24 ก.ย. 2021 เวลา 05:33 • ข่าว
สรุปการเปลี่ยนแปลงจาก SCB สู่ SCBx
แบบภาษาที่เข้าใจง่าย ที่ต่อไปนี้จะไม่ใช่แค่ธนาคารอีกต่อไป
1
เป็นกระแสอย่างมากกับการปรากฏตัวของยานแม่ลำใหม่ของ "ธนาคารไทยพาณิชย์" หรือ SCB ที่ตอนนี้ขอรื้อยานลำเก่าในฐานะธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่กลายมาเป็น "SCBx" หรือ บริษัท เอสซีบี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นลักษณะธุรกิจแบบ Holding Company หรือบริษัทที่ทำธุรกิจหลายๆ รูปแบบไม่ได้ถูกจำกัดแค่กลุ่มใดกลุ่มเดียวเหมือนธนาคาร หากใครไม่เข้าใจให้มองเปรียบเทียบไปยังเครือ CP ที่ทำธุรกิจตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ มีบริษัทย่อยๆ ในมือมากมาย
แต่เดี๋ยวหลายคนจะเข้าใจผิดว่า SCB จะเลิกทำธนาคารแล้วเหรอ ซึ่งธุรกิจธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจเหมือนเดิม แต่แค่หนึ่งในหน่วยธุรกิจของเครือบริษัท ซึ่งจะอยู่ภายใต้ SCBx และไม่ต้องกลัวว่าเขาจะเลิกทำธนาคาร แล้วไปทำอย่างอื่น เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้ แต่อนาคตอันไกลอาจจะมีธุรกิจอื่นๆ ในเครือที่เติบโตกว่าธนาคารก็ได้
3
🔵 ธุรกิจธนาคารอิ่มตัว กำไรโตต่ำ ขอสร้างยานใหม่เปิดช่องทำธุรกิจอื่น
1
เอาจริงๆ แล้วธุรกิจกลุ่มแบงก์ถือเป็นธุรกิจที่เรียกได้ว่าเป็น “เสือนอนกิน” มายาวนาน แต่ทุกวันนี้ธนาคาเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “Cash cow” คือธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายต่ำ ส่วนครองตลาดเปรียบเทียบสูง โดยมาจากการที่ธุรกิจไม่อาจที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้เพิ่มขึ้นได้ไปมากกว่านี้ อย่างเช่น ธุรกิจธนาคาร ที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มันก็จะวนๆ อยู่ไม่กี่อย่าง พอทำมาหมดแล้วมันก็เข้าสู่จุดอิ่มตัว กำไรไม่โตมากไปกว่านี้
1
แต่ด้วยการทำธุรกิจมันต้องเติบโตต่อไปเรื่อยๆ ด้วยอัตราเร่งที่เหมาะสม อาจจะมีช่วงโตก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วที่ทำให้มูลค่าธุรกิจพุ่งทะลุเพดาน หรือช่วงที่โตอย่างช้าๆ เนิบๆ นานๆ กินเวลาหลายปีหรือสิบปี ดังนั้นถ้าอยากให้ธุรกิจมันเติบโตด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้น อยู่รอดบนโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับโครงสร้างธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องดำเนินการนั่นเอง
SCB ถือเป็นธนาคารที่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบของทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ซึ่งหลายคนคงทราบว่าความเป็นธนาคาร ความเป็นธุรกิจที่มีกฎระเบียบการควบคุมที่สูงมาก เพราะมันคือเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องรับผิดชอบต่อทั้งบริษัทและต่อลูกค้า รวมทั้งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ การจะขยับไปลงทุนทำธุรกิจอะไรทีโดยที่แบกความเป็นธนาคารไปด้วย มันค่อนข้างยาก ไม่คล่องตัว แถมจะโดนเพ่งเล็งอีกว่า ฟอกเงินหรือเปล่า ผิดกฎระเบียบการควบคุมธุรกิจธนาคารหรือไม่
2
