29 ก.ย. 2021 เวลา 09:00 • สุขภาพ
การเลือกรับประทานอาหาร คือสิ่งสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ บางทีอาหารนั้นๆ ก็ทำมาจากวัตถุดิบเดียวกัน แต่เปลี่ยนกระบวนการทำให้แตกต่างออกไป มีการปรุงแต่ง🍟 เพิ่มรสชาติ เพิ่มความอร่อยให้มากขึ้น 😋 แต่อาจจะส่งผลต่อโภชนาการที่แตกต่างกัน อยู่ที่เราจะเลือกทานแบบไหนให้ดีกับร่างกายของเรา
1
📌Glycemic index (GI) คือ ค่าดัชนีน้ำตาล เป็นค่าบ่งชี้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นค่าโภชนาการที่สำคัญสำหรับคนที่ต้องการดูแลเรื่องน้ำตาล หากรับประทานอาหารที่มีค่า GI สูง 📈 ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยิ่งสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ สูง กลาง ต่ำ ค่า GI ยิ่งต่ำ จะยิ่งดีกับผู้ที่มีภาวะเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือด
👉ค่า GI ระดับต่ำ <55
นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ข้าวกล้อง สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล อะโวคาโด ชมพู่ เชอร์รี่ แก้วมังกร องุ่น กีวี่ ส้ม ลูกพีช ฝรั่ง แครอท มะเขือเทศ ข้าวโพด บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ มันหวานต้ม
👉ค่า GI ระดับกลาง 56-69
กล้วย สับปะรด มะละกอ มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลูกเกด น้ำส้ม น้ำผึ้ง เป็นต้น
👉ค่า GI ระดับสูง >70
ข้าวขัดสี ขนมปังขาว แตงโม มันฝรั่ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เค้ก คุ้กกี้ ของหวาน ลูกอม และน้ำหวาน เป็นต้น
✅ และต้องพิจารณาจากค่าอื่นๆ ในอาหารที่รับประทานด้วย เช่น Carbs / Fat / Calories ก็สำคัญไม่แพ้กัน แต่ใช่ว่าเราจะทานอาหารอร่อยๆ ที่ใจอยากทานไม่ได้เลยซะหน่อย เลือกทานแต่พอดี 👍 ทานให้น้อยกว่าที่ร่างกายจะเบิร์นออก หากใครไม่ได้ออกกำลังกาย ก็ควรทานให้น้อยกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้หมดในแต่ละวัน 🙅‍♀️ ไม่อย่างนั้นจะถูกสะสมเก็บไว้ในร่างกายจนทำให้เกิดภาวะอ้วน 😊 อาจจะให้รางวัลตัวเองบ้าง เช่น 1 มื้อ ต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายเป็นประจำก็จะช่วยส่งผลดีต่อร่างกาย และจิตใจของเรานะครับ 😃💙
โฆษณา