23 ก.ย. 2021 เวลา 07:52 • การศึกษา
📌OEC News📢 :: 'ตรีนุช' เปิดไฟเขียวชงเสนอครม.จัดตั้งสำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติในสังกัดสกศ. เร่งคลายล็อกวิชาการเปลี่ยนผ่านสู่วิชาชีพ
วันนี้ (23 กันยายน 2564) รัฐมนตรีว่ากากระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ประธานการประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พร้อมประชุมผ่านวีดิทัศน์ทางไกล (VDO Conference) โดยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) คณะอนุกรรมการ ฯ ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พันธมิตรหลัก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิ​วิชาชีพ (องค์การ​มหาชน)​ สภาหอการค้าไทย ภาคผู้ประกอบการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ ณ ห้องกำแหง พลางกูร ชั้น 3 อาคาร 56 ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
วาระสำคัญเพื่อพิจารณาร่างจัดตั้ง "สำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (สกช.)" ซึ่งจะเป็นส่วนราชการระดับสำนัก ภายใต้ สกศ. เพื่อรับผิดชอบการขับเคลื่อนงาน NQF อย่างเต็มระบบ ซึ่งได้รับความเห็นชอบกรอบแนวทางดำเนินงานการจัดตั้ง "หน่วยงานกลาง" ในการดำเนินงาน NQF ของประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้กำหนดโครงสร้าง สกช. เบื้องต้น 4 กลุ่มงาน และ 1 ฝ่าย กรอบอัตรากำลัง 33 คน (ข้าราชการ 31 คน และพนักงานราชการ 2 คน) ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้ตั้งข้อสังเกตถึงหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ NQF ว่ามีอำนาจในการจัดอัตรากำลังหรือไม่ อย่างไร โดยจะได้รายงานเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาความชัดเจนทางปฏิบัติและประสานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ช่วยพิจารณาแนวทาง/โครงสร้าง/หน้าที่/อำนาจหน้าที่ของ สกช. อีกครั้ง
รวมทั้งให้ความเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน NQF สู่การปฏิบัติ จำนวน 2 ฉบับ 1) ร่างประกาศสำนักนายก ฯ เรื่อง การจัดการศึกษาและการฝึกอบรมตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และ 2) ร่างประกาศสำนักนายก ฯ เรื่อง การเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้และประสบการณ์ รายงานที่ประชุม ครม. สู่กระบวนการออกประกาศสำนักนายก ฯ ตามลำดับ
ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบ(ร่าง)เกณฑ์การขึ้นทะเบียนและรับรองหลักสูตรตาม NQF ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ตาม NQF ที่ต้องเร่งดำเนินการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนหลักสูตรตาม NQF ที่มีประสิทธิภาพ และรับทราบรายงานความเคลื่อนไหวการดำเนินงาน NQF ของ สกศ. ภายใต้ความร่วมมือทำงานแบบพันธมิตรหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ สถาบันคุณวุฒิ​วิชาชีพ (องค์การมหาชน)​ ขับเคลื่อนงาน NQF อย่างครอบคลุมทั้งระบบ เร่งเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ
โดยนำร่องอาชีพช่างซ่อมอากาศยาน พร้อมต่อยอดความต้องการใช้กำลังคนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศใน ๘ สาขาอาชีพต้นแบบที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย 1.โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (ระบบราง) นำร่องโดยวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี 2.โลจิสติกส์และซัพพลายเชน (วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี) 3.หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ) 4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ (วิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี) 5. อาหาร (วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา) 6.เกษตร (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี) 7.ปิโตรเคมีเคมีภัณฑ์ พลังงาน และพลังงานทดแทน (วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด) และ 8.แม่พิมพ์/เครื่องมือทางการแพทย์ (วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม)
ซึ่งได้มีการยกร่างแผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 - 2565 รองรับการขับเคลื่อนพัฒนาทั้ง 8 สาขาข้างต้น
ทั้งนี้ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ได้รับฟังรายงานจากผู้แทน "ทีมประเทศไทย" ซึ่งหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมเน้นย้ำ สอศ. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศ ตามโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) จำนวน 42 สาขาวิชา ใน 120 สถานศึกษา
สำหรับหลักสูตร 42 สาขาวิชา ได้แก่ 1.สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล 2.สาขางานเทคนิคช่อมตัวถังและสีรถยนต์ 3.สาขาวิชาเทคนิคการผลิต 4.สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม 5.สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ 6.สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ 7.สาขาวิชาการท่องเที่ยว 8.สาขาวิชาพาณิชยกรรมและบริการฐานวิทยาศาสตร์ 9.สาขาวิชาการโรงแรม 10.สาขาวิชาการจัดประชุมและนิทรรศการ 11.สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรฐานวิทยาศาสตร์ 12.สาขาวิชาพืชศาสตร์ 13.สาขาวิชาสัตวศาสตร์ 14.สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 15.สาขาวิชาช่างกลเกษตร 16. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร 17.สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารฐานวิทยาศาสตร์ 18.สาขาวิชาอาหารและโกชนาการ 19.สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 20.สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ 21.สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 22.สาขาวิชาเทคนิคซ่อมบำรุงเรือ
23.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 24.สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกลเรือ 25.สาขาวิชาช่างอากาศยาน 26.สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง 27.สาขาวิชาปิโตรเคมี 28.สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม 29.สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือวัดและควบคุมงานปิโตรเลียม 30.สาขาวิชาไฟฟ้า 31.สาขาวิชาอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า 32.สาขาวิชาเทคนิคพลังงาน 33สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 34.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก 35.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 36.สาขาวิชาช่างก่อสร้าง 37.สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ 38.สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี 39.สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก 40.สาขาวิชาเทคนิคเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ 41.สาขาวิชาเทคนิคโลหะ และ 42.สาขาวิชาเทคโนโลยีความงาม
อย่างไรก็ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตั้งข้อสังเกตอย่างหลากหลายเพื่อใช้ NQF เป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนด้วยหลักประชารัฐ สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนากำลังคนของภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่ใช้กำลังคนเป็นผู้กำหนดความต้องการกำลังคนเชิงคุณภาพของภาคเศรษฐกิจและสังคม ในการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ โดยระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้ความสำคัญกับการรับรองความสามารถของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ทั้งนี้ จำเป็นต้องพัฒนา NQF เพื่อกำหนดระดับความสามารถของบุคคลและใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำมาตรฐานอาชีพสำหรับเป็นเกณฑ์การรับรองการให้คุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพร่วมกับภาคเอกชนนำไปสู่การเทียบเคียงกับกรอบคุณวุฒิอาเซียน (AQRF) และกรอบคุณวุฒิอื่น ๆ ต่อไป
#OECnews #สภาการศึกษา #การศึกษา
📝OEC News สภาการศึกษา
• LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews
โฆษณา