20 ก.ย. 2021 เวลา 16:00 • การตลาด
การตัดคำว่า “ราชมงคล” ออกไปจากชื่อมหาวิทยาลัยราชมงคล เพื่อต้องการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ทันสมัยหรือจะทำให้เสื่อมกันแน่
ต้องขอบอกว่าเมื่อได้ฟังข่าวนี้แล้วรู้สึกใจหายและหดหู่มาก กับการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ถูกเสนอเรื่องจากนายกสภามหาวิทยาลัยให้ตัดคำว่าราชมงคลออกไป
เพราะ “ยุคใหม่ฯ” เองเป็นศิษย์เก่าของ "ราชมงคล" คนหนึ่ง ตั้งแต่ใช้ชื่อว่าวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา แล้วเปลี่ยนมาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หลังจากนั้นอีกหลายปีที่จบมาแล้วก็เปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยการยกฐานะจากคณะต่างๆขึ้นเป็น 9 มหาวิทยาลัย โดยแยกกันบริการ
ที่มา Facebook เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค
“ยุคใหม่ฯ” ไม่ได้เป็นศิษย์เก่าของ มทร. พระนคร ก็จริง แต่ ณ วันที่ได้ร่ำเรียน มทร. พระนครก็อยู่ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เท่ากับว่าเคยอยู่ในสถาบันเดียวกัน
วันที่เหล่าบรรดาศิษย์เก่าหรือศิษย์ในช่วงเวลานั้น เมื่อได้รับข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามใหม่ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา มาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จำได้เลยว่าในช่วงเวลานั้นทุกคนที่อยู่ในสถาบันต่างปลาบปลื้ม รู้สึกภูมิใจและน้ำตาซึม จากพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้น
คนภายนอกอาจจะดูเฉยๆ แต่สถาบันที่ฝึกคนออกมารับใช้ชาติจำนวนมาก เป็นสถาบันที่ไม่ค่อยที่จะได้รับการยอมรับมากนักในช่วงเวลานั้น อาคารเรียนที่เป็นตึกน้อยมาก และที่มีก็ไม่มีแม้แต่พัดลมพัดคลายร้อยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าด้อยโอกาสกว่าที่อื่นๆเลยก็ว่าได้
ที่มา Dek-D.com
แต่ในช่วงเวลาหนึ่งที่มีพระมหากษัตริย์ที่คนไทยเคารพรักและบูชา ที่ไม่ใช่เพราะพวกเราถูกหลอกจากสื่อต่างๆ แต่เราเห็นผลงานของท่านแบบประจักรกับตา มาหลายต่อหลายโครงการ และหลายโครงการยังทำให้พวกเรามีกินมีใช้จนทุกวันนี้ ที่ท่านทรงให้ความสำคัญกับสถาบันเล็กๆ ที่มีคนไทยบางกลุ่มเท่านั้นที่รู้จัก โดยการพระราชทานนาม "ราชมงคล" ที่หมายถึง "มงคลแห่งพระราชา" มาให้ จะมีกี่คนในช่วงเวลนั้นที่จะสามารถกั้นความปลาบปลื้มใจได้ และความรู้สึกนั้นปัจจุบันนี้ก็ยังคงตราตรึงอยู่ในใจ “ยุคใหม่ฯ” มาตลอด
นอกจากนี้แล้วในวันที่มีการพระราชทานปริญญาบัตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านยังทรงมาพระราชทานด้วยพระองค์เองอยู่หลายปีติดต่อกัน จนพระวรกายของท่านอ่อนล้าลงมาก จึงได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเทพฯ ทรงมาเป็นองค์พระราชทานปริญญาบัตรแทน
ที่มา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การตัดคำว่าราชมงคลออกไป เชื่อว่าศิษย์เก่าจำนวนมากรู้สึกไม่ต่างกับ “ยุคใหม่ฯ” แต่เพื่อความเป็นธรรมเราก็ควรต้องฟังเหตุผลของผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงด้วย
ซึ่ง นายกสภามหาวิทยาลัยฯ พระนคร ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า เรื่องนี้มีการดำเนินการมากว่า 3 ปีแล้ว ที่ต้องการ Re-brand เพื่อให้ดูทันสมัย ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เดิมเป็นแบบอนุรักษ์นิยม แต่เข้าใจดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงใช้เวลาทบทวนอยู่นาน