พูดง่ายๆ คือจะไปหาเงินจากทางอื่นแทบไม่ได้เลยนอกจากรายได้ที่เกิดจากวงจรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินและธนาคาร พวกค่าทำเนียม ดอกเบี้ย บัตรเครดิต สินเชื่อ อะไรทำนองนี้เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น “Robinhood” แอปฯ ส่งอาหารที่ทาง SCB ได้พัฒนาขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ว่าจะเป็นการสร้างแอปฯ ส่งอาหาร (Food Delivery) สัญชาติไทย เพื่อช่วยคนไทยในการเข้าถึงร้านอาหารระหว่างผู้ซื้อและผู้ค้า แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงที่เกิดโรคระบาดหนักๆ แอปฯ ส่งอาหารพวกนี้มีอัตราการเติบโตและยอดผู้ใช้บริการพุ่งสูงอย่างมาก จึงเป็นโอกาสที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มลักษณะนี้ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งอย่างที่ทราบกันคือ แอปฯ ส่งอาหารที่ให้บริการในประเทศไทยนั้นเป็นของต่างชาติแทบทั้งสิ้น แล้วมีอัตราการเติบโตที่ดีด้วย ดังนั้นประเทศไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่จะไม่มีแอปฯ เป็นของตัวเองเลยก็กระไรอยู่
2
แต่ “Robinhood” ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย SCB จะลงมาเล่นตลาดนี้แบบโฉ่งฉ่างก็ไม่ได้ จะมาเก็ยค่าธรรมเนียมใดๆ เช่นกัน ค่าสมัคร ค่า GP (Gross Profit) แบบแอปฯ อื่นๆ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะผิดกฎการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นจึงต้องออกตัวว่าเป็นแพล็ตฟอร์มส่งอาหารเพื่อสังคม ช่วยเหลือสังคม คืนกำไรให้สังคม ไปพลางๆ ก่อน
2
แต่เชื่อเถอะว่าหลังจากการมาของยานแม่ SCBx แล้ว Robinhood จะถูกยกระดับขึ้นมาเป็นธุรกิจเพื่อการค้าและสร้างผลกำไรอย่างเต็มตัว แข่งกับแอปฯ อื่นๆ ในท้องตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งมันจะกลายเป็นอีกหนึ่งหน่วยธุรกิจที่จะสร้างรายได้ให้กับเครือเช่นเดียวกัน และจะไม่ผิดกฎระเบียบของแบงก์ชาติด้วย เพราะ Robinhood จำดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัทที่เป็นแบบ Holding Company ไม่ใช่เป็นธุรกิจภายใต้ธนาคารไทยพาณิชย์หรือ SCB แบบเดิมอีกแล้ว
1
🔵 กลยุทธ์เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดที่ "โคตรเจ๋ง"
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่า ความได้เปรียบของการเป็น Holding Company คือมีโอกาสที่จะสร้างความเติบโตทางธุรกิจได้หลากหลาย ไม่ต้องมาตันอยู่แค่ธุรกิจประเภทเดียว และยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ได้อีกมากมาย
1
ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับบริษัทที่เคยทำธุรกิจเดียว แล้วปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างองค์กร แล้วสามารถแตกไลน์ธุรกิจอื่นๆ ขึ้นมา พร้อมกับ Spin off บริษัทย่อยในเครือหรือบริษัทร่วมของบริษัทจดทะเบียน (บริษัทแม่) แยกออกมาขายหุ้นแก่ประชาชน หรือ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้อีกด้วย ก็เช่น PTT หรือกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่แตกลูกออกหลานพากันเข้าตลาดให้เพียบทั้ง PTTPE, PTTGC, TOP, IRPC, GPSC และล่าสุดคือ OR เป็นต้น
1
มันจึงกลายเป็นที่มาของ 11 บริษัทในยานแม่ของ SCBx ที่เกิดขึ้นแล้วขี่หลังยานลำใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
