขาถูกตีจนสลบขณะที่กำลังต่อสู้ป้องกัน ข้าวของภายในบ้าถูกรื้อค้นจนกระจุยกระจายราวกับว่าเป็นการบุกเข้ามาชิงทรัพย์
2
แผนผังบ้านชั้นแรกของแซม และ มาริลีน เชพพาร์ด ที่วาดโดยตำรวจ ที่มา : https://www.famous-trials.com/sam-sheppard/3-mapsdiagrams
เจ้าหน้าที่สืบสวนลงมือตรวจสอบที่เกิดเหตุ เมื่อเก็บรวบรวมร่องรอยต่างๆ
รวมทั้งคราบเลือดในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ก็พบจุดที่น่าสงสัยบางอย่าง
นั่นก็คือบนตัว แซม เชพพาร์ด ไม่มีรอยเลือดทั้งจากมือ ลำตัว หรือเสื้อผ้า ทั้งๆ ที่น่าจะมีรอยเลือดจากของภรรยาหรือของคนร้ายติดมาบ้าง ซึ่งแซม เชพพาร์ด ให้การว่าไม่ได้เช็ดล้างทำความสะอาดก่อนเรียกตำรวจเลย
ยิ่งไปกว่านั้น แซม เชพพาร์ด ยังไม่มีเลือดเปื้อนมือทั้งที่เขาบอกว่าเขาจับชีพจรที่คอภรรยาซึ่งเต็มไปด้วยเลือด!
1
เมื่อพิจารณาที่ทรัพย์สิน
แซม เชพพาร์ด บอกว่านาฬิกา กระเป๋าสตางค์ แหวน และกุญแจหายไป เมื่อตำรวจตรวจสอบก็พบของเหล่านี้ตกอยู่ไม่ห่างจากบ้านนัก ซ้ำยังไม่มีรอยเลือดบนกระเป๋าสตางค์เลยทั้งที่น่าจะมีรอยเปื้อนเลือดจากมือคนร้าย
แผนผังห้องนอนของแซม และ มาริลีน เชพพาร์ด ที่มา : James Neff, The Wrong Man (2001)
ในขณะที่ไม่พบรอยเลือดจากหลายๆ แห่งที่ควรจะพบ เจ้าหน้าที่สืบสวนกลับพบหยดเลือดที่นาฬิกาข้อมือของ แซม เชพพาร์ด ซึ่งเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเลือดนั้นกระเด็กมาจากเหยื่อ ตอนที่เหยื่อถูกทำร้าย เพราะถ้าเลือดนั้นมาจากการจับชีพจรก็ควรจะเป็นรอยเปื้อน ไม่ได้เป็นหยดเลือดกระเด็นมาแบบนี้
จากหลักฐานคราบเลือดที่พบ และรวมทั้งคราบเลือดที่ไม่พบในจุดที่ควรจะพบ ทำให้ตำรวจเชื่อว่า แซม เชพพาร์ด ทำร้ายภรรยาจนเสียชีวิต ล้างเลือดออกจากตัว แล้วจัดฉากให้ดูเหมือนมีคนร้ายบุกเข้ามาในบ้าน ในที่สุด แซม เชพพาร์ด ก็ถูกตัดสินว่าเป็นฆาตกร
1
แต่เรื่องยังไม่จบแค่นี้ แซม เชพพาร์ด ได้รับการปล่อยตัวหลังจากถูกจำคุกอยู่ 10 ปี เมื่อศาลพลิกคดีจากคำให้การของนักนิติวิทยาศาสตร์ชื่อ พอล แอล. เคิร์ก (Paul Leeland Kirk)
Paul L. Kirk  ที่มา : Wikipedia
เคิร์กตรวจสอบรอยเลือดอยู่หลายเดือน และตั้งข้อสังเกตที่แย้งกับการตัดสินเดิมไว้หลายข้อ เช่น เขาพบว่าคนร้ายถนัดซ้าย ซึ่งต่างจาก แซม เชพพาร์ด ที่ถนัดขวา และ เคิร์ก แย้งว่ารอยเลือดบนนาฬิกาเป็นรอยที่เกิดขึ้นเมื่อ แซม เชพพาร์ด จับชีพจรที่คอของภรรยา
หลักฐานของเคิร์กทำให้คณะลูกขุนตัดสินว่า แซม เชพพาร์ด ไม่ผิดและได้รับการปล่อยตัวในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ผลการตัดสินคดีนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันมานาน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1997 ที่เทคโนโลยีการตรวจสอบดีเอนเอสามารถพิสูจน์ได้ว่าเลือดในที่เกิดเหตุนั้นมีรอยเลือดของบุคคลที่สามอยู่!
ชื่อของ แซม เชพพาร์ด จึงหลุดพ้นจากข้อสงสัย และระบุคนร้ายตัวจริงได้ในที่สุด
โฆษณา