4 ต.ค. 2021 เวลา 09:00 • สุขภาพ
‘ตด’ ไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ถ้าตดบ่อยเกินไป อาจเป็นสัญญาณของร่างกาย 💨 ‘ตด’ เกิดจากการที่มีแก๊สสะสมในระบบย่อยอาหาร อาจมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทาน 🍽 ระบบการย่อย และการขับถ่ายของแต่ละคน
'ตด' สามารถสุขภาพของลำไส้ และทางเดินอาหารได้ 👉ถ้าตดน้อยไปอาจหมายถึง 'อาการท้องผูก' หรือถ้าตดมากไปอาจส่งผลมาจาก 'อาการแพ้ในลำไส้ หรืออาหารเป็นพิษ'
📌อาหารที่ทำให้ตดบ่อย
1. อาหารจำพวกแป้งซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตสูง : ขนมปัง ข้าวโพด มันฝรั่ง *ยกเว้นข้าว
2. ข้าวโอ๊ต : มีเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำสูง ค่อยๆ ปรับปริมาณในการกิน ให้ร่างกายได้ปรับตัว
3. นมและผลิตภัณฑ์จากนม : ไอศกรีม ชีส อาหารที่มีแลคโตส
4. ถั่วต่างๆ : ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเขียว
5. หมากฝรั่ง ลูกอมบางชนิด : ที่มีสารให้ความหวาน ‘ซอร์บิทอล’
6. เครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน : มีการอัดแก๊ส และฟรุกโตสเยอะ
7. ผัก-ผลไม้บางชนิด : หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี พรุน ลูกท้อ แอปเปิ้ล
8. อาหารทอดหรืออาหารที่มีไขมันสูง
🙋‍♂️หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องผูก ท้องอืดบ่อยๆ ซ้ำๆ ไม่ค่อยขับถ่าย มีเลือดปนในอุจจาระ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีไข้ หนาวสั่น อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ 👩‍⚕ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะร่างกายอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ อาหารไม่ย่อย ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ 👉ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน แพ้อาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส เช่น นมวัว🍼🐄 โยเกิร์ต แพ้กลูเตน อาหารเป็นพิษ มีแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ระบบดูดซึมอาหารทำงานผิดปกติ
โฆษณา