23 ก.ย. 2021 เวลา 09:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จากสยามกัมมาจลสู่ SCB x (ตอนที่ 2)
ไม่ใช่แบงก์ แต่เป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน ที่จับมือกับพันธมิตรทำธุรกิจ (2)
#Station101 #SlowDownAndListen #101NewsAndTalk #เพิ่มทุกมุมคิดพลิกทุกมุมข่าว #101News #คลื่นข่าวอันดับ1บนหน้าปัดวิทยุ #SCB #SCBx #สยามกัมมาจล #ไทยพาณิชย์
โครงสร้างใหม่ SCBx จะถือเป็นบริษัทแม่ของกลุ่ม โดยจะ Spin off ”แตกแล้วโต” กับธุรกิจเดิมในเครือและธุรกิจใหม่ที่จะตั้งขึ้นใหม่ โดยมีพันธมิตรที่เชี่ยวชาญ ร่วมถือหุ้นในหลายธุรกิจ เช่น Card x จะ Spin-Off ธุรกิจบัตรเครดิตออกจากบริษัท , Alpha x ร่วมมือกับ Millennium Group ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อสำหรับรถหรู , Auto x ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อ ลีซซิ่ง เน้นกลุ่มรากหญ้า , Tech x ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทำธุรกิจเทคโนโลยี , AISCB ร่วมมือกับ AIS ทำสินเชื่อ Digital , Robinhood ธุรกิจส่งอาหาร , CPG-SCB VC Fund ร่วมมือกับเครือซีพีในการจัดตั้ง VC Fund (Venture Capital Fund)นอกจากนั้น ยังมีธุรกิจอื่น ๆ เช่น Data X , SCB Securities , TokenX , SCBABACUS , monix (ร่วมทุนกับ Abakus Group)โดยเบื้องต้นจะแยกออกมาตั้งบริษัท่ใหม่ประมาณ 15-16 บริษัท
โดยให้เหตุผลสำคัญว่าเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดกฎระเบียบแบบเดิมที่ธนาคารทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม SCB x ยังอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ยังให้บริการรับฝากเงิน ดูแลลูกค้าเหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแต่ธุรกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การรับฝาก-ถอน จะไปอยู่ในบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่
เหตุผลที่ต้องทำ เพราะ Disrupt
ภายใต้บริษัทแม่ชื่อใหม่ ที่เปลี่ยนจาก SCB เป็น SCB x (เอสซีบีเอกซ์)จะเป็นอย่างไร อาทิตย์ นันทวิทยาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้กล่าวในตอนหนึ่งของ message from CEO ว่า แนวโน้มที่ธนาคารจะถูก disrupt นั้น เริ่มมาเมื่อหกปีก่อน และจะชัดเจนมากขึ้นในอีก สามปีข้างหน้า จึงเป็นเวลาที่สำคัญที่จะตั้งคำถามแห่งอนาคตว่าอีกสามปีข้างหน้า SCB จะแปลงสภาพอย่างไร SCB จะต้องไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องใช้ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารปัจจุบันให้เป็นประโยชน์
อาทิตย์กล่าวย้ำว่า SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีก แต่จะแปลงเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ที่มีธุรกิจธนาคารเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคลที่ธนาคารรูปแบบเดิมไม่สามารถตอบสนองได้ โดยจะร่วมมือกับพันธมิตรระดับประเทศและภูมิภาคที่แข็งแกร่ง
ประการสำคัญ จะยกระดับขีดความสามารถให้สร้างและบริหารจัดการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (technology platform) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับแพลตฟอร์มระดับโลก หลังจากนำร่องด้วย “โรบินฮู้ด ฟู้ดเดลิเวอรี่ และเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset business) ในระดับโลก และพัฒนาธุรกิจ digital asset ในด้านต่างๆ ในbusiness model เพื่อสร้างมูลค่ากลุ่มในระยะยาว
กลยุทธ์แตกแล้วโตไม่ใช่ของใหม่ แต่แบงก์ยังไม่เคยทำ
กลยุทธ์ Spin-off หรือแตกแล้วโต ไม่ใช่ของใหม่ในแวดวงธุรกิจ ก่อนหน้านี้ บริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัทได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ อาทิ ปตท.จะเห็นว่ามีบริษัทลูกหลายบริษัทที่เติบโตและมั่นคงเทียบเท่ากับบริษัทแม่ หรือกรณีของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่วันนี้บริษัทลูกหลายแห่งเติบโตจนมูลค่าบริษัทโตขึ้นมาอีกไม่รู้กี่เท่า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีบริษัทย่อยทำธุรกิจในหลาย ๆด้าน จนเติบโตในธุรกิจค้าปลีก ที่ไม่เล็กไปกว่าบริษัทแม่ที่ผลิตอาหารสัตว์ และบริษัทย่อยเหล่านี้ก็แตกไปทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องออกไปนับสิบบริษัท
หรือล่าสุดกรณีของศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา ได้ทำการ Spin-off บริษัทลูกที่ชื่อ STGT ทำการผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางที่ใช้ในวงการแพทย์ ปัจจุบัน STA มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ขณะที่ STGT มูลค่าประมาณ 112,000 ล้านบาท โดยมีSTA ถือหุ้นใน STGT อยู่ 50.75%
(ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564) หรือคิดเป็น 46,800 ล้านบาท หมายความว่า หุ้นที่STA ถืออยู๋ในบริษัทลูกคือ STGT มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของSTA ทั้งบริษัทเสียอีก
ข้อดีของการ Spin-off นั้นมีหลายประการ อาทิ
- บริษัทที่แยกออกมาสามารถระดมทุนได้เอง โดยผ่านการทำ IPO เท่ากับไม่เป็นภาระของบริษัทแม่
- มีความเป็นอิสระ และทำความรู้จักได้ในวงกว้าง
- เป็นทางเลือกให้นักลงทุนที่สนใจเฉพาะธุรกิจนั้น ๆ
- รับรู้มูลค่าที่แท้จริง ของบริษัทที่ถูก Spin-off ออกมาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทแม่
เพียงแต่ ยังไม่เคยเกิดขึ้นกับธนาคาร จึงเป็นเรื่องรอการพิสูจน์ว่า การทำกลยุทธ์ Spin-off หรือเรียกว่า แตกแล้วโต จะสำเร็จได้หรือไม่ อย่างน้อย นักลงทุนได้แสดงปฏิริยาในหุ้น SCB ราคาขึ้นไป 20% ในช่วงเปิดตลาดวันนี้ (23 ก.ย.)
โฆษณา