หลายคนมองว่า มทร. เก่งเฉพาะด้านวิชาชีพเท่านั้น มองว่าการพัฒนามหาวิทยาลัยจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อสถานที่จำกัด การจะเปิดคณะใหม่ๆก็จำกัด จะเปิดหลักสูตรปริญญาโทและเอกก็ไม่สามารถทำได้ มีผลต่อคนที่มองมาว่ามหาวิทยาลัยมาจากสถาบันอาชีวะเท่านั้น
ข้อความที่ นายกสภามหาวิทยาลัยฯ พระนคร ให้สัมภาษณ์ ท่านสามารถย้อนกลับไปดูได้ตามสื่อต่างๆ ทั้งทางเว็บไชด์ของสำนักข่าวและทางโซเชี่ยลมีเดีย อย่าง Facebook และ YouTube ได้
ที่มา Top News
“ยุคใหม่ฯ” ขอถอดหัวโขนของศิษย์เก่าออกไปก่อนนะครับ แต่จะใช้ความเป็นนักการตลาดในการให้ความเห็นต่อการดำเนินการในครั้งนี้ และขอตัดเรื่องความมิบังควรออกไปด้วย
หาก มทร. พระนคร มีการเปลี่ยนแปลงโดยให้เหตุผลเรื่องภาพลักษณ์ที่คนมองว่าเป็นอาชีวะ ทำให้ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการเปิดหลักสูตรเพิ่มเติมไม่ได้ เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นได้เลยว่า ผู้บริหารขาดเรื่องวิสัยทัศน์เป็นอย่างมาก
เพราะการที่คงรากเหง้าไว้ มีประวัติศาสตร์ให้ได้เรียนรู้มีเรื่องเล่า นี่คือพลังของการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ไม่ใช่สื่อโซเชี่ยลที่เราเห็น เพราะสื่อเหล่านั้นต้องใช้เรื่องเล่าในการนำเสนอ เพื่อให้ Platform ของเขามีคนติดตาม
ที่มา Facebook เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค
หากนึกไม่ออกก็ลองดูว่าหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่ยังคงใช้ชื่อเดิมแต่มีการเปิดหลักสูตรใหม่ๆและได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล อย่างเช่น มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปิดคณะดุริยางคศิลป์ ไม่เกี่ยวกับด้านสาธารณะสุขเลย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดคณะบริหารธุรกิจ ที่มีสอนทั้งบัญชีและการเงิน ไม่ได้สอนเรื่องการเกษตรเลย ทำไมคนที่จบมาถึงได้รับการยอมรับ
1
หรือในระดับสากลอย่าง SAMSUNG ที่เดิมผู้คนติดภาพว่าผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพต่ำ กลายมาเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกของการผลิตโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเลคโทรนิค หรือแม้กระทั่ง Huawei ที่ชื่อในช่วงเริ่มต้นก็แทบไม่มีใครยอมรับ แต่ทุกวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ที่มา  Samsung Global Newsroom
การที่องค์กรหน่วยงานหรือแม้แต่ประเทศ ที่ยังคงรักษารากเหง้าของตนเองไว้ได้ ล้วนแล้วแต่มีความแข็งแกร่ง และได้รับการยอมรับจากผู้คนจำนวนมาก ยกตัวอย่างอังกฤษ อเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และอีกหลายประเทศ ต่างพิสูจน์ให้เห็นว่าการรักษารากเหง้าตัวเองไว้ แล้วขยายความเป็นตัวตนออกไป ล้วนแล้วแต่สร้างความเจริญเข้าสู่ประเทศชาติ
หาก มทร. พระนคร ยังยืนยันว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ให้ได้ แน่ใจหรือว่าผู้คนจะให้การยอมรับผู้ที่ทิ้งรากเหง้าตัวเอง รวมถึงดูแคลนคำว่าอาชีวะศึกษา
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
ท่านที่สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ตู้กาแฟหยอดเหรียญ ที่สามารถขายแฟรนไชส์และมีรายได้จากการขยาย
สามารถสร้างรายได้ทั้งรายวันและรายสัปดาห์และรายเดือนได้
ติดต่อได้ที่
โฆษณา