🔹️ Card X เป็นบริษัทที่โอนกิจการออกมาจาก SCB ทำเรื่องธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
🔹️ Alpha X เป็นบริษัทที่ร่วมมือกับกลุ่ม Millennium Group ทำเรื่องการปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของรถหรูและยานพาหนะทางน้ำ เช่น เรือยอชต์ รถบิ๊กไบค์ ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
🔹️ Tech X เป็นบริษัทที่ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยี
🔹️ AISCB เป็นบริษัทที่ร่วมมือกับ AIS เพื่อทำสินเชื่อดิจิทัล ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท
🔹️ CPG-SCB Group JV เป็นบริษัทที่ร่วมมือกับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพีจี) ในการจัดตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินในด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีบล็อคเชน สินทรัพย์ดิจิทัล ฟินเทค ทั้งในปละต่างประเทศ เป็นต้น
2
🔹️ Auto X เป็นธุรกิจสินเชื่อรถยนต์จับลูกค้ากลุ่มใหญ่
🔹️ Purple Ventures เป็นธุรกิจด้านเดลิเวอรี่อาหาร ได้แก่ ผู้ให้บริการแอปฯ Robinhood
🔹️ SCB Securities เป็นธุรกิจด้านหลักทรัพย์
🔹️ TokenX เป็นธุรกิจด้าน Digital token
1
นี่เป็นเพียง 11 บริษัทที่ประกาศออกมาวันแถลงข่าว จะเห็นได้ว่า SCBx ยังคงจุดแข็งของการมีรากฐานจากธุรกิจแบงก์และการเงินอยู่ในหลายบริษัท แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือธุรกิจด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ที่เติบโตไม่หยุด ดังนั้นเมื่อ SCBx ไม่ใช่ธนาคาร ก็ไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลังอีกต่อไปว่าจะทำอะไรระคายเคืองกฎแบงก์ชาติ นับว่าเป็นกลยุทธ์การ Transform ตัวเองที่โคตรเจ๋ง และฉลาดมาก เหมือนกับเป็นการบอกกลายๆ ว่า ในเมื่อระเบียบเดิมมันคุมแจ ทำอะไรก็ไม่ได้ ไม่คล่องตัว งั้นก็ขอไม่เป็นธนาคารมันเสียเลย บอกเลยว่าคนที่คิด Strategy นี่สมองโคตรเทพ ทั้งการวงแผน การมองอนาคตที่ไกลกว่าบริษัทในธุรกิจเดียวกัน แล้วปรับตัวเองไปก่อนชาวบ้าน
ดังนั้นการที่ SCBx ตั้งเป้าอีก 5 ปี ทุกธุรกิจของ SCBX จะเป็นบริษัทระดับภูมิภาค สร้างฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ได้ 200 ล้านคน จากปัจจุบันมีจำนวน 16 ล้านคน เพิ่มอัตราการทำกำไรอีก 1.5-2 เท่า และ Market Cap แตะ 1 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันมูลค่าอยู่ที่ 3.71 แสนล้านบาทคงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินจริง เผลอๆ อาจจะเร็วกว่า 5 ปีด้วยซ้ำ ตามอัตราเร่งของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันนี้
1
ที่ต้องจับตาดูต่อไปก็คือ ธนาคารอื่นๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดิมๆ จะมีใครขยับตัวทำอะไรหรือไม่เพื่อหนีการถูกเทคโนโลยี Disruption แต่โตกว่าค่า P/E ที่เตี้ยเรี่ยดินในหุ้นกลุ่มแบงก์ หรือจะมีอะไรบนโลกธุรกิจที่เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจแบบนี้อีกหรือไม่ ซึ่งอะไรที่ไม่ได้เห็นก็คงจะได้เห็นกันในยุคนี้แน่นอน
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
โฆษณา